ความก้าวหน้าของการยุติตั้งครรภ์ด้วยยา

0
ความก้าวหน้าของการยุติตั้งครรภ์ด้วยยา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2557 กระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นความสําคัญของเทคโนโลยีการยุติตั้งครรภ์ด้วยยา จึงได้ขอขึ้นทะเบียนยา Mifepristone (RU486) และ Misoprostol (ไซโตเทค) ที่บรรจุในแผงเดียวกัน กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อใช้ยุติการตั้งครรภ์ ต่อมาในวันที่ 13 มิถุนายน 2559 คณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติพิจารณาคัดเลือกยาทั้งสองชนิดบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในบัญชีย่อย จ(1) โดยภายใต้บัญชีย่อยนี้ต้องมีการจัดทําโครงการพิเศษภายใต้หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์...

4 ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการช้าจนทำให้อายุครรภ์เกินกว่าที่จะยุติการตั้งครรภ์

0
จากการให้บริการช่วยเหลือผู้หญิงท้องไม่พร้อมมีผู้รับบริการจำนวนหนึ่ง ที่ตัดสินใจเลือกยุติการตั้งครรภ์เนื่องจากความไม่พร้อมหลายประการ แต่กลับพบว่าตนเองอายุครรภ์เกินกว่าที่จะยุติการตั้งครรภ์ได้แล้ว 4 ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการช้าจนทำให้อายุครรภ์เกินกว่าที่จะยุติการตั้งครรภ์ ไม่สามารถสื่อสารปัญหากับใครได้ ขยายความเหตุปัจจัย 1) รู้สึกกังวล อับอาย กลัว ปิดบังปัญหา ไม่ต้องการเปิดเผยให้คนอื่นรับรู้ กลัวพ่อแม่จะเสียใจในบางกรณี การแจ้งผู้ปกครองอาจนำมาสู่ความรุนแรง ถูกตบตีทำร้าย หรือหากทางโรงเรียนทราบก็กลัวที่จะถูกไล่ออกจากโรงเรียนและไม่ได้เรียนหนังสือ 2) ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ตัดสินใจทางเลือกไม่ได้ ไม่มีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ ไม่รู้จะจัดการชีวิตอย่างไร ปล่อยให้ครรภ์โตขึ้นเรื่อยๆ จึงเริ่มเปิดเผยกับพ่อแม่ คนใกล้ตัว หรือ เริ่มหาทางออก 3) ไม่รู้จะพูดคุยปรึกษากับใคร...

ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์

0
ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ หน้า 7 เล่ม 122 ตอนที่ 118 ง ราชกิจจานุเบกษา 15 ธันวาคม 2548 ตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2548 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 21 (3) (ฎ) และด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา...

สถานการณ์ท้องไม่พร้อม

0
สถานการณ์ท้องไม่พร้อม การท้องไม่พร้อม หรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อม เป็นคําที่ใช้ในภาษาไทยอย่างกว้างขวาง อันเป็นผลมาจากการศึกษาวิจัยในประเทศไทยที่พบว่า ผู้หญิงที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้มักให้เหตุผลถึงความไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ต่อไป สําหรับในต่างประเทศ มีศัพท์ที่ใช้ในความหมายใกล้เคียงกัน ได้แก่ Unwanted Pregnancy (การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์) หรือ Unplanned Pregnancy (การตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผน) หรือ Unintended Pregnancy (การตั้งครรภ์ที่ไม่ตั้งใจ) ซึ่งทั้งหมดให้ความหมายว่า การตั้งครรภ์ของผู้หญิงนั้นอยู่ภายใต้ความไม่พร้อม ท้ังนี้ ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าในโลกนี้มีผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมจํานวนเท่าไร ซึ่งการตัดสินใจของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม มีทั้งท้องต่อ...

การยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

0
ประเทศต่างๆ กําหนดเกณฑ์ในการยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย อันเนื่องมาจากเหตุต่างๆ 7 ข้อ ดังต่อไปนี้ ด้านชีวิตของผู้หญิง หากการตั้งครรภ์นั้นทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตได้ ด้านสุขภาพกายของผู้หญิงอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์ ด้านสุขภาพทางใจของผู้หญิงอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์นั้นเป็นการตั้งครรภ์จากการข่มขืน หรือการท้องร่วมสายเลือด ด้านสุขภาพที่ไม่ดีหรือมีความพิการของตัวอ่อนในครรภ์  ด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้  ด้านความต้องการของผู้หญิง ที่ตัดสินใจเองว่าจะต้องการตั้งครรภ์ต่อไปหรือไม่ สำหรับประเทศไทย เปิดโอกาสให้มีการยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องเช่นกัน ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา 305 (1) (2) และมาตรา 276, 277,...

วิธีการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย

0
เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถช่วยให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกกําหนดให้การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยทำได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้ 1) การดูดเนื้อรกจากโพรงมดลูก (Manual Vacuum Aspiration: MVA)วิธีการนี้สามารถทำได้จนถึงอายุครรภ์ประมาณ 10 - 12 สัปดาห์ อุปกรณ์ที่ใช้งานดังกล่าว มีลักษณะเป็นหลอดพลาสติกขนาดต่างๆ ประกอบ คู่กับกระบอกดูดสุญญากาศ เมื่อแพทย์สอดหลอดพลาสติกเข้าไปในโพรงมดลูกสามารถดูดชิ้นเนื้อออกจากโพรงมดลูกได้ ซึ่งสามารถทำให้เกิดการแท้งสมบูรณ์ได้เกือบร้อยละ 100 ในประเทศไทยมีความพยายามที่จะยกเลิกวิธีการยุติการตั้งครรภ์ด้วยการขูดมดลูก (D&C: Dilatation and Curettage หรือการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อนําเอาเนื้อเยื่อของมดลูกออกมา) และแทนที่ด้วยวิธีการดูดเนื้อรกจากโพรงมดลูก...

แนวทางการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยตามอายุครรภ์

0
แนวทางการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยตามอายุครรภ์ อายุครรภ์ (สัปดาห์) วิธีการ การให้บริการ น้อยกว่า 9 MVA ให้บริการที่คลินิก และโรงพยาบาลได้ วิธีการ MVA ไม่ต้องพักค้าง เรียบร้อยภายในวันเดียว ยา การใช้ยา ต้องมารับบริการ  2 ครั้ง คือ กินยาเม็ดแรกที่คลินิก และใช้ยาอีกชุดในวันถัดไป ระหว่าง 9-12 MVA ให้บริการที่คลินิก และโรงพยาบาลได้ วิธีการ MVA ไม่พักค้าง เรียบร้อยภายในวันเดียว ยา การใช้ยา...

นโยบายกระทรวงสาธารณสุขกับการป้องกันและแก้ไขท้องไม่พร้อม และการยุติตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย

0
นโยบายกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และสตรีวัยเจริญพันธุ์และการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยในประเทศไทย ด้วยปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นและสตรีวัยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย นับวันจะทวีความรุนแรงสิ่งที่นำไปสู่ปัญหาสังคมและเป็นสาเหตุหลักของการป่วยและตายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อปัญหานี้ โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ ดังต่อไปนี้ ส่งเสริมค่านิยมทางวัฒนธรรม สังคม ทัศนคติ และบทบาททางเพศที่เหมาะสมของวัยรุ่นและประชากรวัยเจริญพันธุ์ ให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีแก่สังคมทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันให้ความช่วยเหลือสตรีที่ตั้งครรภ์ ไม่พร้อมทุกกลุ่มอายุ รวมทั้งวัยรุ่นและเยาวชน จัดให้มีระบบบริการสุขภาพทางเพศ อนามัยการเจริญพันธุ์ วางแผนครอบครัว และการคุมกำเนิดที่เหมาะสม มีคุณภาพ เป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่ายแก่วัยรุ่นและสตรีวัยเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีแก่ผู้ให้บริการสุขภาพ พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน...

รัฐบาลพร้อมเปิดสายด่วนท้องไม่พร้อม โทร 1663

0
พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ครั้งที่ 1/2560 วันที่ 3 เมษายน 2560 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี (เดิม) อาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ครั้งที่ 1/2560 ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญดังนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาและมีมติเห็นชอบ กระบวนการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในประเทศไทยซึ่ง กรมอนามัยร่วมกับ Concept Foundation ได้ทำการศึกษาเรื่อง...

การดูแลสุขภาพกายและจิตของผู้ให้การปรึกษา

0
การดูแลสุขภาพกายและจิตของผู้ให้การปรึกษากระบวนการให้การปรึกษาหญิงที่ตั้งท้องไม่พร้อมเพื่อช่วยฟื้นฟูอำนาจภายในและแก้ปัญหานั้น ต้องใช้พลัง ทักษะ และในบางกรณีอาจใช้ระยะเวลานาน การทำงานร่วมกันระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการปรึกษาด้วยการเปิดใจรับความรู้สึก และแบกความทุกข์ของเขา บางครั้งส่งผลให้ผู้ให้การปรึกษารู้สึกหนักอึ้งและหากไม่ปล่อยวางก็แบกทุกข์ของเขาไว้ แม้จะจบการให้การปรึกษาไปแล้ว ดังนั้น การดูแลตนเองของผู้ให้การปรึกษาไม่ให้จมอยู่กับความทุกข์หรือแบกปัญหาของเขามาเป็นปัญหาของเราจึงเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น การดูแลตนเองของผู้ให้การปรึกษาเพื่อไม่ให้หมดไฟและเครียด อาจทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการดูแลตัวเองด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การฝึกโยคะ ซึ่งถือเป็นการภาวนา ฝึกพัฒนาจิตให้หลุดพ้นโดยหาวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง ดังนั้น การทำสมาธิจึงไม่ใช่การไปวัด นั่งสมาธิหรือเดิมจงกรมเท่านั้น แต่กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเราสามารถนำมาใช้เป็นการภาวนาได้ เช่น การปักผ้า...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
ฉันต้องการทำแท้ง
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย