ผลการศึกษาทางคลินิกของยาทำแท้งในประเทศไทย ในอายุครรภ์ไม่เกิน 63 วัน พบว่าประสิทธิภาพของยาอยู่ที่ร้อยละ 96.09
ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 โดยสภาประชากร (Population Council) สำนักงานประเทศไทย ร่วมกับ Gynuity Health Project สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มนำยาไมโซพรอสตอล (ไซโตเทค) มาใช้รักษาอาการแท้งไม่ครบในผู้รับบริการที่มีอายุครรภ์ที่ไม่เกิน 63 วัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ทางสภาประชากร ร่วมกับ Gynuity Health Project สหรัฐอเมริกา...
ข้อมูลเบื้องต้นของยายุติตั้งครรภ์ ยาทำแท้ง
องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยาม “การยุติตั้งครรภ์โดยใช้ยา” (Medical Termination of Pregnancy: MTP) ที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง การทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงโดยไม่ต้องใช้วิธีการทางหัตถการอื่นๆ เช่น การใช้เครื่องดูดสุญญากาศ หรือการขูดมดลูก เพื่อทำให้แท้งครบ (complete abortion)
การยุติตั้งครรภ์โดยใช้ยามิฟิพริสโตน (Mifepristone) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม RU486 ร่วมกับ ยาไมโซพรอสตอล (Misoprostol) ในผู้หญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 49...
การขึ้นทะเบียนสถานพยาบาล เพื่อให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา
โรงพยาบาล สถานบริการ ที่ต้องการสมัครรับยา Medabon® ทางสปสช. กำหนดการขึ้นทะเบียนทุก 3 เดือน เพื่อรับยาผ่านระบบ Smart VMI รอบขึ้นทะเบียนต่อไปคือ มกราคม 2564
โรงพยาบาล สถานบริการต่างๆ ที่มีความพร้อมในการให้บริการยุติตั้งครรภ์โดยการใช้ยา สามารถแสดงความจำนงมายังกรมอนามัย โดยกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ตามแบบรายงานที่กรมอนามัยกำหนด
สนใจสมัครรับยา ให้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการกับกรมอนามัย โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มขึ้นทะเบียน MTP-1 และ MTP-2 ได้ที่ http://rh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=safe_abortion
ขั้นตอนการเข้าร่วมขึ้นทะเบียนของสถานพยาบาล เพื่อให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา
สถานพยาบาลต่างๆ...
บริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาท้องไม่พร้อม
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด มีบริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาท้องไม่พร้อม ดังต่อไปนี้
การช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ที่ประสบปัญหาเดือดร้อนที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้
จะต้องได้รับการแก้ไขโดยฉับพลันทันท่วงที เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาทางสังคมด้านอื่นตามมา
เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนให้การสงเคราะห์ พัฒนา และฟื้นฟูให้การช่วยเหลือตนเองได้
แนวทางการช่วยเหลือ
ช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของไม่เกิน 2,000 บาท ต่อครั้งต่อครอบครัว
กรณีช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ เกิน 2,000 บาท ต่อครั้งต่อครอบครัว ให้อยู่ในดุลพินิจผู้ว่าราชการจังหวัด
เอกสารที่ใช้ในการขอรับบริการ
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้าน
...
เครือข่ายอาสาส่งต่อเพื่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
เครือข่ายอาสา RSA คือ เครือข่ายที่ประกอบไปด้วยแพทย์ พยาบาล และสหวิชาชีพ จากภาครัฐและเอกชนรวมตัวกันเพื่อส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ที่ปลอดภัยตามแนวทางวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ด้วยการใช้ยา หรือใช้เครื่องดูดโพรงมดลูก ในข้อบ่งชี้ที่สอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับแพทยสภา โดยมีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนและเอื้ออำนวยการดำเนินงานของเครือข่าย RSA
ในเดือนตุลาคม 2558 เครือข่ายRSA มีแพทย์อาสา 30 คน ด้วยการสนับสนุนทุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการจัดประชุมสร้างเสริมทัศนะคติความเข้าใจ เยี่ยมให้กำลังใจ...
หน่วยบริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในประเทศไทย
เมื่อผู้หญิงประสบปัญหาท้องไม่พร้อมไม่สามารถท้องต่อไปได้ จำเป็นต้องทำให้ทางเลือกยุติตั้งครรภ์เข้าถึงได้และปลอดภัย เพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงต่อการไปสู่บริการที่ไม่ปลอดภัย
มูลนิธิแพธทูเฮลท์ ร่วมกับ เครือข่ายอาสา RSA และ เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ต้องไม่พร้อม แสวงหาหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศไทย และรวบรวมจัดทำข้อมูลอย่างเป็นระบบแบ่งตามจังหวัดและเขตบริการสุขภาพระบุอายุครรภ์และเกณฑ์การให้บริการ พร้อมทั้งข้อมูลการติดต่อประสานงาน โดยทำฐานข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นปัจจุบันทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้สายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 เว็บไซต์ปรึกษาออนไลน์ เช่น www.lovecarestation.com , tamtang.wordpress.com และ หน่วยงานที่ให้บริการปรึกษาต่างๆ ได้ใช้ส่งต่อผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมเข้าถึงบริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย...
การดูแลหลังคลอดและทางเลือกหลังจากคลอดบุตรแล้ว
เป้าหมายของการดูแลหลังคลอด คือ ให้ผู้หญิงมีการเตรียมความพร้อมในการดูแลบุตรในระยะยาวท่ามกลางข้อจำกัด และมีความคิดชัดเจนต่อทางเลือกหลังคลอดว่าจะเลี้ยงดูเอง หรือยกมอบบุตร และการป้องกันการท้องไม่พร้อมในอนาคตด้วยการคุมกำเนิดกึ่งถาวร ส่วนเป้าหมายสำหรับเด็ก คือ เด็กมีสุขภาพดี ได้รับนมแม่ และวัคซีนตามนัด รวมทั้งมีครอบครัวเลี้ยงดูในระยะยาว
ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และตั้งครรภ์ต่อ ภาวะความไม่พร้อมอาจยังมีอย่างต่อเนื่องจนถึงหลังคลอด ดังนั้น ช่วงหลังคลอด จึงควรได้รับการปรึกษาเพื่อให้การตัดสินใจต่อทางเลือกเป็นไปอย่างสอดคล้องเหมาะสมกับชีวิตของผู้หญิงการเสริมพลัง สร้างความเชื่อมั่น และความพร้อมในสิ่งที่ผู้หญิงได้ตัดสินใจเลือกแล้ว
ทางเลือกหลังคลอด มีดังต่อไปนี้
ต้องการเลี้ยงดูบุตรเอง แม้ว่าตัดสินใจเลี้ยงดูบุตรเอง สำหรับบางคนอาจยังไม่พร้อมในช่วงแรก เนื่องจากยังต้องกลับไปทำงาน ไปเรียนต่อ...
ประเมินความพร้อมในการเลี้ยงดู
เมื่อตัดสินใจท้องต่อ ต้องคิดในทางบวกกับชีวิตข้างหน้า ไม่ควรคิดหรือทำอะไรตามลำพังด้วยอารมณ์ที่อาจส่งผลเสียกับตัวเอง
การท้องไม่พร้อมควรหาวิธีบอกผู้ที่เกี่ยวข้องให้รับทราบความจริง เพื่อให้มีคนรับรู้เข้าใจว่า กำลังเกิดอะไรขึ้นกับเรา และให้ความช่วยเหลือเมื่อเราต้องการ เช่น เมื่อครบกำหนดคลอด เวลาเจ็บท้อง การช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาล และช่วยเหลือดูแลหลังคลอด
หากไม่สามารถบอกใครๆ ได้เลย และมีความกังวลไม่รู้จะจัดการชีวิตอย่างไร ควรหาที่ปรึกษาเพื่อเป็นตัวช่วย เช่น เจ้าหน้าที่ให้บริการปรึกษาจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ศูนย์พึ่งได้ คลินิกวัยรุ่นของโรงพยาบาล บ้านพักเด็กและครอบครัวในทุกจังหวัด หรือ ขอรับบริการปรึกษาจากสายด่วนต่างๆ เพื่อสอบถามข้อมูล ขอคำแนะนำแหล่งช่วยเหลือต่างๆ
การประเมินความพร้อมในการเลี้ยงดู ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม...
การดูแลขณะตั้งครรภ์ไม่พร้อม
เพื่อท้องต่อได้อย่างมีคุณภาพ และทำให้การคลอดมีความปลอดภัย ทารกออกมาอย่างสมบูรณ์ การฝากครรภ์มีความสำคัญมาก สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์และเด็กในท้อง โดยแพทย์จะตรวจสุขภาพร่างกายฉีดวัคซีน รับยาบำรุง ติดตามดูความก้าวหน้าของการตั้งครรภ์ พูดคุยถึงอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อดูแลไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การฝากครรภ์นี้จะดูแลผู้หญิงไปจนถึงการคลอด เอกสารที่ต้องเตรียมไว้เสนอเมื่อไปฝากครรภ์ คือ บัตรประชาชน และบัตรผู้รับบริการโรงพยาบาลที่ได้จากการไปรับบริการครั้งแรก
ควรมารับบริการตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อตรวจความก้าวหน้าและความผิดปกติของการตั้งครรภ์ โดยให้ปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลเพื่อเตรียมการคลอดที่ปลอดภัย
สามารถใช้สิทธิฝากครรภ์ และคลอดได้ที่โรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนหลักประกันสุขภาพ หรือประกันสังคมได้ การเข้ารับบริการทุกครั้งให้นำบัตรประชาชนติดตัวไว้เพื่อแสดงในการตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล
**กรณีไม่ต้องการฝากครรภ์ หรือคลอดบุตรที่สถานบริการใกล้บ้าน เนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม
การเข้ารับบริการ ให้แยกเป็นการฝากท้องและการคลอด ตามสิทธิที่ตนเองมี...
การประเมินข้อบ่งชี้การยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย
การประเมินข้อบ่งชี้การยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย
ประเทศไทย เกณฑ์ในการยุติตั้งครรภ์นั้น อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 (1) (2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 โดยในมาตรา 305 ประกอบด้วย 2 วรรคที่เกี่ยวข้อง ที่กล่าวว่าการยุติตั้งครรภ์สามารถทำได้ ดังต่อไปนี้
วรรคแรก
คือ 1) การตั้งครรภ์ที่ครรภ์นั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดย “สุขภาพ”...