หลังแก้กฏหมายให้ยุติการตั้งครรภ์คือบริการในระบบสุขภาพ ข้อท้าทายต่อไปคือ ให้บุคลากรเข้าใจบริการนี้อย่างถ่องแท้ #เมื่อไม่มีบริการคือต้องส่งต่อไปรับบริการที่ปลอดภัย.. การปฏิเสธโดยไร้ทางออกคือการผลักไสผู้รับบริการไปสู่วงจรไม่ปลอดภัยดังเดิม

บอกให้เขาท้องต่อไป ใครรับผิดชอบ

วันก่อนมีเคสโทรเข้ามาปรึกษาเรื่องน้องสาววัย16ปี ท้องไม่พร้อมต้องการยุติการตั้งครรภ์ โดยได้ร่วมกันปรึกษากับแม่แล้ว

ประเมินว่าน้องสาวยังต้องการเรียน พี่และแม่ไม่พร้อมในการช่วยดูแล เพราะฐานะทางบ้านไม่ค่อยดีมีรายได้น้อย และหากพ่อรู้มีโอกาสถูกทำร้ายร่างกายได้

พี่สาวกับแม่จึงช่วยปิดบังเรื่องนี้จากพ่อและต้องการจัดการก่อนที่อายุครรภ์จะมากกว่านี้

แม่ได้พาลูกไปศูนย์สาธารณสุขใกล้บ้านย่านกรุงเทพ โดยคาดหวังว่าจะได้รับคำปรึกษาเพื่อหาทางออก

หลังจากที่บอกถึงการตัดสินใจที่จะยุติการตั้งครรภ์ เจ้าหน้าที่มีท่าทีไม่เป็นมิตร คำพูดที่ตอบกลับมาคือ ไม่ต้องมาพูดเรื่องนี้ จะทำใบส่งตัวไปที่รพ.เพื่อไปฝากท้อง ยังไงก็ต้องท้องต่อ

ท้องต่อไม่ได้จบที่ 9 เดือน
บอกให้เขาท้องต่อไป ใครรับผิดชอบ
คนที่ท้องไม่พร้อมจะเป็นแม่ คนเป็นแม่และครอบครัวไม่พร้อมช่วยเลี้ยง

รัฐสวัสดิการมีให้ตอนฝากท้องและคลอด หลังคลอดไม่ได้มีเงินอุดหนุนการเลี้ยงดูที่มากพอต่อการดำรงชีพ

แม้ว่ากฎหมายจะรับรองสิทธิการยุติการตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่ไม่พร้อม และให้มีการจัดบริการในหน่วยงานสาธารณสุขแล้วก็ตาม ยังคงพบปัญหาในเชิงปฏิบัติ

#1663สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม

ที่มา :Facebook Fanpage – Rsathai

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 0 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 0

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้