สิทธิที่จะเลือกเมื่อท้องไม่พร้อมคืออะไรได้บ้าง
ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมทุกคน มีสิทธิจะได้รับบริการดูแลทั้งทางด้านสุขภาพกายและใจ และในแต่ละคนอาจไม่จำเป็นต้องเลือกเหมือนกัน โดยเราเคารพการตัดสินใจนั้นแบบไม่ตีตรา และหวังว่าทางเลือกนั้น จะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย
ทางเลือกต่อทางออกของปัญหาท้องไม่พร้อม มีสองแนวทางหลัก คือ ตั้งครรภ์ต่อ และ ไม่ตั้งครรภ์ต่อ หรือ การยุติการตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ต่อ ให้คำนึงถึงวิธีการจัดการผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ทั้งทางอารมณ์และการแสดงออก เช่น ความวิตกกังวล อับอาย เสียใจ การประชด การตัดสินใจชั่ววูบ ผลกระทบทางสังคม เช่น ไม่มีที่อยู่ ไม่มีงานทำ...
ทางออกของท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น.. ไม่ใช่การแต่งงาน !!
การมีความสัมพันธ์ทางเพศและตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นเรื่องที่ผู้ชายมีความผิดทางกฎหมายอาญา ดังนั้น จำเป็นต้องมีการแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เพื่อให้ตำรวจดำเนินคดีทางกฎหมาย (หากฝ่ายชายอายุต่ำกว่า 18 ปี จะถูกดำเนินคดีในสถานพินิจเด็กและเยาวชน) กรณีนี้ที่พบมากคือ ครอบครัวของฝ่ายชายมักขอหมั้นหมาย หรือบังคับแต่งงานเพื่อให้จบเรื่องทางคดี
การให้ลูกสาวที่ตั้งครรภ์แต่งงานในลักษณะนี้อาจทำให้พ่อแม่รู้สึกว่ามีทางออกของตนเองในลักษณะไม่เสียหน้า แต่ทางออกนั้นอาจทำให้ลูกสาวต้องเสียใจ และเสียอนาคตไปตลอดชีวิตเพราะการแต่งงานในอายุที่น้อยและไม่พร้อมนี้ในระยะต่อมา...ทางฝ่ายชายมีแนวโน้มที่จะไม่รับผิดชอบใดๆ ในที่สุด... แต่ก็มีพ่อแม่ผู้หญิงจำนวนมากที่ใช้ช่องทางกฎหมายนี้ เรียกร้องค่าเสียหายจากครอบครัวของฝ่ายชาย การทำเช่นนี้ทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ได้รักลูกเห็นแก่ได้เห็นลูกเป็นสิ่งของที่จะนำมาซึ่งเงินทองซึ่งกลับไปซ้ำเติมความรู้สึกของลูกที่กำลังประสบปัญหา
ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองต้องถามความคิดเห็นของลูก ต้องไม่บังคับแต่งงาน ไม่เห็นแก่ได้...
การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา Medabon (ยาทำแท้ง) ในประเทศไทย
ปี 2555 ประเทศไทยได้นำยายุติการตั้งครรภ์ หรือ Medabon ซึ่งมีตัวยยามิฟิพริสโตน (หรือที่รู้จักในชื่อการค้า RU486) และ ไมโซโพรสตอล (ไซโตเทค) บรรจุในแผงเดียวกัน เพื่อใช้ในโครงการศึกษาวิจัยนำร่อง ผลการวิจัยพบว่า ยา Medabon มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการยุติตั้งครรภ์มากกว่าร้อยละ 95
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ขึ้นทะเบียนยาตัวนี้ และบรรจุยาไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อใช้ในทางการแพทย์ และเป็นยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น มีให้บริการเฉพาะที่สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนสมัครรับยาจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อยาทำแท้งได้จากร้านยา...
ความสำเร็จในการเดินทางของยายุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) จากใต้ดินสู่ระบบบริการสุขภาพ
2541 แพทย์และนักวิชาการทั่วโลกมีการปรึกษาหารือเรื่องยายุติการตั้งครรภ์เพื่อลดการตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย
2547 องค์การอนามัยโลก ศึกษาวิจัยระดับโลก ผลยืนยันว่ายาปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ และบรรจุในบัญชียาหลักของโลก
2548 เริ่มศึกษายาครั้งแรกในประเทศไทย แต่การที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ การทำแท้งเป็นเรื่องบาป เชื่อว่าผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่ดี เด็กวัยรุ่นสำส่อน อีกทั้งกฎหมายคลุมเครือ สังคมเชื่อว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี มายาคติเหล่านี้ส่งผลให้มียาทำแท้งเถื่อนคุณภาพต่ำเกลื่อน ราคาแพง หาซื้อได้ทางออนไลน์ แต่กลับไม่มีบริการในระบบสุขภาพ
2554 เริ่มความพยามอีกครั้ง เพื่อให้ประเทศไทยมียาที่มีประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ขับเคลื่อน เริ่มจากการศึกษาวิจัยการใช้ยาในระบบบริการ ไปพร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจต่อคนในสังคม...
ข่าวดี !! ลูกจ้างในโรงงานได้รับสิทธิด้านการตั้งครรภ์
กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2561 เพื่อสนับสนุนให้ลูกจ้างวัยรุ่น (อายุ 15-20 ปีบริบูรณ์) ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การฝากครรภ์ และการทำแท้งที่ปลอดภัย ทั้งนี้ สถานประกอบกิจการจะต้องจัดระบบส่งต่อให้วัยรุ่นที่ตั้งท้องได้รับสวัสดิการทางสังคม และบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมต่อไป ผู้สื่อข่าวสังเกตว่าลูกจ้างและนายจ้างรับรู้กฎกระทรวงนี้ค่อนข้างน้อย และไม่มีบทลงโทษกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างวัยรุ่นเข้าไม่ถึงสิทธิที่จำเป็น
รายงานจากการประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น...
สำนักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ย้ำ “วัยรุ่นท้อง ต้องได้เรียนต่อ”
สพฐ. ย้ำ “วัยรุ่นท้อง ต้องได้เรียนต่อ” หลักการของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คือ เมื่อนักเรียนตั้งครรภ์-เด็กต้องได้เรียนต่อ ด้วยการปรึกษากับครอบครัว ร่วมกันจัดการเงียบๆ อย่างเหมาะสม เมื่อคลอดแล้วกลับมาเรียน ประคับประคองให้สามารถเลี้ยงดูได้อย่างดี ต้องไม่ทิ้งเด็ก ช่วยให้เด็กก้าวผ่านวิกฤตและได้ประโยชน์สูงสุด
หากสำนักงานพื้นที่การศึกษาเขตจัดการไม่ได้ ขอให้ประสานระดับเขต โดยทางโรงเรียนอาจช่วยเด็กและครอบครัวประสานสำนักงานพัฒนาสังคมฯ จังหวัด กรณีไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ด้วยตนเอง เพื่อขอความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ที่จำเป็น
นอกจากการช่วยเหลือแล้ว ยังร่วมกันกับทุกฝ่าย พัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเรื่องเพศเพื่อส่งเสริมการป้องกัน ร่วมกับ...
กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำพ.ร.บ. ตั้งครรภ์วัยรุ่นสู่การปฏิบัติ อย่างไร ?
นำทีมโดย นายพีระ รัตนวิจิตร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หลังจากการบังคับใช้กฎหมายจาก พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติ เด็กในระบบการศึกษา มีส่วนเกี่ยวข้องครอบคลุมทุกระบบการศึกษา
จากระบบข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า เด็กขาดการดูแลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปฐมวัย ในแต่ละปีมีเด็กเกิด 600,000 - 700,000 คน โดยเกิดจากแม่วัยใส 100,000 คน ซึ่งคุณแม่วัยใสขาดทั้งไอโอดีน ธาตุเหล็ก ส่งผลกระทบถึงเด็กปฐมวัย คิดว่า...
การแก้กฎหมายทำแท้งให้เป็นธรรมไปถึงไหน
เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมในฐานะตัวแทนของผู้หญิง และเครือข่ายอาสา RSA ในฐานะตัวแทนของผู้ให้บริการทางสุขภาพ เห็นว่ามาตรา 301 และ 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ จึงได้ดำเนินการต่อไปนี้
1) ใช้สิทธิตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ส่งเรื่องร้องเรียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561 ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาดำเนินการส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ
2) สำนักผู้ตรวจการแผ่นดินมีจดหมายแจ้งกลับเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2561...
ทำอย่างไร หากไม่เลี้ยงดูเองแต่ต้องการยกให้ผู้อื่นเลี้ยงดูถาวร
กรณีนี้เป็นการยกสิทธิการเลี้ยงดูบุตรให้ผู้อื่น หรือหน่วยงานอื่น เป็นผู้เลี้ยงดูและมีสิทธิในตัวเด็กแทนมารดา โดยมีข้อกฎหมายผูกพันรองรับ ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกรณีคือ
1. ส่งเข้าสถานสงเคราะห์ถาวร เด็กจะได้รับการดูแลในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน จนกระทั่งมีผู้มาขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรณีนี้หลังจากยกเด็กให้แล้ว ไม่สามารถขอเด็กคืนกลับมาเลี้ยงดูเองได้เช่นเดียวกับการฝากเลี้ยงชั่วคราว
2. ยกบุตรให้ผู้ต้องการอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งต้องทำตามขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรม การไม่ผ่านขั้นตอนที่ถูกต้องเด็กอาจถูกนำไปขายต่อในขบวนการค้ามนุษย์ได้ ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ในการเตรียมเอกสารเพื่อประโยชน์และความปลอดภัยของเด็กในระยะยาว เพราะแม้เราจะไม่สามารถเลี้ยงดูเองได้ ก็ขอให้ส่งเด็กไปในที่ที่ดีและปลอดภัย
9 ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้หากเลือกยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าตัวเองยังไม่มีความพร้อมที่จะตั้งครรภ์ต่อไปได้ เพื่อให้ปลอดภัยกับผู้หญิงมากที่สุด ควรเลือกยุติเมื่อตั้งท้องไม่เกิน 12 สัปดาห์ เพราะสามารถทำได้ที่คลินิก หากเกินกว่านั้นต้องรับบริการที่โรงพยาบาล และสามารถยุติได้จนถึงอายุครรภ์ที่ 24 สัปดาห์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถช่วยให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัย ที่สำคัญการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา หรือเครื่องดูดสุญญากาศ จะต้องให้บริการโดยแพทย์
9 ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้หากเลือกยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
ข้อมูลที่ 1 การยุติการตั้งครรภ์มีความปลอดภัยมีผลข้างเคียง และเสี่ยงต่อชีวิตน้อยกว่าการคลอดบุตร แต่ความเสี่ยงจะมากหากไปทำแท้งไม่ปลอดภัย เช่น การซื้อยาทางอินเทอร์เน็ต การรับบริการกับผู้ให้บริการไม่ใช่แพทย์ด้วยวิธีการที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น
ข้อมูลที่ 2 การยุติการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ยิ่งน้อย...