ทำแท้งยุคใหม่ = ปลอดภัย ไม่ลับ ไม่ตาย
จากกรณีข่าวที่ถูกเผยแพร่โดยเพจ Drama-addict และแพทย์ชื่อดังอย่าง นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ (หมอแป๊ะ) ออกมาเตือนถึงคลิปบน TikTok และโซเชียลที่มีการแนะนำ “วิธีทำแท้งย้อนยุค” ด้วยอุปกรณ์อันตราย เช่น ไม้เสียบลูกชิ้น สอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อให้แท้งลูกออกมา ซึ่งเสี่ยงอย่างมากต่อการติดเชื้อเฉียบพลัน และอาจถึงขั้นเสียชีวิต
ที่มาของข่าว: PPTVHD36 – หมอยังอึ้ง! โซเชียลสอนทำแท้งย้อนยุค ทั้งที่มีการทำแท้งที่ปลอดภัย
ปัจจุบัน การทำแท้งที่ปลอดภัย “มีอยู่จริง”...
จากข่าวแรงงานเมียนมา ทำให้รู้ว่าเรายังต้องคุยเรื่องนี้อีกเยอะ
จากกรณีข่าวที่เกิดขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 – หญิงชาวเมียนมาทะเลาะกับแฟนหนุ่ม แล้วเกิดความเครียดจนตัดสินใจกินยาขับลูกออกมา ทั้งที่มีอายุครรภ์ราว 5 เดือน เธอวานเพื่อนให้นำทารกไปฝัง แต่ชาวบ้านเห็นเข้าจึงแจ้งตำรวจ ขณะที่เธอเองก็เสียเลือดอย่างหนักและต้องถูกส่งโรงพยาบาล
ที่มา: ข่าวช่อง 7HD
นี่ไม่ใช่แค่ข่าวเศร้า — แต่มันสะท้อนว่า
ยังมีคนจำนวนมากที่ไม่รู้ว่า “ยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย” ทำได้
ยังมีคนที่เข้าไม่ถึงบริการทางการแพทย์ ไม่ใช่เพราะเขาไม่ต้องการ แต่เพราะเขา “ไม่รู้ว่าขอความช่วยเหลือจากใครได้”
ยังมีคนที่คิดว่าต้องปิดเรื่องนี้ให้เงียบที่สุด เพราะกลัวว่าจะถูกจับ ถูกตีตรา...
ห่วงอนามัยมีกี่ประเภท และควรเลือกแบบไหน
ห่วงอนามัย หรือ IUD (Intrauterine Device) เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่แพทย์ใส่เข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ โดยสามารถใช้ได้นานตั้งแต่ 3 ปีไปจนถึง 10 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของห่วงอนามัย
ประเภทของห่วงอนามัย
ห่วงอนามัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
ห่วงอนามัยชนิดมีฮอร์โมน (Hormonal IUD)
ปล่อยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างต่อเนื่อง ทำให้มูกที่ปากมดลูกข้นขึ้น ป้องกันไม่ให้อสุจิเข้าถึงไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง ลดโอกาสที่ไข่จะฝังตัว อายุการใช้งาน: 3-7...
ยาสตรี VS ยาทำแท้ง
หลายคนยังเข้าใจผิดว่า "ยาสตรี" คือยาที่สามารถขับเลือด หรือยุติการตั้งครรภ์ได้ แต่ในความเป็นจริง ยาทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันทั้งในด้านวัตถุประสงค์ การทำงาน และความปลอดภัย
ยาสตรี
เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่มักใช้เพื่อ “ปรับสมดุลประจำเดือน”
บางคนใช้เพื่อหวังให้ “ประจำเดือนมา” หลังมีเพศสัมพันธ์
ไม่มีผลยุติการตั้งครรภ์ และ ไม่สามารถทำให้แท้งได้
ไม่มีข้อมูลรองรับด้านประสิทธิภาพในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงตั้งครรภ์
ยาทำแท้ง (ในทางการแพทย์)
ใช้สำหรับ “ยุติการตั้งครรภ์” ที่ยืนยันแล้ว
ทำงานผ่านฮอร์โมนและการบีบตัวของมดลูก
ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
ผ่านการประเมิน เช่น อายุครรภ์ สุขภาพของผู้ตั้งครรภ์ และวิธีใช้ที่ถูกต้อง
ใช้ยาที่มีมาตรฐาน เช่น Mifepristone...
กินยาคุมฉุกเฉินบ่อยๆ จะเป็นอย่างไร
ยาคุมฉุกเฉินออกแบบมาเพื่อใช้ เฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ไม่ใช่ยาคุมแบบใช้ประจำ และไม่ควรใช้ต่อเนื่องหรือซ้ำบ่อยเกินไป หากกินบ่อย อาจเกิดผลกระทบต่อร่างกายดังนี้
รอบเดือนคลาดเคลื่อน หรือมาผิดปกติ
อาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ ปวดหัว เจ็บหน้าอก
ระบบฮอร์โมนแปรปรวน ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว
ไม่ควรใช้ยาคุมฉุกเฉินเกิน 2 ครั้งต่อเดือน เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินมีปริมาณฮอร์โมนมากกว่ายาคุมปกติ ยิ่งกินมาก ยิ่งได้รับฮอร์โมนสูงมาก และอาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้
ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า
ถุงยางอนามัย ใช้ง่าย ป้องกันทั้งการตั้งครรภ์และโรคติดต่อ
ยาคุมเม็ด ยาฝัง ยาฉีด หรือห่วงอนามัย
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะกับร่างกายของคุณที่สุด
ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่...
ยาคุมฉุกเฉินควรใช้เมื่อไหร่
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน เป็นยาที่ใช้ในกรณีมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือป้องกันแล้วแต่ผิดพลาด เช่น ถุงยางรั่วหรือหลุด ลืมกินยาคุมปกติ
ยาคุมฉุกเฉินมี 2 แบบ
แบบ 1 เม็ด กินทันทีหรือภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์
แบบ 2 เม็ด กินได้ 2 วิธีเม็ดแรกทันทีหรือภายใน 72 ชั่วโมง เม็ดที่สองหลังจากเม็ดแรก 12 ชั่วโมง
กิน 2...
หลั่งนอกก็ทัน แต่ทำไมท้อง
หลายคนเชื่อว่า "ถ้าไม่หลั่งข้างใน ก็ไม่ท้อง" แต่ความจริงคือ ยังมีโอกาสท้องได้ แม้จะหลั่งนอกทัน เพราะในน้ำหล่อลื่นที่ออกมาก่อนการหลั่ง อาจมีอสุจิปะปนอยู่ และอสุจิเหล่านั้นก็สามารถเดินทางไปปฏิสนธิกับไข่ได้ทันที ยิ่งไปกว่านั้น การควบคุมการหลั่งอย่างแม่นยำไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในสถานการณ์จริงที่อาจมีความตื่นเต้นหรือควบคุมตัวเองไม่ได้ทัน ดังนั้น การหลั่งนอกไม่ใช่วิธีคุมกำเนิดที่ปลอดภัย และไม่ควรใช้เป็นวิธีคุมกำเนิดหากคุณยังไม่พร้อมจะมีบุตร
วิธีที่ปลอดภัยกว่าคือ ถุงยางอนามัย, ยาคุมเม็ด, ยาฝัง, ห่วงอนามัย
ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่ ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online :...
การนับวันปลอดภัยช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้จริงหรือไม่
การนับวันปลอดภัยช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้จริงหรือไม่
การนับวันปลอดภัย เป็นวิธีคุมกำเนิดแบบธรรมชาติที่หลายคนใช้ โดยการหลีกเลี่ยงเพศสัมพันธ์ในช่วงที่คาดว่าเป็นวันไข่ตก แต่ในความเป็นจริง วิธีนี้มี ความเสี่ยงสูง เพราะ
รอบเดือนของแต่ละคนไม่เท่ากันในแต่ละเดือน
ปัจจัยอย่างความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือร่างกายแปรปรวน ทำให้วันไข่ตกคลาดเคลื่อนได้ง่าย
อสุจิสามารถมีชีวิตอยู่ในร่างกายได้นานถึง 5 วัน
ทั้งหมดนี้ทำให้การนับวันปลอดภัย ไม่ใช่วิธีคุมกำเนิด ป้องกันการตั้งครรภ์ไม่ได้ หากคุณต้องการป้องกันการตั้งครรภ์อย่างจริงจัง แนะนำให้ใช้
ถุงยางอนามัย
ยาคุมแบบเม็ด ยาฝัง ยาฉีด หรือห่วงอนามัย
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะกับตัวเอง
ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่ ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online :...
ยาฝังคุมกำเนิดเหมาะกับใครบ้าง
ใครเหมาะกับยาฝังคุมกำเนิด
ยาฝังคุมกำเนิดเหมาะกับผู้หญิงที่ต้องการคุมกำเนิดระยะยาว โดยไม่ต้องพึ่งพาการกินยาทุกวัน โดยเฉพาะกลุ่มต่อไปนี้
ผู้หญิงที่มีแผนจะเว้นระยะการมีบุตรนาน 3-5 ปี
คุณแม่หลังคลอดที่ยังไม่พร้อมมีลูกเพิ่ม
ผู้ที่แพ้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งไม่สามารถใช้ยาคุมแบบเม็ดรวมได้
ผู้ที่มักลืมกินยาคุม หรือไม่สามารถควบคุมเวลาการใช้ยาได้สม่ำเสมอ
ผู้ที่มีความเสี่ยงท้องไม่พร้อม และต้องการวิธีที่ไม่ต้องดูแลบ่อย
ใครไม่ควรใช้ยาฝังคุมกำเนิด
ผู้ที่ตั้งครรภ์อยู่แล้ว
ผู้ที่มีประวัติมะเร็งเต้านม หรือมีโรคตับรุนแรง
ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ
ผู้ที่มีความกังวลเรื่องผลข้างเคียงด้านอารมณ์หรือรอบเดือนที่ไม่แน่นอน
ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online : https://abortion.rsathai.orgหรือ Line Official : @rsathai , Inbox Facebook Page : rsathaiบริการให้คำปรึกษาออนไลน์...
การฝากครรภ์ครั้งแรก ต้องทำอะไรบ้าง
ทำไมการฝากครรภ์จึงสำคัญ
การฝากครรภ์เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ที่วางแผนไว้หรือไม่ก็ตาม เพื่อให้แพทย์สามารถติดตามสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ รวมถึงช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น แนะนำให้เข้าฝากครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ หรือทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ เพื่อให้แพทย์สามารถตรวจประเมินสุขภาพและให้คำแนะนำที่จำเป็น
ขั้นตอนการฝากครรภ์ครั้งแรก
ตรวจยืนยันการตั้งครรภ์ – แพทย์จะทำการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อยืนยันอายุครรภ์และดูว่าทารกเจริญเติบโตตามปกติหรือไม่
ตรวจสุขภาพทั่วไปของคุณแม่ – วัดความดันโลหิต น้ำหนัก ส่วนสูง รวมถึงตรวจภาวะสุขภาพอื่นๆ
ตรวจเลือดและปัสสาวะ – เพื่อตรวจหาโรคติดต่อทางพันธุกรรม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และดูระดับน้ำตาลในเลือด
รับวิตามินบำรุงครรภ์ – แพทย์จะแนะนำให้รับประทาน กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก...