เข้าไม่ถึงบริการ ‘ทำแท้งปลอดภัย’ ราคาที่ ‘พวกเธอ’ ต้องจ่ายด้วยชีวิต

0
ข้อมูลจาก 1663 พบว่า ปี 2559 มีผู้เสียชีวิตจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย 11 ราย และรัฐมีค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย 112 ล้านบาท ทำไมผู้หญิงเหล่านี้ต้องมีต้นทุนสูงขนาดนี้กับการตัดสินใจเลือกต่อร่างกายของตนเอง การเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยของผู้หญิงยังเต็มไปด้วยอุปสรรค โดยเฉพาะอุปสรรคจากทัศนคติของบุคลากรสาธารณสุข ทำให้ในปี 2559 มีผู้เสียชีวิตจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย 11 ราย และรัฐมีค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย 112 ล้านบาท การเข้าไม่ถึงบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยทำให้ผู้หญิงและคนรอบข้างต้องแบกรับต้นทุนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายหรือความรู้สึก...

ภาคประชาชนชงรัฐให้สิทธิหญิงยุติตั้งครรภ์ไม่พร้อมตามกฎหมาย

0
เครือข่ายภาคประชาชน เผยพบสายตรงขอรับคำปรึกษา 52,370 ราย ชี้รัฐควรหยุดทัศนคติด้านลบ ปฏิบัติตามสิทธิภายใต้กฎหมาย ป้องกันการหาทางออกด้วยตนเอง หวั่นบาดเจ็บและเสียชีวิต นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า จากการให้บริการปรึกษาของสายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663 ในรอบปีที่ผ่านมา (1 ส.ค. 2560 - 31 ก.ค. 2561) พบว่ามีผู้รับบริการ 28 ราย...
Symbols of law - scale, hammer and Themis

ประชาสังคม เรียกร้องแก้ม. 301 เปิดช่องทำแท้งได้ถูกกฎหมาย สร้างความเท่าเทียม

0
ประชาสังคม เรียกร้องแก้มาตรา 301 ในรัฐธรรมนูญเปิดทางให้ผู้หญิงสามารถทำแท้งได้ถูกกฎหมายสร้างความเท่าเทียมทางเพศ ด้านแพทย์เผยทำแท้งเถื่อนหนึ่งสาเหตุคร่าชีวิตสาวไทย ขณะที่ตัวแทนกฤษฎีกาเผยอยู่ในช่วงพิจารณา เมื่อวันที่ 26 มี.ค.61 กลุ่มทำทาง มูลนิธิมานุษยะ สถานทูตอังกฤษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และเครือข่ายทางเลือกเพื่อผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม จัดงานเสวนา “ผู้หญิงไม่ใช่อาชญากร ทำแท้งปลอดภัยต้องถูกกฎหมาย” ณ ห้องประชุม ประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ น.ส.สุพีชา เบาทิพย์ ตัวแทนกลุ่มทำทาง กล่าวว่า กลุ่มทำทางเป็นองค์กรที่ทำงานเรื่องการให้คำปรึกษาผู้หญิงเพื่อยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย แต่พอเราให้คำปรึกษาไปเรื่อยๆกลับพบว่า องค์กรเราเป็นแค่ปลายทาง ผู้หญิงสามารถจะเข้าสู่กระบวนการที่ไม่ปลอดภัยอย่างรุนแรงมากเพราะมีข้อจำกัดในแง่ของกฎหมาย ทัศนคติของสังคมดังนั้นเราคิดว่าเรื่องทัศนคติและเรื่องกฎหมายเป็นสองเรื่องที่สำคัญ น.ส.สุพีชา กล่าวถึงการเรียกร้องให้แก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 คือ หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ซึ่งกฎหมายมาตรา 301 เป็นกฎหมายเดียวในรัฐธรรมนูญที่มีความไม่เท่าเทียมทางเพศ คือเอาผิดกับเพศหญิงเพียงเท่านั้น ด้านน.พ.นิธิวัชร์ แสงเรือง แพทย์จากเครือข่ายอาสา RSA (Referral system for Safe Abortion) กล่าวว่า สิ่งที่ขัดขวางการเข้าถึงบริการของผู้หญิงมีอยู่ 3 หลักใหญ่ๆ คือ 1)สังคมรวมทั้งศาสนา 2)กฎหมาย 3)ระบบบริการสุขภาพ ทัศนคติของผู้ให้บริการ นโยบายของประเทศไทยด้านสาธารณสุขค่อนข้างที่จะยอมรับเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์พอสมควร เพียงแต่ทัศนคติและความรู้ของผู้ให้บริการอาจจะเป็นเรื่องที่ต้องคุยต่อไป “สาเหตุที่ผู้หญิงเสียชีวิตบนโลกนี้ สาเหตุหลักๆ คือ ตกเลือดหลังคลอด ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อ และการทำแท้ง” น.พ.นิธิวัชร์ กล่าวว่า สิทธิประกันสังคมเป็นหน่วยงานแรกที่ออกมาขยับในเรื่องผู้หญิงมีปัญหาที่ต้องการจะยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย โดยประกันสังคมให้สิทธิตั้งแต่ปี 2555 มีประกาศจากสำนักงานประกันสังคม และตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้ผู้หญิงทุกคนที่เป็นคนไทยสามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลรัฐทุกแห่งที่มีการบริการยุติการตั้งครรภ์ ด้านตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งจะพิจารณากฎหมายในทุกเรื่อง ประเด็นของการแก้ไขกฎหมายข้อยกเว้นที่ให้ทำแท้งได้โดยไม่ผิดกฎหมายเป็นอีกประเด็นที่อยู่กระบวนการการพิจารณาอยู่ ในส่วนของการแก้ไขกฎหมายจะมีการขยายข้อยกเว้นให้ครอบคลุมกรณีที่สุขภาพของหญิงที่ตั้งครรภ์ทั้งทางกายและจิตใจ สุขภาพทารกในครรภ์ ถ้าตรวจพบตั้งแต่ในครรภ์ว่าคลอดออกมาแล้วจะไม่สมบูรณ์ก็จะเปิดเป็นข้อยกเว้นไม่ให้มีความผิด และอาจจะกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อความปลอดภัยทั้งเรื่องสถานที่ การให้ความเห็นของแพทย์ และอายุครรภ์ ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ปัจจุบันทางกลุ่มทำทางได้มีการรรณรงค์ผ่าน เว็บไซต์ https://www.change.org เพื่อระดมรายชื่อในการขอให้มีการยกเลิก 301 เพื่อปกป้องชีวิต และสิทธิของผู้หญิง โดยระบุว่า ผู้หญิงที่ทำแท้ง ไม่ใช่อาชญากร แต่การทำแท้งเป็นเรื่องของสุขภาพ ที่มา...

เหตุใดยังมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อย ที่ท้องไม่พร้อมกลับถูกปฏิเสธการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย

0
  การยุติการตั้งครรภ์ในกรณีจำเป็นหรือกรณีที่มีผลต่อสุขภาพแม้จะมีกฎหมายรองรับ หรือกรณีที่มีผลต่อสุขภาพ แม้จะมีกฎหมายรองรับ 
แต่ในทางปฏิบัติ ก็ยังมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อย ถูกปฏิเสธการยุติการตั้งครรภ์ อย่างปลอดภัย “บาปหรือไม่ หากเป็นผู้ยุติการตั้งครรภ์ให้กับผู้หญิงเคยท้องไม่พร้อม" เป็นสิ่งที่นายแพทย์ นิธิวัชร์ แสงเรือง เครือข่ายแพทย์อาสา RSA เคยตั้งคำถาม กับตัวเองไม่ต่างจากคนอื่นๆ จากประสบการณ์ทำงานพบเห็นภาพของผู้หญิงที่เข้ามารับการรักษาด้วยผลข้างเคียง
ด้วยการทำแท้งเถื่อน บางคนถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิต จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเครือข่ายอาสา
RSA โดยกรมอนามัย ยุติการตั้งครรภ์ให้กับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมตามกฎหมาย “เราไม่ได้มีหน้าที่เป็นผู้ตัดสิน เป็นศาล เป็นตำรวจ หรือเป็นครูที่คอยสั่งสอน หมอจะถูกสั่งสอนให้ inform และ...
Disability and healthcare

บริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาท้องไม่พร้อม

0
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด มีบริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาท้องไม่พร้อม ดังต่อไปนี้  การช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน  กลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่ประสบปัญหาเดือดร้อนที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ จะต้องได้รับการแก้ไขโดยฉับพลันทันท่วงที เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาทางสังคมด้านอื่นตามมา เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนให้การสงเคราะห์ พัฒนา และฟื้นฟูให้การช่วยเหลือตนเองได้ แนวทางการช่วยเหลือ ช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของไม่เกิน 2,000 บาท ต่อครั้งต่อครอบครัว กรณีช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ เกิน 2,000 บาท ต่อครั้งต่อครอบครัว ให้อยู่ในดุลพินิจผู้ว่าราชการจังหวัด เอกสารที่ใช้ในการขอรับบริการ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน  ...

เครือข่ายอาสา RSA ลงพื้นที่เยี่ยมเครือข่ายภาคใต้

0
วันที่ 21-22 กุมภาพันธุ์ 2561 เครือข่าย RSA มูลนิธิแพธทูเฮลท์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์  และ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ ศึกษาดูงานโรงพยาบาลที่มีสมาชิกเครือข่าย RSA จำนวน 3 แห่งในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช , โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี , โรงพยาบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ ประกอบด้วย นายแพทย์เรืองกิตติ์...

Abortion 4G Good Technology

0
" ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่ง่ายและปลอดภัยสำหรับการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยอย่างมาก นั่นคือ การใช้ยามิฟิพริสโตน (Mifepristone หรือในชื่อการค้า RU-486) และไมโซโพรสตอล (Misoprostol หรือในชื่อการค้า ไซโตเทค : Cytotec) คนไข้สามารถรับยาไปใช้ที่บ้านได้เอง โดยการกินยามิฟิพริสโตน 1 เม็ด  หลังจากนั้น 24-48 ชั่วโมง ให้ใช้ยาไมโซโพรสตอล เหน็บช่องคลอด เหน็บทางทวาร อมใต้ลิ้น...

Abortion 4G Good Services บริการจริงใจ 

0
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2560 เครือข่ายในประเทศไทยได้จัดกิจกรรม Pro-Voice 4 และการประชุมเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมครั้งที่ 44 รณรงค์เพื่อเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย เนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากล 28 กันยายน ของทุกปี International Safe Abortion Day ณ ห้องอาหารเพื่อนรัก ซอยพญานาค เขตราชเทวี กรุงเทพฯ โดยมีการอภิปรายเรื่อง...

“ทำแท้งเถื่อน” เสี่ยงทำผู้หญิงไทยเสียชีวิต

0
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยแต่ละปีทั่วโลกมีการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยประมาณ 20 ล้านคน ส่งผลให้สตรีกว่า 70,000 คน เสียชีวิตจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย เดินหน้าลดปัญหาในสตรีไทยผลักดันให้เกิดเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ (RSA: Referral System for Safe Abortion) เพื่อการเข้าถึงบริการของวัยรุ่นและสตรีที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม  นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า  การแท้งที่ไม่ปลอดภัยเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก โดยเป็นสาเหตุสำคัญของการป่วย และตายของมารดา องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าในแต่ละปีมีการทำแท้งทั่วโลกประมาณ 46...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย