ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์
ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์
หน้า 7
เล่ม 122 ตอนที่ 118 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 ธันวาคม 2548
ตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2548
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 21 (3) (ฎ) และด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา...
แถลงการณ์ข้อเท็จจริงเรื่องการทำแท้งในประเทศไทย จากเครือข่ายอาสา RSA(1) วันที่ 3 มกราคม 2564
เครือข่ายอาสา RSA เราคือแพทย์ 157 คนและสหวิชาชีพ 614 คนจาก 70 จังหวัด ที่ปฏิบัติงานในภาครัฐและเอกชน ที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวมตามหลักวิชาการ ได้รับการแต่งตั้งและสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปี 2557 ทำหน้าที่อาสารับส่งต่อวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมจากสายด่วน1663 และหน่วยงานให้บริการปรึกษาท้องไม่พร้อม เพื่อให้ได้รับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย เครือข่ายอาสา RSA สนับสนุนการพัฒนากฎหมายอาญามาตรา 301 และ 305 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมทั้งคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่...
แนวทางการยุติการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัย
แนวทางการยุติการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
สตรีตั้งครรภ์ที่มีความจำเป็นต้องได้รับบริการยุติการตั้งครรภ์ ควรได้รับการดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพซึ่งประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการรับฟัง สามารถให้การแนะนำปรึกษาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้รับบริการซึ่งหมายถึงสตรีตั้งครรภ์ และ/หรือ สามี ครอบครัว ได้ร่วมกันไตร่ตรองถึงความจำเป็น ทางเลือก และวิธีการช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ
การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์เป็นการรักษาพยาบาล เพื่อให้เกิดการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย มีมาตรฐาน ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ และข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ ตามมาตรา ๓๐๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ....
9 ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้หากเลือกยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าตัวเองยังไม่มีความพร้อมที่จะตั้งครรภ์ต่อไปได้ เพื่อให้ปลอดภัยกับผู้หญิงมากที่สุด ควรเลือกยุติเมื่อตั้งท้องไม่เกิน 12 สัปดาห์ เพราะสามารถทำได้ที่คลินิก หากเกินกว่านั้นต้องรับบริการที่โรงพยาบาล และสามารถยุติได้จนถึงอายุครรภ์ที่ 24 สัปดาห์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถช่วยให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัย ที่สำคัญการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา หรือเครื่องดูดสุญญากาศ จะต้องให้บริการโดยแพทย์
9 ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้หากเลือกยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
ข้อมูลที่ 1 การยุติการตั้งครรภ์มีความปลอดภัยมีผลข้างเคียง และเสี่ยงต่อชีวิตน้อยกว่าการคลอดบุตร แต่ความเสี่ยงจะมากหากไปทำแท้งไม่ปลอดภัย เช่น การซื้อยาทางอินเทอร์เน็ต การรับบริการกับผู้ให้บริการไม่ใช่แพทย์ด้วยวิธีการที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น
ข้อมูลที่ 2 การยุติการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ยิ่งน้อย...
พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 มาตรา 5 วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง
สาระสำคัญในมาตรา 5 พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 คือ วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง ได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ที่รักษาความลับและความเป็นส่วนตัว รวมทั้งสวัสดิการสังคม อย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ..
“บริการอนามัยเจริญพันธ์ุ” ครอบคลุมการคุมกำเนิด การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ และการดูแลระหว่างตั้งครรภ์-คลอด-หลังคลอด
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับผิดชอบหลักในยุทธศาสตร์นี้ โดยร่วมกับ สปสช. สนับสนุนการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ และการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ด้วยการใช้ยา และ กระบอกดูดสุญญากาศ...
การบริหารจัดการการใช้ยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์
การบริหารจัดการยามิฟิพริสโตนและยาไมโซพรอสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกันเพื่อยุติตั้งครรภ์
หลังจากยาได้รับการขึ้นทะเบียนในปี พ.ศ. 2557 แล้ว สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ขอให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและวางแผนดูแลกำกับการใช้ยาอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 2 ปี ทางกรมอนามัยจึงทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการยา และเป็นผู้กระจายยาให้กับโรงพยาบาลต่างๆ โดยทำหน้าที่ต่อไปนี้
ประสานงานกับสถานพยาบาลทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประเมินความพร้อมในการให้บริการ และการอนุญาตให้จัดให้มียามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอล ในการบริการยุติตั้งครรภ์
จัดทำคู่มือการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอล และจัดส่งคู่มือไปยังสถานพยาบาลต่างๆ ที่มียาให้บริการ
รวบรวมรายงานยามิฟิพริสโตนและไฟโซโพรสตอล ที่นำเข้าโดยบริษัทผู้นำเข้ายาและจัดจำหน่าย
จัดทำระบบ VMI...
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2561 เผยแพร่กฎกระทรวง กำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษา ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2561
โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้สถานศึกษาแต่ละประเภท คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา (ปวช., ปวส.,ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ) และระดับอุดมศึกษา ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต ให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียนนักศึกษา โดยมีเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องเพศที่ครอบคลุมถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พฤติกรรมทางเพศ สุขภาวะทางเพศ และมิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อเรื่องเพศ รวมทั้งสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและความเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งจัดให้มีการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับประสิทธิผลของการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และให้เป็นส่วนหนึ่งของการวัดผลการศึกษา
ทั้งนี้ ให้สถานศึกษาจัดหาและพัฒนาผู้สอน ให้มีความรู้ความสามารถ มีทัศนคติที่ดี และมีทักษะการสอนที่เหมาะสม รวมทั้งเข้าใจจิตวิทยาการเรียนรู้ของนักเรียนหรือนักศึกษาแต่ละระดับที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อให้สามารถสอนเพศวิถีศึกษา ทักษะชีวิต และให้คำปรึกษาในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่นักเรียนหรือนักศึกษา...