Live “การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน (Medabon) และกระบอกดูดสุญญากาศ (Manual Vacuum Aspiration: MVA)” โดย ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Facebook Live "การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน (Medabon®) และกระบอกดูดสุญญากาศ (Manual Vacuum Aspiration: MVA)" โดย ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
https://www.youtube.com/watch?v=A1QwTNhYJLc
โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม กำหนดจัดประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 21 – 22 มกราคม 2562 ณ โรงแรมหรรษา เจบี...
ทำอย่างไร เมื่อไม่พร้อมที่จะเลี้ยงดูเด็กหลังคลอด
สามารถขอคำปรึกษาหรือติดต่อหน่วยงานรองรับ โดยขอปรึกษาศูนย์พึ่งได้ หรือฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ของโรงพยาบาลที่เราฝากท้องคลอด บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ ปรึกษาหน่วยงานเอกชนที่ทำงานในด้านนี้
ส่งเด็กเข้าสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน ด้วยการฝากเลี้ยงชั่วคราวในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยในระหว่างนี้ สามารถไปเยี่ยมเด็กได้จนกระทั่งมีความพร้อมแล้วจึงรับเด็กมาเลี้ยงดูเองข้อจำกัด สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนมีบริการในบางจังหวัด มีสัดส่วนพี่เลี้ยงต่อจำนวนเด็กมาก การดูแลไม่ทั่วถึงการส่งเด็กไปอยู่ในครอบครัวอุปถัมภ์ชั่วคราว ด้วยการฝากเลี้ยงในวันธรรมดา เพื่อให้มารดาได้ทำงานหรือเรียนหนังสือ และรับเด็กมาเลี้ยงเองในวันหยุด โดยสามารถรับเด็กมาเลี้ยงดูเองได้เมื่อมีความพร้อมข้อจำกัด มีบริการที่หน่วยบริการของเอกชน เช่น สหทัยมูลนิธิ ครอบครัวอุปถัมภ์มีจำกัดอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ
เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากเดิม 400 บาท เป็น 600 บาท เริ่มจ่ายวันที่ 31 ม.ค. 62 เป็นต้นไป
สำนักงานประกันสังคมเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากเดิม 400 บาท เป็น 600 บาท ให้แก่ผู้ประกันตน โดยจะเริ่มจ่ายในวันที่ 31 ม.ค.2562 เป็นต้นไป
เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2562 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง การเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากสำนักงานประกันสังคมจากเดิม 400 บาท เป็น 600 บาท...
“ท้องต่อไม่ได้ ควรทำแท้ง” โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง
การตั้งท้องประเภทหนึ่งที่พวกผมพยายามอธิบายให้พวกเขาทั้งคู่ทราบว่า “ท้องต่อไม่ได้ ควรทำแท้ง” นั่นคือคู่สมรสที่มีลูกในท้องเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง
เรื่องนี้อาจจะยากสักนิด แต่เชื่อไหม มันอยู่ในตัวพวกเรา
จริงๆ เพราะผมกำลังพูดถึง “ระบบเลือดและการขนส่งออกซิเจน”
ทันทีทันใดที่พวกเรามุดหัวออกมาจากจิ๋มของแม่แล้วแหกปากร้องแทบตายเพื่อที่จะหายใจเอาลมเข้าไปขยายปอดให้ได้นั้น กระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซของร่างกายก็เริ่มต้นขึ้นทันที
อากาศถูกเราหายใจเข้าไปในปอด เข้าไปยังส่วนที่ลึกที่สุดซึ่งเป็นระบบหลอดเลือดฝอย ก๊าซออกซิเจนจะถูกดึงเข้าไปในหลอดเลือด โดยมีตัวมาจับคือฮีโมโกลบินบนผิวเม็ดเลือดแดง จากนั้นก็ถูกลำเลียงไปส่งยังส่วนอื่นๆของร่างกายต่อไปด้วยแรงปั๊มของหัวใจนั่นเอง
ประเด็นของเรื่องที่กำลังจะเล่าก็คือ ฮีโมโกลบิน และความผิดปกติของฮีโมโกลบินบินนี้นี่เอง เราเรียกมันว่า “ธาลัสซีเมีย”
เจ้าฮีโมโกลบินถูกกำหนดให้สร้างขึ้นมาด้วยพันธุกรรมของพ่อและแม่อย่างละครึ่ง คราวนี้ หากใครคนใดคนหนึ่งเกิดเป็นพาหะของความผิดปกติในการสร้างฮีโมโกลบิน ก็สามารถส่งพันธุกรรมนี้ไปให้ลูกด้วย และหากแจ๊กพ็อตจริงๆ ลูกเกิดได้รับพันธุกรรมของธาลัสซียเมียมาจากทั้งพ่อและแม่พร้อมกัน เขาก็จะเป็นโรคธาลัสซีเมียเต็มรูปแบบ
บางแบบอาจจะแค่ซีดเล็กน้อย เม็ดเลือดแดงผิดรูป...
พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 มาตรา 5 วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง
สาระสำคัญในมาตรา 5 พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 คือ วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง ได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ที่รักษาความลับและความเป็นส่วนตัว รวมทั้งสวัสดิการสังคม อย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ..
