ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2561 เผยแพร่กฎกระทรวง กำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษา ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2561

0
โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้สถานศึกษาแต่ละประเภท คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา (ปวช., ปวส.,ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ) และระดับอุดมศึกษา ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต ให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียนนักศึกษา โดยมีเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องเพศที่ครอบคลุมถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พฤติกรรมทางเพศ สุขภาวะทางเพศ และมิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อเรื่องเพศ รวมทั้งสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและความเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งจัดให้มีการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับประสิทธิผลของการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และให้เป็นส่วนหนึ่งของการวัดผลการศึกษา ทั้งนี้ ให้สถานศึกษาจัดหาและพัฒนาผู้สอน ให้มีความรู้ความสามารถ มีทัศนคติที่ดี และมีทักษะการสอนที่เหมาะสม รวมทั้งเข้าใจจิตวิทยาการเรียนรู้ของนักเรียนหรือนักศึกษาแต่ละระดับที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อให้สามารถสอนเพศวิถีศึกษา ทักษะชีวิต และให้คำปรึกษาในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่นักเรียนหรือนักศึกษา...

เอกสารแนะนำเว็บไซต์ RSATHAI.ORG , FACEBOOK FANPAGE: RSATHAI

0
WWW.RSATHAI.ORG เปิดบริการอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน 2561 ซึ่งตรงกับวันยุติการตั้งครรภ์สากล โดยเครือข่ายอาสา RSA (Referral System for Safe Abortion) บริหารจัดการในรูปแบบคณะทำงานเว็บไซต์ ที่เป็นตัวแทนจาก เครือข่ายอาสา RSA และพันธมิตร ได้แก่ เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม สายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 ภายใต้การเอื้ออำนวยของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข WWW.RSATHAI.ORG มุ่งหวังในการใช้สื่อออนไลน์เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง เพราะปัจจุบันผู้ประสบปัญหามักแสวงหาข้อมูลที่ผิดๆ...
Medical Doctor Concept

ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฎิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์

0
ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฎิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ law-305

แผ่นพับเครือข่ายอาสา RSA (ล่าสุด63) Referral System for Safe Abortion

0
ปลอดภัยใส่ใจ "คุณภาพชีวิต" RSAThai อาสาปิดทองหลังพระ ทำไมต้องมี RSA เพราะว่า.. ยังมีผู้หญิงที่จำเป็นต้องได้รับบริการที่เข้าข่ายการทำแท้งตามกฎหมาย แต่เข้าถึงหน่วยบริการได้ยากและราคาแพง จึงต้องเข้าไปสู่การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ทำให้บาดเจ็บมีภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตผลกระทบที่เกิดขึ้น..การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมส่งผลต่อการเกิดที่ไม่มีคุณภาพ น้ำหนักแรกคลอดต่ำ ถูกทอดทิ้ง กำพร้า ขาดสารอาหาร ขาดการดูแลเอาใจใส่ เติบโตโดยไม่มีครอบครัวดูแล สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรไทยในอนาคต ข้อบ่งชี้ของการยุติการตั้งครรภ์ที่สอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับแพทยสภามีอะไรบ้าง ?การตั้งครรภ์นั้นๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้หญิง ตัวอ่อนในครรภ์พิการ การตั้งครรภ์เกิดจากความผิดทางเพศ ได้แก่...

คู่มือ : การให้บริการทางการแพทย์ การยุติการตั้งครรภ์โดยการใช้ยา

0
คู่มือ การให้บริการทางการแพทย์ การยุติการตั้งครรภ์โดยการใช้ยา พัฒนาคู่มือโดย มูลนิธิคอนเซ็ป Ipas องค์การแพธประเทศไทย         ที่มา : https://www.conceptfoundation.org

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย