ยุติการตั้งครรภ์ 

เมื่อผู้ประสบปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ จำเป็นต้องทำให้ทางเลือกยุติการตั้งครรภ์เข้าถึงได้และปลอดภัยเพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงต่อการไปสู่บริการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย การซื้อยาทำแท้งทางอินเทอเน็ต

เรื่องเล่าจากห้องไลน์ RSA – การตรวจปัสสาวะหลังทำแท้ง/ยุติการตั้งครรภ์

2
เรื่องเล่าจากห้องไลน์ RSA บทสนทนา ของหมออัลเทอร์ หมอเบลต้า หมอเคลวิน หมออิริค และหมอแฟรี่ (นามสมมุติ ) เรื่องตรวจปัสสาวะหลังยุติฯ เมื่อไหร่ดี ? หมออัลเทอร์ : เรียนปรึกษาพี่หมอทุกท่านครับ หมอเบลต้า : ว่าไงคร้บ เล่าเลยครับ … หมออัลเทอร์ : ผมจะปรึกษาแนวทางการแนะนำให้คนไข้ตรวจการตั้งครรภ์ด้วยปัสสาวะ หลังยุติการตั้งครรภ์ครับ ส่วนตัวผมเองไม่ได้แนะนำให้คนไข้ตรวจเลยในทันที...

การยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ที่ปลอดภัย ทำได้ในอายุครรภ์ไม่เกินกี่สัปดาห์

0
การยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ที่ปลอดภัย ทำได้ในอายุครรภ์ไม่เกินกี่สัปดาห์ คำตอบ การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยควรทำในอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ หากมากกว่า 12 สัปดาห์ ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเข้ารับบริการที่โรงพยาบาล โดยอายุครรภ์ที่มากกว่า 22-24 สัปดาห์ ไม่ควรยุติการตั้งครรภ์เนื่องจากอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้หญิงและอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ข้อควรระวัง การยุติการตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์เกินกว่าจะยุติได้ หรือที่อายุครรภ์มากกว่า 22-24 สัปดาห์นั้นมีอันตรายมากต่อทั้งตัวผู้หญิงและเด็กในท้อง ไม่ควรเอาตนเองไปเสี่ยงชีวิตเพราะอาจทำให้เกิดความพิการ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิตได้ ความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับวิธีที่ใช้...

6 บทบาทหน้าที่ของกรมอนามัยต่อการบริหารจัดการยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์ (มิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน)

0
หลังจากยามิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน ได้รับการขึ้นทะเบียนในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ขอให้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข บริหารจัดการยามิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและวางแผนดูแลกำกับการใช้ยาอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 2 ปี โดยทำหน้าที่ต่อไปนี้คือ ประสานงานกับสถานพยาบาลทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประเมินความพร้อมในการให้บริการ และการอนุญาตให้จัดให้มี ยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอลในการบริการยุติการตั้งครรภ์ จัดทำคู่มือการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอล และจัดส่งคู่มือไปยังสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่มียาให้บริการ รวบรวมรายงานยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอลที่นำเข้าโดย บริษัทผู้นำเข้ายาและจัดจำหน่าย รวบรวมและวิเคราะห์การให้ยาและการยุติการตั้งครรภ์จากรายงานของสถานพยาบาลต่างๆ เฝ้าระวังและติดตามผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ...

การนับอายุครรภ์

0
ตรวจแล้วผลคือท้อง อายุครรภ์นับอย่างไร ? : เราจะรู้อายุครรภ์ได้โดยการนับจากวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย จนถึงปัจจุบัน ก็จะทราบว่าอายุครรภ์กี่สัปดาห์ (ไม่นับจากวันที่มีเพศสัมพันธ์นะ) เป็นวิธีที่เราทำได้เอง โดยไม่ต้องไปสถานบริการ แต่อาจผิดพลาดได้ หากมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ “เวลาและการตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด” ตรวจให้เร็วเมื่อเมนส์ไม่มา หรือหลังเพศสัมพันธ์ 14 วันขึ้นไป เมื่อรู้ว่าท้องและยังไม่พร้อมพบแพทย์ให้เร็วดีที่สุด  คำนวณอายุครรภ์ คลิกที่นี่ : https://bit.ly/3NSDiqdปรึกษา RSA Online : https://abortion.rsathai.orgรับชมคลิปวิดิโอ การนับอายุครรภ์ คลิกที่นี่จ้า...

กฎหมายไทย ทำแท้งได้กรณีไหนบ้าง?

1
การทำแท้งในประเทศไทยไม่ได้ผิดกฎหมายทั้งหมด กฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถตัดสินใจทำแท้งได้โดยแพทย์ โดยมีข้อบ่งชี้เหตุผลทางการแพทย์เพื่อสุขภาพและชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความผิดทางเพศ ดังต่อไปนี้ การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อชีวิตหรือสุขภาพทางกายของผู้หญิงการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเราการตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าหญิงนั้นจะสมยอมหรือไม่ก็ตามการตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร สนองความใคร่การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง (เพิ่มเติมในข้อบังคับแพทยสภา พ.ศ. 2548 ขยายความ ”สุขภาพ” ให้ครอบคลุมทางกายและใจ แต่ยังไม่ถูกระบุไว้ในกฎหมาย)ทารกในครรภ์มีความพิการ (เพิ่มเติมในข้อบังคับแพทยสภา พ.ศ. 2548 โดยใช้เหตุผลปัญหาสุขภาพทางใจของผู้หญิง แต่ยังไม่ถูกระบุไว้ในกฎหมาย) ผลสำรวจโดยกรมอนามัย...

ทำไมต้องแก้กฎหมายเกี่ยวกับทำแท้ง ?

0
มาทำความเข้าใจกันก่อนนะ คือในโลกนี้มี 74 ประเทศที่การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป จึงไม่ต้องมีกฎหมายใดๆ มารองรับ ส่วนใหญ่คือประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่น่าสนใจคือ จีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา ก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ส่วนไทยไม่ใช่หนึ่งในนั้นแน่นอน  เดิมบ้านเราก็ไม่มีกฎหมายทำแท้งนะ ผู้หญิงไทยแต่โบราณทำแท้งได้โดยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานโดยไม่เกี่ยวข้องกับรัฐ ประมาณว่า การตัดสินใจว่าจะท้องต่อหรือไม่ท้องต่อนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่พอประเทศเรามาเริ่มพัฒนากฎหมายเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน ก็เลยเขียนกฎหมายนี้ตามประเทศเยอรมัน ให้การทำแท้งผิดกฎหมายอาญาทุกกรณี...

9 ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้หากเลือกยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย

28
เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าตัวเองยังไม่มีความพร้อมที่จะตั้งครรภ์ต่อไปได้ เพื่อให้ปลอดภัยกับผู้หญิงมากที่สุด ควรเลือกยุติเมื่อตั้งท้องไม่เกิน 12 สัปดาห์ เพราะสามารถทำได้ที่คลินิก หากเกินกว่านั้นต้องรับบริการที่โรงพยาบาล และสามารถยุติได้จนถึงอายุครรภ์ที่ 24 สัปดาห์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถช่วยให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัย ที่สำคัญการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา หรือเครื่องดูดสุญญากาศ จะต้องให้บริการโดยแพทย์ 9 ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้หากเลือกยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ข้อมูลที่ 1 การยุติการตั้งครรภ์มีความปลอดภัยมีผลข้างเคียง และเสี่ยงต่อชีวิตน้อยกว่าการคลอดบุตร แต่ความเสี่ยงจะมากหากไปทำแท้งไม่ปลอดภัย เช่น การซื้อยาทางอินเทอร์เน็ต การรับบริการกับผู้ให้บริการไม่ใช่แพทย์ด้วยวิธีการที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น ข้อมูลที่ 2 การยุติการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ยิ่งน้อย...

ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยความผิดฐานทำแท้งผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาแล้วเมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา…แล้วยังไงต่อ?

2
อาจารย์รณกรณ์ บุญมี จากคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ อธิบายดังนี้ขั้นต่อไปก็คือการทูลเกล้า และหลังจากที่ทรงลงพระปรมาภิไธยกฎหมายฉบับนี้ก็จะไปแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา 2 มาตรา คือ มาตรา 301 และ 305 โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ 1.1 ตัวหญิงเจ้าของครรภ์ก) หญิงทำเอง = หญิงไม่ผิด ข)...

การขึ้นทะเบียนสถานพยาบาล เพื่อให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา

0
โรงพยาบาล สถานบริการ ที่ต้องการสมัครรับยา Medabon® ทางสปสช. กำหนดการขึ้นทะเบียนทุก 3 เดือน เพื่อรับยาผ่านระบบ Smart VMI รอบขึ้นทะเบียนต่อไปคือ มกราคม 2564 โรงพยาบาล สถานบริการต่างๆ ที่มีความพร้อมในการให้บริการยุติตั้งครรภ์โดยการใช้ยา สามารถแสดงความจำนงมายังกรมอนามัย โดยกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ตามแบบรายงานที่กรมอนามัยกำหนด สนใจสมัครรับยา ให้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการกับกรมอนามัย โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มขึ้นทะเบียน MTP-1 และ MTP-2 ได้ที่ http://rh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=safe_abortion  ขั้นตอนการเข้าร่วมขึ้นทะเบียนของสถานพยาบาล เพื่อให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา สถานพยาบาลต่างๆ...

คลิปวิดิโอ : การบริหารจัดบริการยายุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

0
ชวนรับชมคลิปวิดิโอ การจัดการประชุมชี้แจงจัดบริการยายุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนการใช้ยายุติการยุติการตั้งครรภ์ ตลอดจนหน่วยงานภาคีเครือข่าย เพื่อให้การจัดบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา (Medabon) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด https://youtu.be/lpGvpTPUB7E https://youtu.be/DaNek675-mg https://youtu.be/ObzWT59aJvc https://youtu.be/MZCTuhxYmyQ https://youtu.be/AITqGxFyPrA https://youtu.be/kX-TCp307yY ที่มา : การประชุมชี้แจงการบริหารจัดการบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บันทึกวิดิโอเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562 ณ โรงแรมทีเค พาเลซ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร อ่านเพิ่มเติมได้ที่...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย