กฎหมายอาญามาตรา 301 กฎหมายที่ไม่ยุติธรรมและไม่เป็นธรรมกับผู้หญิง

0
กฎหมายอาญามาตรา 301 "หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" เป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมและไม่เป็นธรรมกับผู้หญิงเลย เพราะว่า กฎหมายนี้ เอาผิดกับผู้หญิงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่การท้องได้ต้องเกิดจากผู้หญิงและชายร่วมกัน กฎหมายนี้ ส่งผลให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมต้องหลบซ่อนไม่กล้าปรึกษาขอความช่วยเหลือ แล้วอาจไปลงเอยที่การทำแท้งเถื่อน กฎหมายนี้ ซ้ำเติมผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์ ช่วงที่ชีวิตเปราะบางและอ่อนแอที่สุดให้เลวร้ายลงไปอีก เรื่องจริงของความไม่ยุติธรรมนั้น คลิกอ่านได้ที่นี่ เรื่องของดา : https://rsathai.org/contents/13887เรื่องของพร : https://rsathai.org/contents/13838เรื่องของหนู : https://rsathai.org/contents/13912ขอบคุณเรื่องจากชีวิตจริงที่ทำให้สังคมออนไลน์ตื่นขึ้นจากความไม่เท่าเทียม

เครือข่ายอาสา RSA เครือข่ายท้องไม่พร้อม ชวนร่วม #BalanceforBetter เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2562

0
นานาชาติกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล ประเด็นหลักในการรณรงค์ปีนี้คือ #BalanceforBetter “สร้างสมดุลหญิงชายเพื่อก้าวไกล” การรณรงค์ในบางประเทศ เช่น แคนาดา มีการปรับคำให้ชัดเจนขึ้นโดยใช้คำว่า Getting to Equal คือ ให้มีความเท่าเทียมระหว่างหญิงชายในทุกมิติ สำหรับประเทศไทย เครือข่ายอาสา RSA และ เครือข่ายท้องไม่พร้อม ร่วมกันเรียกร้องให้มี#BalanceforBetter เนื่องในวันสตรีสากล...

โครงการตลาดนัดสุขภาวะเยาวชน “การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” จังหวัดตาก

0
โครงการตลาดนัดสุขภาวะเยวชน “การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก จัดโครงการตลาดนัดสุขภาวะเยาวชน “การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” จังหวัดตาก โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ หอประชุมกาญจนาภิเษก (ชั้น 2) โรงเรียนตากพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดตาก เพื่อสร้างกระแสสื่อสารด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่่น และส่งเสริมให้วัยรุ่นได้แสดงศักยภาพความรู้ความสามารถ การมีส่วนร่วมของวัยรุ่นในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น  โดยได้รับเกียรติจาก นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์...

ชวนวิเคราะห์กฎหมายว่าด้วยเรื่องการทำแท้ง

0
ชวนวิเคราะห์กฎหมายว่าด้วยเรื่องการทำแท้ง มาตรา 302 จากเรื่องจริง กฎหมายอาญาว่าด้วยเรื่องการทำแท้ง มาตรา 302 กล่าวว่า ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ มาวิเคราะห์กฎหมายข้อนี้จากเรื่องจริง... สา (ชื่อสมมุติ) อายุ 24 ปี ตั้งท้องกับแฟนที่เลิกกันไปแล้ว เพราะแฟนใช้สารเสพติดและทำร้ายร่างกาย สาทนไม่ไหวจึงตัดสินใจหนีจากมา หลังจากนั้นก็ขาดการติดต่อกันไปเลย สาเคยมีลูกแล้ว...

“..ไม่อยากให้แม่กับยายต้องลำบาก..” เรื่องจริงของหนู

0
หนู (ชื่อสมมุติ) กำลังเรียน ปวช. ปีสุดท้าย เหลือฝึกงานก็จะเรียนจบแล้ว หนูมีแฟนหนุ่มที่คบกันมาสองปี เมื่อตรวจปัสสาวะพบว่าตัวเองท้องจึงปรึกษาแฟน แต่เค้าก็ดูเหมือนไม่รับผิดชอบ หลังจากนั้นก็ติดต่อไม่ได้เพราะบล็อกไลน์ บล็อกโทรศัพท์ แม้แต่ทางเฟซบุ๊กก็ปิด เมื่อเป็นเช่นนี้หนูก็เลยคิดถึงการไม่ท้องต่อเพราะว่าเมนส์ไม่มาแค่เดือนเดียว หนูอยากเรียนให้จบไม่อยากให้แม่ผิดหวัง ถ้าท้องต่อตัวเองและแม่คงต้องลำบาก ชีวิตของหนูอาศัยอยู่กับแม่และยาย พ่อกับแม่แยกทางกันตั้งแต่เล็ก อาชีพของแม่คือทำนา ยายแก่แล้วช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ฐานะทางบ้านจึงยากจน หนูต้องทำงานพิเศษหาเงินไปด้วยระหว่างเรียน การไม่ท้องต่อจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด... การตัดสินใจทำแท้ง ทำให้หนูเสี่ยงกับความผิดทางอาญามาตรา 301...

ความเป็นธรรมของกฎหมายอยู่ที่ไหน ?

0
การทำแท้งในประเทศไทยเป็นหนึ่งในบริการสุขภาพที่อยู่ภายใต้กฎหมายอาญา ในขณะที่ 74 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งจีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป การทำแท้งในประเทศไทยอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 - 305 อธิบายโดยย่อให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ได้ดังต่อไปนี้ มาตรา 301 ผู้หญิงทำให้ตัวเองหรือให้คนอื่นทำให้แท้ง จะติดคุกถึงสามปี และ/หรือปรับถึงหกหมื่นบาท มาตรา 302 ใครไปทำให้แท้งโดยผู้หญิงยินยอม...

ทำไมต้องแก้กฎหมายเกี่ยวกับทำแท้ง ?

0
มาทำความเข้าใจกันก่อนนะ คือในโลกนี้มี 74 ประเทศที่การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป จึงไม่ต้องมีกฎหมายใดๆ มารองรับ ส่วนใหญ่คือประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่น่าสนใจคือ จีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา ก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ส่วนไทยไม่ใช่หนึ่งในนั้นแน่นอน  เดิมบ้านเราก็ไม่มีกฎหมายทำแท้งนะ ผู้หญิงไทยแต่โบราณทำแท้งได้โดยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานโดยไม่เกี่ยวข้องกับรัฐ ประมาณว่า การตัดสินใจว่าจะท้องต่อหรือไม่ท้องต่อนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่พอประเทศเรามาเริ่มพัฒนากฎหมายเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน ก็เลยเขียนกฎหมายนี้ตามประเทศเยอรมัน ให้การทำแท้งผิดกฎหมายอาญาทุกกรณี...

Webcast Women’s health online ครั้งที่ 2

0
บันทึกการบรรยายเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ถ่ายทอดสดจากห้องประชุมนรพัฒน์ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เวลา 12.00 - 13.00 น. โดยมีหัวข้อการบรรยาย ดังนี้1. บรรยายกฏกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2562 โดย พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย 2. Contraceptive management in women...

หมอประสานเสียง วอนเปลี่ยนมุมคิด ท้องไม่พร้อมมีสิทธิทำแท้ง

0
หมอสูติฯ-หมอเด็ก ประสานเสียงขอสังคมเปลี่ยนมุมคิด หญิงท้องไม่พร้อมคือผู้ป่วย ขอแพทย์-รพ.เปิดทางเลือก เข้าถึงการยุติครรภ์ที่ปลอดภัย กฎหมายเอื้อทำตามข้อบ่งชี้ไม่ผิด สถิติชี้หญิงทำแท้งเถื่อนสุดอันตราย อัตราตาย 300 คน ต่อแสนประชากร ด้าน สสส. หนุนการเข้าถึงบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร โดยเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล กล่าวในการประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3...

การคุมกำเนิดกึ่งถาวร : สิทธิที่ยังเข้าไม่ถึง ? และอะไรคือช่องว่างที่ต้องการพัฒนา

0
ในขณะที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการคุมกำเนิด โดยพบว่า อัตราการเจริญพันธุ์รวมของสตรีไทย มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในปี 2561 เฉลี่ยสตรี 1 คน มีบุตร 1.5 คน แต่การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยยังพบปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ร้อยละ 10.8 ในปี 2560 การช่วยชะลอการตั้งครรภ์ และลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นจะได้ผลดีนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เสนอว่าควรให้วัยรุ่นคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด แต่การเข้าถึงยาคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรยังมีข้อจำกัด วัยรุ่นไม่ทราบสิทธิ์ตนเอง...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย