เครือข่ายท้องไม่พร้อมและภาคี ยื่นหนังสือต่อ รมต.กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดจัดทำประกาศกระทรวงฯ เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกตาม ม.305 (5) พร้อม 4 ข้อเสนอ
วันนี้ (26 พฤษภาคม 2565) ที่สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม นำโดย รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ร่วมกับภาคีเครือข่าย องค์กรที่ทำงานกับผู้หญิง เด็ก เยาวชน และบุคคลหลากหลายทางเพศ ในด้านสิทธิ สุขภาพ ความเสมอภาคและความเป็นธรรม รวม 36 องค์กร ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง “การเร่งรัดจัดทำประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 (5)...
แถลงการณ์ข้อเท็จจริงเรื่องการทำแท้งในประเทศไทย จากเครือข่ายอาสา RSA(1) วันที่ 3 มกราคม 2564
เครือข่ายอาสา RSA เราคือแพทย์ 157 คนและสหวิชาชีพ 614 คนจาก 70 จังหวัด ที่ปฏิบัติงานในภาครัฐและเอกชน ที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวมตามหลักวิชาการ ได้รับการแต่งตั้งและสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปี 2557 ทำหน้าที่อาสารับส่งต่อวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมจากสายด่วน1663 และหน่วยงานให้บริการปรึกษาท้องไม่พร้อม เพื่อให้ได้รับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย เครือข่ายอาสา RSA สนับสนุนการพัฒนากฎหมายอาญามาตรา 301 และ 305 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมทั้งคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่...
ร่วมกันการแสดงความเห็นร่างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 และ 305
การเปลี่ยนเหลือเวลาอีกเพียง...
มาร่วมกันการแสดงความเห็นร่างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 และ 305 ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ระยะเวลา วันนี้ - 18 กันยายน 2563
ร่วมแสดงความเห็น และลงชื่อคลิกที่นี่
สาระสำคัญของร่าง-กฎหมาย
มาตรา 301หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สรุป มาตรา 301 เอาผิดผู้หญิงที่ทำแท้งเฉพาะในอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์
มาตรา 305ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302...
การประชุมชี้แจงการบริหารจัดบริการยายุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
วันนี้ 25 ธันวาคม 2562 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดการประชุมชี้แจงการบริหารจัดบริการยายุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ณ โรงแรมทีเค พาเลซ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนการใช้ยายุติการยุติการตั้งครรภ์ ตลอดจนหน่วยงานภาคีเครือข่าย เพื่อให้การจัดบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา (Medabon) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย...
ราชกิจจานุเบกษา : กฏกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562
รู้หรือไม่ว่า...กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 25 มกราคม 2562 มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 (60 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562 โดยมีสาระสำคัญประกอบไปด้วย
สถานบริการทุกแห่งต้องให้บริการข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์กับวัยรุ่นในเรื่องสิทธิของวัยรุ่นตาม พ.ร.บ. เพศวิถีศึกษา การคุมกำเนิด การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี/เอดส์...
ราชกิจจานุเบกษา : กฏกระทรวงกำหนดประเภทของสถานประกอบกิจการและการดำเนินการของสถานประกอบกิจการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่น พ.ศ.2561
กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานประกอบกิจการและการดำเนินการของสถานประกอบกิจการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่น พ.ศ.2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 มีผลบังคับใช้ 17 ธันวาคม 2561 (30 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา) โดยมีสาระสำคัญประกอบไปด้วย
สถานประกอบกิจการทุกประเภทจะต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ อย่างครบถ้วนและเพียงพอการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์
การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์การคุมกำเนิด โดยเฉพาะการคุมกำเนิดกึ่งถาวรการฝากครรภ์และการดูแลครรภ์การแท้งและภาวะแทรกซ้อนจากการแท้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะการติดเชื้อเอชไอวี
ให้พยาบาลประจำสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างมากกว่า 200 คนขึ้นไป ทำหน้าที่ให้การปรึกษาและข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องแก่ลูกจ้างที่เป็นวัยรุ่น
ให้สถานประกอบกิจการอำนวยความสะดวกและจัดระบบส่งต่อวัยรุ่นที่จำเป็นต้องได้รับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์และสวัสดิการทางสังคมไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/094/T_0006.PDF
9 ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้หากเลือกยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าตัวเองยังไม่มีความพร้อมที่จะตั้งครรภ์ต่อไปได้ เพื่อให้ปลอดภัยกับผู้หญิงมากที่สุด ควรเลือกยุติเมื่อตั้งท้องไม่เกิน 12 สัปดาห์ เพราะสามารถทำได้ที่คลินิก หากเกินกว่านั้นต้องรับบริการที่โรงพยาบาล และสามารถยุติได้จนถึงอายุครรภ์ที่ 24 สัปดาห์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถช่วยให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัย ที่สำคัญการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา หรือเครื่องดูดสุญญากาศ จะต้องให้บริการโดยแพทย์
9 ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้หากเลือกยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
ข้อมูลที่ 1 การยุติการตั้งครรภ์มีความปลอดภัยมีผลข้างเคียง และเสี่ยงต่อชีวิตน้อยกว่าการคลอดบุตร แต่ความเสี่ยงจะมากหากไปทำแท้งไม่ปลอดภัย เช่น การซื้อยาทางอินเทอร์เน็ต การรับบริการกับผู้ให้บริการไม่ใช่แพทย์ด้วยวิธีการที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น
ข้อมูลที่ 2 การยุติการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ยิ่งน้อย...
พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 มาตรา 5 วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง
สาระสำคัญในมาตรา 5 พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 คือ วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง ได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ที่รักษาความลับและความเป็นส่วนตัว รวมทั้งสวัสดิการสังคม อย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ..
“บริการอนามัยเจริญพันธ์ุ” ครอบคลุมการคุมกำเนิด การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ และการดูแลระหว่างตั้งครรภ์-คลอด-หลังคลอด
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับผิดชอบหลักในยุทธศาสตร์นี้ โดยร่วมกับ สปสช. สนับสนุนการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ และการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ด้วยการใช้ยา และ กระบอกดูดสุญญากาศ...
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2561 เผยแพร่กฎกระทรวง กำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษา ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2561
โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้สถานศึกษาแต่ละประเภท คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา (ปวช., ปวส.,ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ) และระดับอุดมศึกษา ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต ให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียนนักศึกษา โดยมีเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องเพศที่ครอบคลุมถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พฤติกรรมทางเพศ สุขภาวะทางเพศ และมิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อเรื่องเพศ รวมทั้งสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและความเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งจัดให้มีการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับประสิทธิผลของการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และให้เป็นส่วนหนึ่งของการวัดผลการศึกษา
ทั้งนี้ ให้สถานศึกษาจัดหาและพัฒนาผู้สอน ให้มีความรู้ความสามารถ มีทัศนคติที่ดี และมีทักษะการสอนที่เหมาะสม รวมทั้งเข้าใจจิตวิทยาการเรียนรู้ของนักเรียนหรือนักศึกษาแต่ละระดับที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อให้สามารถสอนเพศวิถีศึกษา ทักษะชีวิต และให้คำปรึกษาในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่นักเรียนหรือนักศึกษา...