“บริการอนามัยเจริญพันธ์ุ” ครอบคลุมการคุมกำเนิด การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ และการดูแลระหว่างตั้งครรภ์-คลอด-หลังคลอด
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับผิดชอบหลักในยุทธศาสตร์นี้ โดยร่วมกับ สปสช. สนับสนุนการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ และการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ด้วยการใช้ยา และ กระบอกดูดสุญญากาศ...
สงเคราะห์เด็กอ่อน และอุปการะเด็กโดยภาคเอกชน
สงเคราะห์เด็กอ่อน และอุปการะเด็ก ที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน
มูลนิธิสงเคราะห์เด็กพัทยา
ที่ตั้ง : 384 หมู่6 ถนนสุขุมวิท กม.144 ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
การติดต่อ : 038 423 468 , 038 416 426
เว็บไซต์ : www.thepattayaorphanage.org อีเมล์ : info@thepattayaorphanage.org
บริการที่ให้และเงื่อนไขการรับบริการ...
6 สิ่งที่ควรทำเมื่อทางเลือกคือท้องต่อ
เมื่อทางเลือกคือตั้งครรภ์ต่อไป เตรียมตัวเตรียมใจเผชิญการตั้งครรภ์“เพราะการตั้งครรภ์โดยไม่มีความพร้อมแตกต่างจากการตั้งครรภ์ทั่วไป”
ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมจึงต้องเรียนรู้และเตรียมตัวในการเผชิญปัญหา ควรตั้งสติให้ดี หาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ไม่ควรหาทางออกแต่เพียงลำพัง อาจขอรับการปรึกษาจากหน่วยงานช่วยเหลือต่างๆ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาทีละประเด็นเพื่อให้เห็นทางออก
ผู้หญิงจำนวนมากเข้าใจว่าทางออกมีทางเดียวคือการยุติการตั้งครรภ์ และเมื่อไม่มีข้อมูลที่มากพอ หลายคนจึงลงเอยด้วยการไปทำแท้งในสถานและวิธีการที่ไม่ปลอดภัยซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเสียชีวิต บางคนก็ไม่กล้าบอกใคร ๆ ทำให้อายุครรภ์ล่วงเลยเกินเลยไปมากกว่าจะยุติการตั้งครรภ์ได้ถึงแม้จะยุติการตั้งครรภ์ไม่ได้ก็ยังมีทางออกอยู่เสมอ
6 สิ่งที่ควรทำ เมื่อทางเลือกคือท้องต่อไป
ฮึดสู้กับสิ่งที่ต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้ เราเพียงพลาดพลั้งไปในอดีต แต่นั่นคือสิ่งที่ผ่านไปแล้ว เรามีความท้าทายในอนาคตที่รออยู่ถามตนเองว่าต้องการอะไร และจะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร อะไรคือปัญหาและอุปสรรค เพื่อค่อยๆ หาทางออกทีละเรื่องหาวิธีการบอกผู้ที่เกี่ยวข้องให้รับทราบความจริง เช่น พ่อ แม่...
การยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ที่ปลอดภัย ทำได้ในอายุครรภ์ไม่เกินกี่สัปดาห์
การยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ที่ปลอดภัย ทำได้ในอายุครรภ์ไม่เกินกี่สัปดาห์
คำตอบ การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยควรทำในอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ หากมากกว่า 12 สัปดาห์ ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเข้ารับบริการที่โรงพยาบาล โดยอายุครรภ์ที่มากกว่า 22-24 สัปดาห์ ไม่ควรยุติการตั้งครรภ์เนื่องจากอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้หญิงและอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
ข้อควรระวัง การยุติการตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์เกินกว่าจะยุติได้ หรือที่อายุครรภ์มากกว่า 22-24 สัปดาห์นั้นมีอันตรายมากต่อทั้งตัวผู้หญิงและเด็กในท้อง ไม่ควรเอาตนเองไปเสี่ยงชีวิตเพราะอาจทำให้เกิดความพิการ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิตได้ ความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับวิธีที่ใช้...
Live การรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญมีนัยทางกฎหมายอย่างไร? ผศ. ดร. รณกรณ์ บุญมี
https://www.youtube.com/watch?v=Ho0gMRa1QNg&feature=youtu.be
การรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญมีนัยทางกฎหมายอย่างไร?
ผศ. ดร. รณกรณ์ บุญมี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่มา : https://youtu.be/Ho0gMRa1QNg แถลงข่าว "ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องพิจารณามาตรา 301 และ 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญาว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" จัดโดย เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม และ เครือข่ายอาสา RSA ร่วมกับ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 20...
Live แนวนโยบายของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขต่อการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์
https://youtu.be/kCeLUZWPjj0
นพ.บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยเล็งเห็นความสำคัญในการลดอันตรายของภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย และการพัฒนาการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยาในประเทศไทยจึงพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้สามารถจัดบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนผลักดันให้เกิดเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
ทั้งนี้ มาตรา 305 กำหนดข้อยกเว้นให้แพทย์ทำการยุติการตั้งครรภ์ให้หญิงมีครรภ์ได้ 2 กรณี คือ 1. มีความจำเป็นเนื่องจากสุขภาพของหญิง หรือ 2. หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา เช่น กรณีผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศ อย่างไรก็ตาม ความไม่พร้อมของผู้หญิงเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งบางปัจจัยอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับกฎหมาย...