ความสำเร็จในการเดินทางของยายุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) จากใต้ดินสู่ระบบบริการสุขภาพ
2541 แพทย์และนักวิชาการทั่วโลกมีการปรึกษาหารือเรื่องยายุติการตั้งครรภ์เพื่อลดการตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย
2547 องค์การอนามัยโลก ศึกษาวิจัยระดับโลก ผลยืนยันว่ายาปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ และบรรจุในบัญชียาหลักของโลก
2548 เริ่มศึกษายาครั้งแรกในประเทศไทย แต่การที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ การทำแท้งเป็นเรื่องบาป เชื่อว่าผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่ดี เด็กวัยรุ่นสำส่อน อีกทั้งกฎหมายคลุมเครือ สังคมเชื่อว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี มายาคติเหล่านี้ส่งผลให้มียาทำแท้งเถื่อนคุณภาพต่ำเกลื่อน ราคาแพง หาซื้อได้ทางออนไลน์ แต่กลับไม่มีบริการในระบบสุขภาพ
2554 เริ่มความพยามอีกครั้ง เพื่อให้ประเทศไทยมียาที่มีประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ขับเคลื่อน เริ่มจากการศึกษาวิจัยการใช้ยาในระบบบริการ ไปพร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจต่อคนในสังคม...
ข่าวดี !! ลูกจ้างในโรงงานได้รับสิทธิด้านการตั้งครรภ์
กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2561 เพื่อสนับสนุนให้ลูกจ้างวัยรุ่น (อายุ 15-20 ปีบริบูรณ์) ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การฝากครรภ์ และการทำแท้งที่ปลอดภัย ทั้งนี้ สถานประกอบกิจการจะต้องจัดระบบส่งต่อให้วัยรุ่นที่ตั้งท้องได้รับสวัสดิการทางสังคม และบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมต่อไป ผู้สื่อข่าวสังเกตว่าลูกจ้างและนายจ้างรับรู้กฎกระทรวงนี้ค่อนข้างน้อย และไม่มีบทลงโทษกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างวัยรุ่นเข้าไม่ถึงสิทธิที่จำเป็น
รายงานจากการประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น...
มุมมองของแพทย์ต่อการทำแท้งที่ปลอดภัย
นำทีมโดย ศ.คลินิกเกียรติคุณ พญ.วิบูลพรรณ ฐิตะดิลก ศ.เกียรติคุณ นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นพ.พิษณุ ขันติพงษ์ และ ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ
“งานช่วยเหลือท้องไม่พร้อม ต้องเริ่มที่เรื่องของทัศนคติ/มุมมอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ กฎหมายอาญาและข้อบังคับแพทยสภาได้ระบุชัดเจน ให้สามารถทำแท้งได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดยปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของแพทย์ก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่ง "ทัศนคติ" จะเป็นตัวกำหนดว่าเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย”
หากปรับเปลี่ยนทัศนคติได้ ก็จะสามารถให้บริการได้ “แพทย์ควรมองว่าคนที่ตั้งครรภ์ คือคนที่กำลังทุกข์ ต้องการรักษา...
กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำพ.ร.บ. ตั้งครรภ์วัยรุ่นสู่การปฏิบัติ อย่างไร ?
นำทีมโดย นายพีระ รัตนวิจิตร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หลังจากการบังคับใช้กฎหมายจาก พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติ เด็กในระบบการศึกษา มีส่วนเกี่ยวข้องครอบคลุมทุกระบบการศึกษา
จากระบบข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า เด็กขาดการดูแลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปฐมวัย ในแต่ละปีมีเด็กเกิด 600,000 - 700,000 คน โดยเกิดจากแม่วัยใส 100,000 คน ซึ่งคุณแม่วัยใสขาดทั้งไอโอดีน ธาตุเหล็ก ส่งผลกระทบถึงเด็กปฐมวัย คิดว่า...
ประชุมสุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3 เดินหน้าลดท้องในวัยรุ่น
เยาวชนร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในการป้องกันตัวเองเรื่องเพศและการตั้งครรภ์
เหลือเวลาอีกไม่กี่วันที่ประเทศไทยจะเปิดประชุมใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นกับงานประชุมระดับชาติสุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3 นับเป็นโอกาสสำคัญที่รวบรวมนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงเยาวชนที่ทำงานด้านสุขภาวะทางเพศมาร่วมแชร์ความรู้ ประสบการณ์ และถ่ายทอดเรื่องราวที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อนว่าเคยเกิดขึ้นจริงในไทย
ปีนี้หัวข้อหลัก คือ “การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น: จากยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน " ใช้ขับเคลื่อนการประชุมสุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 28-30 ม.ค. 2562 ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา...
การประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคใต้ ณ โรงแรมหรรษา เจบี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
เมื่อวันที่ 21 -22 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. จัดการประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคใต้ ณ โรงแรมหรรษา เจบี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
มีเป้าหมายเพื่อขยายแนวคิดและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ตลอดจนเป็นการสร้างเครือข่ายการทำงาน ระหว่างการให้บริการปรึกษาทางเลือก การตั้งครรภ์ต่อ และการส่งต่อบริการยุติการตั้งครรภ์ที่เข้าถึงได้ของเครือข่ายในเขตจังหวัดภาคใต้...
Live “การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน (Medabon) และกระบอกดูดสุญญากาศ (Manual Vacuum Aspiration: MVA)” โดย ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Facebook Live "การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน (Medabon®) และกระบอกดูดสุญญากาศ (Manual Vacuum Aspiration: MVA)" โดย ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
https://www.youtube.com/watch?v=A1QwTNhYJLc
โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม กำหนดจัดประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 21 – 22 มกราคม 2562 ณ โรงแรมหรรษา เจบี...
Live “มุมมองใหม่ ทำแท้งปลอดภัย” ความจำเป็นและแนวทางการยุติการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การจัดบริการยาฝังคุมกำเนิด และการเบิกจ่ายตามหลักประกันสุขภาพ โดย อาจารย์นายแพทย์ชาญชัย บุญอยู่
“มุมมองใหม่ ทำแท้งปลอดภัย” ความจำเป็นและแนวทางการยุติการตั้งครรภ์เพื่อ ป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การจัดบริการยาฝังคุมกำเนิด และการเบิกจ่ายตามหลักประกันสุขภาพ โดย อาจารย์นายแพทย์ชาญชัย บุญอยู่ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาด้านเวชกรรมป้องกัน (ผชช.ว.) ผู้ประสานงานภาคเครือข่ายอาสา RSA
https://www.youtube.com/watch?v=RNlvPO9_shE
ที่มา : การบรรยายพิเศษ “การยุติการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทันยุค ที่บุคลากรสาธารณสุขควรรู้” (ภายใต้กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอด บทเรียนกิจกรรมโครงการที่ทำได้ดี โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดเลย : อนามัยเจริญพันธุ์ดี มีสุข...
Live เปิดการประชุมและกล่าวต้อนรับ โดย นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลย การบรรยายพิเศษ “การยุติการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทันยุค ที่บุคลากรสาธารณสุขควรรู้”
เปิดการประชุมและกล่าวต้อนรับ โดย นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลย
https://www.youtube.com/watch?v=IINwRO4E0zY
การบรรยายพิเศษ “การยุติการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทันยุค ที่บุคลากรสาธารณสุขควรรู้” (ภายใต้กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนกิจกรรมโครงการที่ทำได้ดี โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดเลย : อนามัยเจริญพันธุ์ดี มีสุข วัยรุ่นเลย : Loei Buddy Happy Teen ) ในวันศุกร์ที่ 4...
พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 มาตรา 5 วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง
สาระสำคัญในมาตรา 5 พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 คือ วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง ได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ที่รักษาความลับและความเป็นส่วนตัว รวมทั้งสวัสดิการสังคม อย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ..
“บริการอนามัยเจริญพันธ์ุ” ครอบคลุมการคุมกำเนิด การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ และการดูแลระหว่างตั้งครรภ์-คลอด-หลังคลอด
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับผิดชอบหลักในยุทธศาสตร์นี้ โดยร่วมกับ สปสช. สนับสนุนการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ และการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ด้วยการใช้ยา และ กระบอกดูดสุญญากาศ...