Global business network

ตั้งเครือข่ายอาสา RSA ปรึกษาทางเลือกแก้ปัญหาท้องไม่พร้อม

0
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัยเปิดเผยว่า การแท้งไม่ปลอดภัยเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและตายของมารดา องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าแต่ละปีมีคนทำแท้งทั่วโลกประมาณ 46 ล้านคนในจำนวนนี้ 20 ล้านคน ทำแท้งไม่ปลอดภัย และมีสตรีเสียชีวิตปีละ 70,000 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ95 เกิดในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งไทย แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลยุติตั้งครรภ์ที่ชัดเจน เนื่องจากผู้ตั้งครรภ์ไม่พร้อมจำนวนมากเข้าไม่ถึงบริการที่ปลอดภัย-ถูกกฎหมายได้จึงไปทำแท้งเถื่อนหรือซื้อยายุติตั้งครรภ์จากอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้ กรมอนามัยได้ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ ศิริราช รามาธิบดี ขอนแก่น และสงขลานครินทร์...
Symbols of law - scale, hammer and Themis

ประชาสังคม เรียกร้องแก้ม. 301 เปิดช่องทำแท้งได้ถูกกฎหมาย สร้างความเท่าเทียม

0
ประชาสังคม เรียกร้องแก้มาตรา 301 ในรัฐธรรมนูญเปิดทางให้ผู้หญิงสามารถทำแท้งได้ถูกกฎหมายสร้างความเท่าเทียมทางเพศ ด้านแพทย์เผยทำแท้งเถื่อนหนึ่งสาเหตุคร่าชีวิตสาวไทย ขณะที่ตัวแทนกฤษฎีกาเผยอยู่ในช่วงพิจารณา เมื่อวันที่ 26 มี.ค.61 กลุ่มทำทาง มูลนิธิมานุษยะ สถานทูตอังกฤษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และเครือข่ายทางเลือกเพื่อผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม จัดงานเสวนา “ผู้หญิงไม่ใช่อาชญากร ทำแท้งปลอดภัยต้องถูกกฎหมาย” ณ ห้องประชุม ประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ น.ส.สุพีชา เบาทิพย์ ตัวแทนกลุ่มทำทาง กล่าวว่า กลุ่มทำทางเป็นองค์กรที่ทำงานเรื่องการให้คำปรึกษาผู้หญิงเพื่อยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย แต่พอเราให้คำปรึกษาไปเรื่อยๆกลับพบว่า องค์กรเราเป็นแค่ปลายทาง ผู้หญิงสามารถจะเข้าสู่กระบวนการที่ไม่ปลอดภัยอย่างรุนแรงมากเพราะมีข้อจำกัดในแง่ของกฎหมาย ทัศนคติของสังคมดังนั้นเราคิดว่าเรื่องทัศนคติและเรื่องกฎหมายเป็นสองเรื่องที่สำคัญ น.ส.สุพีชา กล่าวถึงการเรียกร้องให้แก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 คือ หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ซึ่งกฎหมายมาตรา 301 เป็นกฎหมายเดียวในรัฐธรรมนูญที่มีความไม่เท่าเทียมทางเพศ คือเอาผิดกับเพศหญิงเพียงเท่านั้น ด้านน.พ.นิธิวัชร์ แสงเรือง แพทย์จากเครือข่ายอาสา RSA (Referral system for Safe Abortion) กล่าวว่า สิ่งที่ขัดขวางการเข้าถึงบริการของผู้หญิงมีอยู่ 3 หลักใหญ่ๆ คือ 1)สังคมรวมทั้งศาสนา 2)กฎหมาย 3)ระบบบริการสุขภาพ ทัศนคติของผู้ให้บริการ นโยบายของประเทศไทยด้านสาธารณสุขค่อนข้างที่จะยอมรับเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์พอสมควร เพียงแต่ทัศนคติและความรู้ของผู้ให้บริการอาจจะเป็นเรื่องที่ต้องคุยต่อไป “สาเหตุที่ผู้หญิงเสียชีวิตบนโลกนี้ สาเหตุหลักๆ คือ ตกเลือดหลังคลอด ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อ และการทำแท้ง” น.พ.นิธิวัชร์ กล่าวว่า สิทธิประกันสังคมเป็นหน่วยงานแรกที่ออกมาขยับในเรื่องผู้หญิงมีปัญหาที่ต้องการจะยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย โดยประกันสังคมให้สิทธิตั้งแต่ปี 2555 มีประกาศจากสำนักงานประกันสังคม และตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้ผู้หญิงทุกคนที่เป็นคนไทยสามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลรัฐทุกแห่งที่มีการบริการยุติการตั้งครรภ์ ด้านตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งจะพิจารณากฎหมายในทุกเรื่อง ประเด็นของการแก้ไขกฎหมายข้อยกเว้นที่ให้ทำแท้งได้โดยไม่ผิดกฎหมายเป็นอีกประเด็นที่อยู่กระบวนการการพิจารณาอยู่ ในส่วนของการแก้ไขกฎหมายจะมีการขยายข้อยกเว้นให้ครอบคลุมกรณีที่สุขภาพของหญิงที่ตั้งครรภ์ทั้งทางกายและจิตใจ สุขภาพทารกในครรภ์ ถ้าตรวจพบตั้งแต่ในครรภ์ว่าคลอดออกมาแล้วจะไม่สมบูรณ์ก็จะเปิดเป็นข้อยกเว้นไม่ให้มีความผิด และอาจจะกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อความปลอดภัยทั้งเรื่องสถานที่ การให้ความเห็นของแพทย์ และอายุครรภ์ ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ปัจจุบันทางกลุ่มทำทางได้มีการรรณรงค์ผ่าน เว็บไซต์ https://www.change.org เพื่อระดมรายชื่อในการขอให้มีการยกเลิก 301 เพื่อปกป้องชีวิต และสิทธิของผู้หญิง โดยระบุว่า ผู้หญิงที่ทำแท้ง ไม่ใช่อาชญากร แต่การทำแท้งเป็นเรื่องของสุขภาพ ที่มา...

WHO ออกแนวทางใหม่เกี่ยวกับการทำแท้งฉบับใหม่

0
WHO issues new guidelines on abortion to help countries deliver lifesaving care Access to safe abortion critical for health of women and girls: WHOWHO...

Live แนวนโยบายของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขต่อการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์

0
https://youtu.be/kCeLUZWPjj0 นพ.บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยเล็งเห็นความสำคัญในการลดอันตรายของภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย และการพัฒนาการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยาในประเทศไทยจึงพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้สามารถจัดบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนผลักดันให้เกิดเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ทั้งนี้ มาตรา 305 กำหนดข้อยกเว้นให้แพทย์ทำการยุติการตั้งครรภ์ให้หญิงมีครรภ์ได้ 2 กรณี คือ 1. มีความจำเป็นเนื่องจากสุขภาพของหญิง หรือ 2. หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา เช่น กรณีผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศ อย่างไรก็ตาม ความไม่พร้อมของผู้หญิงเกิดจากหลายปัจจัย  ซึ่งบางปัจจัยอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับกฎหมาย...

บทสิ้นสุดคำพิพากษา คดีที่เป็นข่าวดัง…เป็นคดีถึงที่สุดแล้ว

0
“เลี้ยงลูกมันไม่ง่ายเหมือนเล่นตุ๊กตา” คำพูดของแพทย์หญิงท่านหนึ่งที่ได้สัมผัสใกล้ชิดผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม เธอเข้าใจ เคารพการตัดสินใจ และให้บริการที่ปลอดภัยทำให้ผู้หญิงไม่บาดเจ็บหรือตายจากการทำแท้งเถื่อน แต่กลับถูกตั้งข้อกล่าวหาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ฐานทำให้แท้งและมีการออกหมายจับและสอบสวนผู้หญิงที่มารับบริการด้วย…นับจากตรงนั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อแก้กฎหมายทำแท้งที่เก่าแก่และใช้มานานมากกว่า 60 ปี เพราะการยุติการตั้งครรภ์ไม่ใช่อาชญากรรม แต่คือหนึ่งในบริการสุขภาพ ที่แพทย์ควรให้บริการกับผู้หญิงที่ประสบปัญหาได้อย่างมีศักดิ์ศรี.. “ในบางประเทศ การแก้กฎหมายเป็นไปได้เมื่อมีแพทย์ถูกจับ ถ้าหมอจะต้องเป็นคนคนนั้น หมอก็ยินดี”เริ่มจากเครือข่ายท้องไม่พร้อม และเครือข่ายอาสา RSA ยื่นคำร้องต่อสำนักผู้ตรวจการแผ่นดินในวันสตรีสากลที่ 8 มีนาคม ผ่านไปสองเดือนได้รับคำตอบว่าไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงได้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง...

การศึกษาภาวะซึมเศร้าของสตรีตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์

0
การศึกษาภาวะซึมเศร้าของสตรีตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ โดย นพ.ภุชงค์ ไชยชิน นางวิจิตรา วาลีประโคน ...หลังการยุติการตั้งครรภ์ พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีระดับภาวะซึมเศร้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งในกลุ่มที่ผิดปกติ พบว่าเป็นผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางถึงมากที่สุด จึงตอบคำถามการวิจัยได้ว่าภาวะซึมเศร้าหลังการยุติการตั้งครรภ์ของผู้รับบริการส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติและ เมื่อเปรียบเทียบระดับภาวะซึมเศร้าก่อนและหลังยุติการตั้งครรภ์ พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าที่ลดลงซึ่งแสดงว่าผลการรักษาดีขึ้น แต่ก็ยังพบว่ามีผู้รับบริการร้อยละ 10.3 ที่ระดับภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ซึ่งคล้ายกับการศึกษาของ Christensen และคณะ ที่พบว่าสตรีตั้งครรภ์ไม่ตั้งใจมีภาวะซึมเศร้าในระยะหลังคลอด ร้อยละ 10.2...

การประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคอีสาน

0
เมื่อวันที่ 14 – 15 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดการประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคอีสาน ณ โรงแรมริเวอร์ ซิตี้มุกดาหาร โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม โดยมีเป้าหมายให้การดำเนินงานเครือข่ายอาสา RSA (Referral system...

ตั้งครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ทำแท้งได้

0
https://www.youtube.com/watch?v=FeDujyxS9So นพ.วรชาติ มีวาสนา เครือข่ายอาสา RSA ร่วมให้สัมภาษณ์ รายการสถานีประชาชน : บังคับใช้กฎหมาย ตั้งครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ทำแท้งได้ : ราชกิจจานุเบกษา ประกาศพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ผู้หญิงสามารถทำแท้งได้ภายในอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ บางส่วนบางตอน... ...ในมุมมองของผม ผมมองว่าการบริการยุติการตั้งครรภ์ควรจะเป็นบริการสุขภาพ มีสิทธิที่จะเลือก เราไม่สามารถดูแลทุก ๆ คนได้ เพราะฉะนั้นชีวิตเขา...

26 กันยายน 2561 ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิฉัยกฎหมาย ม.301 และ ม.305 กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “การทำแท้งไม่ใช่อาชญากรรม ผู้หญิงไม่ใช่อาชญากร”

0
เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2561 ที่ผ่านมาตัวแทนเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม เครือข่ายอาสา RSA สายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิฉัยกฎหมาย ม.301 และ ม.305 ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือไม่ ในวันดังกล่าว กลุ่มทำทาง ได้จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อสื่อสารสังคมว่า “การทำแท้งไม่ใช่อาชญากรรม ผู้หญิงไม่ใช่อาชญากร” เพื่อร่วมกับนานาชาติในการรณรงค์เนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากล 28 กันยายน ที่มา :...

ความสำเร็จในการเดินทางของยายุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) จากใต้ดินสู่ระบบบริการสุขภาพ

0
2541 แพทย์และนักวิชาการทั่วโลกมีการปรึกษาหารือเรื่องยายุติการตั้งครรภ์เพื่อลดการตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย 2547 องค์การอนามัยโลก ศึกษาวิจัยระดับโลก ผลยืนยันว่ายาปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ และบรรจุในบัญชียาหลักของโลก 2548 เริ่มศึกษายาครั้งแรกในประเทศไทย แต่การที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ การทำแท้งเป็นเรื่องบาป เชื่อว่าผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่ดี เด็กวัยรุ่นสำส่อน อีกทั้งกฎหมายคลุมเครือ สังคมเชื่อว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี มายาคติเหล่านี้ส่งผลให้มียาทำแท้งเถื่อนคุณภาพต่ำเกลื่อน ราคาแพง หาซื้อได้ทางออนไลน์ แต่กลับไม่มีบริการในระบบสุขภาพ 2554 เริ่มความพยามอีกครั้ง เพื่อให้ประเทศไทยมียาที่มีประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ขับเคลื่อน เริ่มจากการศึกษาวิจัยการใช้ยาในระบบบริการ ไปพร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจต่อคนในสังคม...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย