Live แนวนโยบายของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขต่อการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์
https://youtu.be/kCeLUZWPjj0
นพ.บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยเล็งเห็นความสำคัญในการลดอันตรายของภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย และการพัฒนาการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยาในประเทศไทยจึงพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้สามารถจัดบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนผลักดันให้เกิดเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
ทั้งนี้ มาตรา 305 กำหนดข้อยกเว้นให้แพทย์ทำการยุติการตั้งครรภ์ให้หญิงมีครรภ์ได้ 2 กรณี คือ 1. มีความจำเป็นเนื่องจากสุขภาพของหญิง หรือ 2. หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา เช่น กรณีผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศ อย่างไรก็ตาม ความไม่พร้อมของผู้หญิงเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งบางปัจจัยอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับกฎหมาย...
Live เปิดแถลงข่าว “ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องพิจารณามาตรา 301 และ 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญาว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
https://youtu.be/i6CP7iKIS_U
รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกผู้หญิงท้องไม่พร้อม กล่าวว่า ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ากฎหมายอาญา ม.301-305 ที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ ม. 301 ที่ระบุว่า หญิงใดทำให้ตนหรือยินยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องมีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งข้อเท็จจริงคือ การตั้งครรภ์ไม่ได้เกิดจากฝ่ายหญิงเท่านั้น กฎหมายนี้จึงจงใจละเลยการเอาผิดกับผู้ชายที่ทำให้ผู้หญิงท้อง ซึ่งขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่ระบุไว้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลทั้งหญิงและชายต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน ...
ข้อเรียกร้องต่อการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องต่อการแก้กฎหมายทำแท้ง
https://www.youtube.com/watch?v=ysQ65YuyVLQ&feature=youtu.be
ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม และเครือข่ายอาสา RSA มีข้อเสนอต่อผู้บังคับใช้กฎหมายและผู้เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1. ขอให้ประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน รับรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การตีความกฎหมายทำแท้งที่ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณานั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้หญิงและครอบครัว ตามสิทธิความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์
2. ขอให้บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับ ตระหนักและไม่หวาดหวั่นต่อการช่วยเหลือผู้หญิงให้เข้าถึงการทำแท้งทางการแพทย์ที่ปลอดภัย รวมทั้งลดอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการดังกล่าว
3. ขอให้ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ตำรวจ อัยการ ทนายความ และศาล รับรู้และให้ความสำคัญต่อการรับคำร้องนี้
4. ขอให้ตำรวจหยุดจับและดำเนินคดีกับการให้บริการทำแท้งที่ปลอดภัยโดยแพทย์
5. ขอให้ตำรวจมุ่งเป้าหมายไปที่การกวาดล้างการทำแท้งเถื่อน...
Facebook Live : ยุติการตั้งครรภ์ ทำแท้ง ชีวิตจริงผ่านสายปรึกษาท้องไม่พร้อม
ยุติการตั้งครรภ์ ทำแท้ง ชีวิตจริงผ่านสายปรึกษาท้องไม่พร้อม โดย นายสมวงศ์ อุไรวัฒนา ผู้รับผิดชอบ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม
ระหว่าง 1 ต.ค. 58 – 30 มิ.ย. 61 มีผู้มารับบริการปรึกษาจากสายด่วน 1663 เรื่องท้องไม่พร้อม จำนวน 52,370 ราย รู้ว่าตั้งครรภ์แล้ว 29,191...
สถานการณ์และข้อท้าทายเรื่องการทำแท้งในประเทศไทย โดย รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม
ปัญหาหลักเรื่องทำแท้งในสังคมไทยตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันมีประเด็นสำคัญ 2 ประการคือ ประการแรกเกี่ยวกับวิธีคิดที่ฝังอยู่ในกฎหมายอาญาของไทย ที่มองว่าการทำแท้งเป็นอาชญากรรม และผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและไปทำแท้งคืออาชญากร มีความผิดตามมาตรา 301 ซึ่งเป็นมาตราเดียวในประมวลกฎหมายอาญาที่ลงโทษเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น มาตราอื่นๆเกี่ยวกับการทำผิดต่างๆ จะใช้คำว่า ‘บุคคล’ ซึ่งหมายรวมถึงทั้งผู้หญิงและผู้ชาย มาตรานี้ลงโทษผู้หญิงทั้งๆที่ไม่มีผู้เสียหาย เพราะเป็นการตัดสินใจกระทำต่อร่างกายของตนเอง ภาษาอังกฤษว่า victimless crime สิ่งที่เครือข่ายต้องการขับเคลื่อนคือต้องการยกเลิกมาตรา 301 นี้ แต่โดยส่วนตัวอยากให้ยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งออกไปหมดคือ มาตรา 301-305...
Facebook Live : ประเทศไทยสนับสนุนการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยอย่างไร
กรมอนามัยสนับสนุนให้เกิดนโยบายเพื่อลดการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย เช่น การสนับสนุนให้ยายุติตั้งครรภ์ Medabon เข้าสู่บัญชียาหลัก การสนับสนุนเครือข่ายอาสา RSA (Referral System for Safe Abortion) และมีส่วนผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพ.ศ.2559 ทั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องความปลอดภัยในการยุติการตั้งครรภ์เท่านั้นแต่เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=583lN4BI2us&feature=youtu.be
ที่มา : Pro-Voice5 #LetsTalkAbortion การรณรงค์เนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากล 2018
Facebook Live : แก้ไขกฎหมายอาญาเกี่ยวกับทำแท้งให้เป็นธรรม
Facebook Live : แก้ไขกฎหมายอาญาเกี่ยวกับทำแท้งให้เป็นธรรม
โดย ทัศนัย ขันตยาภรณ์ เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม
กฎหมายในปัจจุบันแม้ว่าจะเปิดช่องให้ผู้หญิงที่ไม่พร้อมสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นกฎหมายที่ยังขัดกับสิทธิและหลักความเสมอภาค ทั้งนี้ อยากสื่อสารกับสังคมว่าการทำแท้งไม่ใช่ความผิดทางอาญา แต่เป็นการดูแลรักษาทางการแพทย์โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาชีวิตและความปลอดภัยของผู้หญิง โดยช่วงบ่ายของวันนี้ทางเครือข่ายฯ จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ากฎหมายอาญาดังกล่าวขัดต่อสิทธิเสรีภาพหรือไม่ โดยสาระสำคัญของหนังสือที่จะไปยื่นให้ตีความคือ เสนอให้ยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 301 เพราะขัดกับหลักความเสมอภาคหญิงชายและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายผู้หญิง ส่วนมาตรา 305 301 และ 302 ที่ระบุว่าการยุติการตั้งครรภ์สามารถกระทำได้โดยแพทย์...
การทำแท้งเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต ไม่ผิดที่จะเริ่มพูดคุย โดย นพ.สมชาย พีระปกรณ์ สมาชิกเครือข่ายอาสาRSA
Facebook Live : การทำแท้งจึงเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต ไม่ผิดที่จะเริ่มพูดคุย
นายแพทย์สมชาย พีระปกรณ์ สมาชิกเครือข่ายอาสา (RSA : Referral system for safe abortion) และพนักงานบำนาญองค์การอนามัยโลก
จากประสบการณ์การทำงานเรื่องการเสียชีวิตของผู้หญิงพบว่า การเสียชีวิตจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยถือเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้น ทั้งนี้ในประเทศที่เจริญแล้วอัตราการตายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยจะน้อยมากเพราะประเทศเขามีการจัดระบบบริการที่ดี มีคุณภาพ และปลอดภัยให้กับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและต้องการยุติการตั้งครรภ์ หากประเทศไทยสามารถทำให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมสามารถเข้าถึงบริการได้โดยไม่ถูกลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ก็เชื่อว่าความรุนแรงของปัญหาท้องไม่พร้อมจะลดลง ผู้หญิงจะไม่พึ่งพาบริการทำแท้ง “ใต้ดิน” เพราะสามารถเดินเข้าไปรับบริการที่โรงพยาบาลได้
“โรงพยาบาลควรมีระบบที่ดีในการให้บริการผู้หญิงท้องไม่พร้อม เมื่อผู้หญิงเดินเข้าไปควรรู้ว่าเขาจะได้ปรึกษากับใคร...
26 กันยายน 2561 ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิฉัยกฎหมาย ม.301 และ ม.305 กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “การทำแท้งไม่ใช่อาชญากรรม ผู้หญิงไม่ใช่อาชญากร”
เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2561 ที่ผ่านมาตัวแทนเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม เครือข่ายอาสา RSA สายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิฉัยกฎหมาย ม.301 และ ม.305 ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือไม่
ในวันดังกล่าว กลุ่มทำทาง ได้จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อสื่อสารสังคมว่า “การทำแท้งไม่ใช่อาชญากรรม ผู้หญิงไม่ใช่อาชญากร” เพื่อร่วมกับนานาชาติในการรณรงค์เนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากล 28 กันยายน
ที่มา :...
เปิดตัวเว็บไซต์ www.rsathai.org 26 กันยายน 2561
[youtube https://www.youtube.com/watch?v=tMeFDspVgko]