11 คำแนะนำ “พลิกวิธีคิด” ใหม่ที่ต้องรู้ คุมกำเนิดอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด
ไม่คุมไม่คุ้มนะ โดยใน 1 ปี จะเสี่ยงท้อง 85% หรือท้อง 6 ใน 7 ราย แม้ว่านานๆ จะร่วมเพศก็ต้องคุมสวมถุงยางอนามัยให้ถูกต้องทุกครั้ง ไม่งั้นท้องได้ 14% หรือ 1 ใน 6 รายใน 1 ปี เพราะใส่ผิดวิธี ใส่ช้าไป...
ท้องแบบเซอร์ไพรส์ จากเรื่องจริงของผู้หญิง 14 คน
ประสบการณ์คุมกำเนิดที่ผิดพลาด นำไปสู่การตั้งท้องที่ไม่พร้อม 14 เรื่องจริง เหตุการณ์ท้องแบบ "เซอร์ไพรส์" เพื่อเป็นข้อมูลให้เพื่อนๆ วางแผนการคุมกำเนิดที่ปลอดภัย ห่างไกลจากท้องไม่พร้อมกันค่ะ โดยเล่าจากประสบการ์ณการช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ของคุณหมอเครือข่ายอาสา RSA (Referral System for Safe Abortion) ไปดูกันเลย
1.ประมาท เลินเล่อ นักศึกษาวัย 19 ปีกับแฟนวัยเดียวกัน มีเพศสัมพันธ์แล้วไม่ค่อยคุม...
วิธีรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีขั้นตอนอย่างไร
การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ดำเนินการโดยศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม สังกัด กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2520 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2520 และตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการและดูแลด้านการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม โดยปฏิบัติงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2533 และตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว...
ข้อจำกัดของ “วงสาธารณะ” : การตัดสินเชิงศีลธรรมและการตีตราประณาม – ท้องไม่พร้อม
ปรากฏการณ์ท้องไม่พร้อมและการเลือกยุติการตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่คนเผชิญสถานการณ์หรือมีประสบการณ์มาก่อนเลือกที่จะไม่พูดถึง หรือเปิดเผยกับคนทั่วไป ทัศนัย ขันตยาภรณ์ กล่าวถึงแนวโน้มของคนที่จะไม่พูดถึงประสบการณ์นี้ว่า
"เรื่องนี้มันเป็นเรื่องไม่พูดกัน...ส่งผลทำให้คนมีโอกาสที่จะแสวงหาองค์ความรู้เรื่องนั้นน้อย เพราะฉะนั้น (คนที่ไม่เคยเชิญสถานการณ์) พูดบนข้อจำกัดของตัวเอง ในส่วนที่ตัวเองรับรู้มา..กรอบหนึ่งมันเป็นกรอบเรื่องของกฎหมาย อย่างที่ว่า ถ้าคนไม่รู้จริงเรื่องกฎหมาย ก็จะคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ผิดหมดเลยเรื่องแบบนี้…ผู้หญิงที่ประสบปัญหาตรงนี้เขาไม่ลุกมาพูด เพราะมันเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว จบก็ต้องการให้มันจบ จบแบบไม่มีใครรู้ด้วย.. เลยไม่ได้เกิดการพูดต่อเนื่องไป…ตัวของผู้ที่ประสมปัญหาเองก็ไม่ต้องการที่จะทำให้เป็นเรื่องสาธารณะด้วย ก็ไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นเรียนรู้ชีวิตของคนที่ประสบมาด้วย จะต่างจากเอตส์ (ที่ผู้ติดเชื้อได้นำเสนอหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้คนอื่นๆ ในสังคมได้รับรู้)" *(ทัศนัย ขันยาภรณ์ ,...
ผู้ใหญ่-เยาวชน ใส่ใจ และลงมือทำ : บทเรียนทำงานป้องกันตั้งครรภ์วัยรุ่นในพื้นที่ (2)
ในส่วนที่สามคือการทำงานของเยาวชน ที่จังหวัดภูเก็ตพบว่า เยาวชนหรือวัยรุ่นที่อยู่ในสถานการณ์การตั้งครรภ์อยากพูดคุยและปรึกษากับเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันมากกว่าอยากคุยกับผู้ใหญ่ จังหวัดจึงได้พัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาเรื่องตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยให้แกนนำเยาวชนเป็นที่ปรึกษา หรือช่วยเหลือเพื่อนที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งภายหลังพบว่าแนวทางดังกล่าวช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในพื้นที่ได้จริง
นอกจากนี้ ในการทำงานของสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งมีทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ ได้ให้ความสำคัญและขับเคลื่อนประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นด้วย ดังการทำงานของในสภาเด็กและเยาวชน ต.บางสีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ที่เน้นการทำกิจกรรมร่วมกันของเยาวชนในทุกๆ เดือน นำไปสู่การมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ช่วยลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์เพราะมีกิจกรรมร่วมกันสม่ำเสมอ ส่วนที่สภาเด็กและเยาวชน อ.ศรีนครินทร์...
ผลการศึกษาทางคลินิกของการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา โดยองค์การอนามัยโลกใน 10 ประเทศทั่วโลก
การศึกษาโดยองค์การอนามัยโลกเป็นการศึกษาแบบ Randomized rontrolled trial เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้ยาในการยุติการตั้งครรภ์ (ยาทำแท้ง) ด้วยการกินยามิฟิพริสโตน 200 มิลลิกรัม จากนั้น 2 ชั่วโมง ตามด้วยยาไมโซโพรสตอลขนาด 400 หรือ 800 ไมโครกรัม ใช้เหน็บซ่องคลอด หรืออมใต้ลิ้น
โดยทำการศึกษาใน 15 คลินิก ในแผนกสูติศาสตร์-นรีเวชกรรมใน 10...
การประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคอีสาน
เมื่อวันที่ 14 – 15 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดการประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคอีสาน ณ โรงแรมริเวอร์ ซิตี้มุกดาหาร โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม
โดยมีเป้าหมายให้การดำเนินงานเครือข่ายอาสา RSA (Referral system...
ผู้ใหญ่-เยาวชน ใส่ใจ และลงมือทำ : บทเรียนทำงานป้องกันตั้งครรภ์วัยรุ่นในพื้นที่ (1)
พระราชบัญญัติป้องกันแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.๒๕๕๙ มีสาระสำคัญให้กระทรวงหลัก ๕ กระทรวง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกันทำงานแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น โดยมีหลักการอยู่บนฐานของการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีของวัยรุ่น กล่าวคือวัยรุ่นต้องได้รับการปกปิดข้อมูลส่วนตัวและการรับบริการเป็นความลับ สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง ได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอ และเข้าถึงการรับบริการโดยมีสวัสดิการของรัฐรองรับ
การประกาศใช้ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวได้ปรับเปลี่ยนการทำงานเรื่องการแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์วัยรุ่น เพราะทำให้หลายๆ หน่วยงานในพื้นที่ เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด...
3 อาการที่ปกติ และ 7 สัญญานที่ไม่ปกติหลังทำแท้ง ยุติการตั้งครรภ์ เป็นอย่างไร
หลังยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ปัญหาอาจบรรเทาไปเปลาะหนึ่งแต่ผู้หญิงก็ยังคงต้องใส่ใจเพื่อดูแลตัวเองหลังยุติการตั้งครรภ์รวมไปถึงการดูแลอาการที่เกิดขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่ายุติได้สมบูรณ์ไม่มีการติดเชื้อ
ผู้หญิงควรสังเกตอาการตนเอง...
หลังยุติการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปจะมีเลือดออกทางช่องคลอดแต่จะลดลงเรื่อยๆ รู้สึกหน้าท้องตึงคล้ายกับเมื่อมีประจำเดือนนานประมาณ 1 สัปดาห์ และมีอาการอ่อนเพลียปานกลางอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้และจะหายไปเองเราอาจรู้สึกผ่อนคลายจากความรู้สึกเครียด แต่ก็อาจรู้สึกหดหู่เศร้าใจเป็นระยะเวลาหนึ่งซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน โดยทั่วไปอาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง โดยอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ และอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ มีดังต่อไปนี้
อาการปกติที่เกิดขึ้นหลังจากการรักษา1. มีเลือดออกทางช่องคลอด และรู้สึกหน้าท้องตึงคล้ายกับเมื่อมีประจำเดือนนานประมาณ 1 สัปดาห์2. มีอาการอ่อนเพลียปานกลางในระยะเวลาหนึ่ง3. รู้สึกหดหู่ เศร้าใจเป็นระยะเวลาหลายวันอาการผิดปกติ ที่ควรกลับไปพบแพทย์1. มีไข้สูง2. ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง3....
4 ข้อเสนอเชิงนโยบายฉบับที่ 2 เพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนา “แนวทางการบริการและคุ้มครองสิทธิ์ของวัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ตั้งครรภ์ต่อ”
ผู้หญิงท้องไม่พร้อมและต้องท้องต่อนั้นส่วนมากต้องเผชิญปัญหาที่ซับซ้อนและยากลำบากตามบริบทชีวิตของผู้หญิง ว่าเป็น “ท้องต่อในโรงเรียน” “ท้องต่อในชุมชน” และ “ท้องระหว่างอยู่ในเรือนจำ/สถานพินิจ”อย่างไรก็ตาม ทุกคนต้องเผชิญต่อแรงกดดันและแรงเสียดทานที่ถาโถมเข้ามาหา ดังนั้นเมื่อผู้หญิงตัดสินใจท้องต่อไม่ว่าจะอยู่ในบริบทชีวิตแบบไหนช่วงเวลาตั้งครรภ์ต่อจนถึงคลอดจึงเป็นช่วงวิกฤตของชีวิตที่สังคมละเลยและมองไม่เห็น จากประสบการณ์ในการทำงานให้ความช่วยเหลือและจัดบริการสำหรับผู้หญิงท้องไม่พร้อมและท้องต่อ สรุปได้ว่า (1) ผู้ให้บริการจะต้องรับมือกับภาวะอารมณ์ที่ไม่นิ่งของผู้ประสบปัญหาในตลอดช่วงของการทำงานให้ความช่วยเหลือ ดังนั้นผู้ให้บริการจะต้องเข้าใจเงื่อนไขและสถานการณ์เช่นนี้(2) ทักษะสำคัญของผู้ให้บริการคือ ความรอบรู้และสามารถเชื่อมต่อบริการที่มีอยู่กระจัดกระจายในหน่วยงานต่างๆ เนื่องจากการช่วยคลี่คลายสถานการณ์ชีวิตของผู้หญิงนั้นจำเป็นต้องได้รับบริการที่หลากหลายขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของชีวิตระบบบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ พบว่าหน่วยงานต่างๆ มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการให้บริการกับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม แต่ยังขาดรูปธรรมในระดับปฏิบัติการที่ชัดเจน หน่วยให้บริการเน้นการทำงานตามกรอบบริการของหน่วยงานของตน ขาดการบูรณการทำให้บริการไม่สามารถรองรับปัญหาของผู้หญิงที่มีความซับซ้อน ยังคงเป็นการทำงานตั้งรับในกรอบการให้บริการของหน่วยงานตนเองเป็นหลัก ดังนั้นเพื่อให้เกิดการบริการและคุ้มครองสิทธิผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมที่ตั้งครรภ์ต่อ...