แนวทางการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยตามอายุครรภ์
แนวทางการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยตามอายุครรภ์
อายุครรภ์ (สัปดาห์)
วิธีการ
การให้บริการ
น้อยกว่า
9
MVA
ให้บริการที่คลินิก และโรงพยาบาลได้ วิธีการ MVA
ไม่ต้องพักค้าง เรียบร้อยภายในวันเดียว
ยา
การใช้ยา ต้องมารับบริการ 2 ครั้ง คือ กินยาเม็ดแรกที่คลินิก และใช้ยาอีกชุดในวันถัดไป
ระหว่าง
9-12
MVA
ให้บริการที่คลินิก และโรงพยาบาลได้ วิธีการ MVA
ไม่พักค้าง เรียบร้อยภายในวันเดียว
ยา
การใช้ยา...
นโยบายกระทรวงสาธารณสุขกับการป้องกันและแก้ไขท้องไม่พร้อม และการยุติตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
นโยบายกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และสตรีวัยเจริญพันธุ์และการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยในประเทศไทย
ด้วยปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นและสตรีวัยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย นับวันจะทวีความรุนแรงสิ่งที่นำไปสู่ปัญหาสังคมและเป็นสาเหตุหลักของการป่วยและตายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อปัญหานี้ โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ ดังต่อไปนี้
ส่งเสริมค่านิยมทางวัฒนธรรม สังคม ทัศนคติ และบทบาททางเพศที่เหมาะสมของวัยรุ่นและประชากรวัยเจริญพันธุ์
ให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีแก่สังคมทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันให้ความช่วยเหลือสตรีที่ตั้งครรภ์
ไม่พร้อมทุกกลุ่มอายุ รวมทั้งวัยรุ่นและเยาวชน
จัดให้มีระบบบริการสุขภาพทางเพศ อนามัยการเจริญพันธุ์ วางแผนครอบครัว และการคุมกำเนิดที่เหมาะสม
มีคุณภาพ เป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่ายแก่วัยรุ่นและสตรีวัยเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีแก่ผู้ให้บริการสุขภาพ พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน...
รัฐบาลพร้อมเปิดสายด่วนท้องไม่พร้อม โทร 1663
พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
การประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ครั้งที่ 1/2560
วันที่ 3 เมษายน 2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี (เดิม) อาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ครั้งที่ 1/2560 ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมได้มีการพิจารณาและมีมติเห็นชอบ กระบวนการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในประเทศไทยซึ่ง กรมอนามัยร่วมกับ Concept Foundation ได้ทำการศึกษาเรื่อง...
การดูแลสุขภาพกายและจิตของผู้ให้การปรึกษา
การดูแลสุขภาพกายและจิตของผู้ให้การปรึกษากระบวนการให้การปรึกษาหญิงที่ตั้งท้องไม่พร้อมเพื่อช่วยฟื้นฟูอำนาจภายในและแก้ปัญหานั้น ต้องใช้พลัง ทักษะ และในบางกรณีอาจใช้ระยะเวลานาน การทำงานร่วมกันระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการปรึกษาด้วยการเปิดใจรับความรู้สึก และแบกความทุกข์ของเขา บางครั้งส่งผลให้ผู้ให้การปรึกษารู้สึกหนักอึ้งและหากไม่ปล่อยวางก็แบกทุกข์ของเขาไว้ แม้จะจบการให้การปรึกษาไปแล้ว
ดังนั้น การดูแลตนเองของผู้ให้การปรึกษาไม่ให้จมอยู่กับความทุกข์หรือแบกปัญหาของเขามาเป็นปัญหาของเราจึงเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น
การดูแลตนเองของผู้ให้การปรึกษาเพื่อไม่ให้หมดไฟและเครียด อาจทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการดูแลตัวเองด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การฝึกโยคะ ซึ่งถือเป็นการภาวนา ฝึกพัฒนาจิตให้หลุดพ้นโดยหาวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง ดังนั้น การทำสมาธิจึงไม่ใช่การไปวัด นั่งสมาธิหรือเดิมจงกรมเท่านั้น แต่กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเราสามารถนำมาใช้เป็นการภาวนาได้ เช่น การปักผ้า...
5 เหตุการณ์สำคัญทั่วโลก เกี่ยวกับยายุติตั้งครรภ์
การยุติตั้งครรภ์โดยใช้ยา (Medical Abortion) หมายถึง “การใช้ยากระตุ้นให้เกิดการยุติต้ังครรภ์แทนการดูดหรือขูดมดลูก”
แม้ว่าจะมีการใช้ยาเพื่อยุติตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) มานานแล้วก็ตาม แต่การคิดค้นสูตรยาที่จะนำมาใช้สำหรับยุติตั้งครรภ์ ในช่วงไตรมาตรแรกของการตั้งครรภ์ โดยมีผลงานวิจัยยืนยันเรื่องประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของยาอย่างจริงจังเพิ่งเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การใช้ยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์จะช่วยให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการที่ปลอดภัยมากขึ้นเพราะสามารถให้บริการได้ในสถานบริการที่ไม่มีเครื่องมือสำหรับขูดมดลูกได้
5 เหตุการณ์ครั้งสำคัญๆ เพื่อให้มีการใช้ยาสำหรับยุติตั้งครรภ์เป็นที่รับรู้และตระหนักไปทั่วโลก ในแต่ละช่วงดังนี้
พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) มีการประชุมที่เมืองเบลลาจิโอประเทศอิตาลีในกลุ่มนักวิจัยเรื่อง สุขภาพผู้หญิงและผู้บริหารระดับนานาชาติจากหลายประเทศทั่วโลกโดยที่ประชุมได้พูดถึง เรื่องการยุติตั้งครรภ์โดยใช้ยาและสรุปว่าการยุติตั้งครรภ์โดยใช้สูตรยามิฟิฟริสโตน (MIFEPRISTONE) ควบคู่กับ ไมโซโพรสตอล...
7 เหตุผลที่ผู้หญิงมีสิทธิทำแท้งที่ปลอดภัย
ผู้หญิงทุกคนมีชีวิตที่แตกต่างกัน เมื่อประสบปัญหาท้องไม่พร้อม ผู้หญิงจึงควรมีสิทธิที่จะเลือกทางออก ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขชีวิตของตนเองการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ สามารถกระทำได้ตามประมวลกฎหมายอาญาและข้อบังคับของแพทยสภา ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 (1) (2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 โดยประเทศไทยกำหนดให้ผู้หญิงสามารถยุติการตั้งครรภ์โดยแพทย์ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางกายของผู้หญิงการตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิงตัวอ่อนในครรภ์มีความพิการการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเราการตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปีการตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร สนองความใคร่
การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยสามารถลดอัตราแม่ตายได้ มากกว่ากลวิธีใดๆ ที่กระทำกันอยู่ในปัจจุบันเนื่องจากการคลอดบุตรในประเทศไทย มีอัตราการตาย...
การปฏิเสธผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ส่งผลอย่างไร?
"การปฏิเสธการยุติการตั้งครรภ์ให้กับผู้หญิงท้องไม่พร้อม เป็นการนำพาผู้หญิง และเด็กๆ ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ในการขับเคลื่อนอนาคตของชาติ ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพกาย ใจ และสังคม มีคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำ เป็นภาระของประเทศชาติ และส่งผลต่อความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ และเป็นอุปสรรคของการพัฒนาประเทศไปข้างหน้า"
นพ.เรืองกิตติ์ ศิริกาญจนกูล กล่าว
พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนถึงการศึกษาและข้อมูลจากต่างประเทศ โดย นพ.เดวิด เอ กริมส์ ได้เขียนงานศึกษาวิจัย
ไว้เมื่อปี 2558 เรื่อง “การปฏิเสธการทำแท้ง: ผลที่เกิดขึ้นกับแม่และเด็ก”
การทำแท้งถือเป็นทางออกหนึ่งของการตั้งครรภ์ไม่พร้อม แต่เมื่อทางออกนี้ถูกปฏิเสธ หรือ...