ผู้หญิงต้องมีทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อม ABORTION 4G PRO-VOICE 4
ผู้หญิงต้องมีทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อม การอภิปรายเรื่อง ABORTION 4G /การทำแท้ง 4 จ.งาน PRO-VOICE 4
เมื่อผู้หญิงท้องไม่พร้อม พวกเธอควรมีทางเลือก การอภิปรายเรื่อง Abortion 4G/การทำแท้ง 4 จ. ในงาน Pro-Voice 4 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา ที่ห้องอาหารเพื่อนรัก ในซอยพญานาค เขตราชเทวี กทม. โดยเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม...
ทำแท้งปลอดภัยก็มีนะ รู้ยัง?
ข้อใดเป็นการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียนได้ดีที่สุด (ข้อสอบ O-net ปี 2553 วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา)
1. หยุดเรียนไประยะหนึ่งเพื่อคลอดลูก (ไปข้อ A)
2. ทำแท้งเพราะไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ (ไปข้อ B)
3. ลาออกจากโรงเรียนแล้วหางานทำเพื่อลูก (ไปรับคะแนนที่ สทศ. ผู้ออกข้อสอบ)
4. แจ้งความเพื่อหาผู้รับผิดชอบ (ไปโรงพัก)
A หยุดเรียนแล้วยังไงต่อ
รู้หรือไม่ นรากรณ์ ไหลหรั่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี ให้ข้อมูลว่า...
ยุติการตั้งครรภ์ด้วยยาอย่างปลอดภัย:อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับ ‘ผู้หญิงท้องไม่พร้อม’
การยุติการตั้งครรภ์โดยการทำแท้งเถื่อน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ได้รับบาดเจ็บ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย จากรายงานสถานการณ์ และสถิติการทำแท้งในประเทศไทย พบว่า
มีการทำแท้งประมาณปีละ 300,000 คน และผู้หญิงประมาณ 300 คน ต่อ 100,000 คน ได้รับอันตรายจากการทำแท้งในปี พ.ศ. 2552 ประมาณการณ์ว่า มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งจำนวน 123.3 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมความสูญเสียทางจิตใจ
นอกจากนี้ เครือข่ายท้องไม่พร้อมร่วมกับเครือข่ายอาสา...
ถอดบทเรียนอังกฤษ-เนปาล ผู้หญิงไม่ใช่อาชญากร ทำแท้งปลอดภัยต้องถูกกฎหมาย
ผู้หญิงไม่ใช่อาชญากร ทำแท้งปลอดภัยต้องถูกกฎหมาย ถอดบทเรียน อังกฤษ เนปาลเกิดอะไรขึ้นหลังยกเลิกโทษอาญาหญิงทำแท้ง ย้อนดูความหวังสังคมไทย จะก้าวเดินต่อไปอย่างไร เพื่อลดอัตราการตายของสตรีจากหมอเถื่อน รวมไปถึงข้อเรียกร้องเพื่อสร้างความเท่าเทียมทางเพศ
ประเด็นเรื่องการทำแท้งยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ในสังคมไทยมาระยะใหญ่ๆ ทุกครั้งที่มีการหยิบยกประเด็นนี้แน่นอนว่ามีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หนึ่งในเหตุผลที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมักยกขึ้นมาเสมอๆ นั่นคือ ศีลธรรมความดี ความถูกต้อง ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนพยายามชูประเด็นความเท่าเทียม รวมไปถึงสิทธิในการดูแลตัวเองและการช่วยเหลือ
ในงานเสวนา “ผู้หญิงไม่ใช่อาชญากร ทำแท้งปลอดภัยต้องถูกกฎหมาย” เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีกลุ่มทำทาง มูลนิธิมานุษยะ สถานทูตอังกฤษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และเครือข่ายทางเลือกเพื่อผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ร่วมถกกันว่า ทางออกของเรื่องนี้ควรไปในทางใด
กรณีศึกษากฎหมายทำแท้ง จากอังกฤษและเนปาล : “ประเทศอังกฤษ ได้มีการยกเลิกการลงโทษทางอาญาสำหรับผู้ที่ทำแท้ง เดิมกฎหมายทำแท้งมีขึ้นในปี 1967 โดยใช้แพทย์ 2 คนพิจารณาการทำแท้ง รวมทั้งผู้หญิงที่ทำแท้งต้องแสดงหลักฐานว่า สภาพร่างกายหรือจิตใจไม่พร้อมมีบุตร โดยบริการทำแท้งสามารถเข้าถึงได้โดยสำนักงานให้บริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS)” Kaitlyn Mccoy ตัวแทนกลุ่มทำทาง กล่าวถึงกรณีศึกษาเรื่องกฎหมายทำแท้งของอังกฤษ
เธอบอกว่า หลังจากยกเลิกการลงโทษทางอาญาทำให้มีปริมาณผู้เสียชีวิตจากการทำแท้งลดลง เนื่องจากผู้เสียชีวิตจากการทำแท้งไม่ปลอดภัยลดลง แต่ปัญหาสำคัญในอังกฤษที่ทำให้มีการยกเลิกความผิดทางอาญานอกจากการเสียชีวิตจากการทำแท้งไม่ปลอดภัยปีละ 30 – 50 คนต่อปีแล้ว ประเทศอังกฤษยังมีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสูงที่สุดในทวีปยุโรปซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรทำให้แม่ที่ตั้งครรภ์ต้องออกจากโรงเรียน ไม่สามารถเรียนต่อได้ ประสบปัญหาด้านคุณภาพชีวิต ต้องรอรับความช่วยเหลือจากรัฐ
เมื่อมีการแก้ไขกฎหมายกำหนดพระราชบัญญัติด้านการทำแท้งก็ไม่มีปัญหาเรื่องต่อต้านหรือการประท้วง เพราะจากการศึกษาเมื่อปี 2017 พบว่า 94% ของประชากรเห็นด้วยว่าผู้หญิงสามารถทำแท้งได้ถ้าชีวิตตกอยู่ในอันตราย อีกส่วนหนึ่งเห็นว่าผู้หญิงที่ไม่สามารถที่จะเป็นแม่หรือไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ก็สามารถทำแท้งได้
บริการทำแท้งของอังกฤษเป็นบริการทำแท้งฟรีและเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันสุขภาพพื้นฐานของอังกฤษ
นอกจากนั้นยังมีเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเรื่องการทำแท้งที่ปลอดภัย มีการระบุสถานที่ที่รับบริการ ส่วนผู้หญิงที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่สามารถตัดสินใจ สามารถรับบริการรับคำปรึกษาจากผู้ให้บริการได้ รวมทั้งมีการระบุความเสี่ยงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการในการทำแท้ง
Kaitlyn กล่าวเสริมว่า นอกจากแก้ไขปัญหาเรื่องการทำแท้งแล้ว ในประเทศอังกฤษยังมีการปรับเปลี่ยนระบบการสอนเพศศึกษาโดยเน้นการให้การศึกษาแบบองค์รวม ทั้งเรื่องการคุมกำเนิด การป้องกันการตั้งครรภ์ การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนั้นในพื้นที่ที่ยังมีประชากรที่ไม่ใช้อินเตอร์เน็ตก็มีการประชาสัมพันธ์ผ่านโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์
“ขณะนี้ประเทศอังกฤษกำลังมีความพยายามที่จะแก้ไขกฎหมายเพื่อที่จะลดภาระของผู้หญิงในการที่จะต้องแสดงข้อมูลทางด้านสุขภาพว่าตนเองมีสภาพร่างกายหรือสภาพจิตใจที่ไม่พร้อมต่อการมีบุตร เพราะว่าหลายคนใช้วิธีการให้ข้อมูลเท็จต่อแพทย์เพื่อที่จะใช้บริการการทำแท้ง โดยจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะยอมรับสิทธิของผู้หญิงในการตัดสินใจในเนื้อตัวร่างกายของตัวเองมากขึ้น” เธอกล่าว
ขณะที่ของประเทศเนปาล ที่ได้มีการเปิดให้ทำแท้งอย่างถูกกฎหมายตั้งแต่ปี 2002 ซึ่งต่างจากกรณีของประเทศอังกฤษเนื่องจากการทำแท้งเป็นทางเลือกของผู้หญิงทุกคนโดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่า ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์มีสุขภาพกายหรือจิตใจที่ไม่พร้อมต่อการมีบุตร โดยการทำแท้งเสียค่าใช้จ่าย 500 บาทไทย ถ้าไม่มีเงินสามารถรับบริการฟรีได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง
Kaitlyn เผยว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแก้ไขกฎหมายด้านการทำแท้งของประเทศเนปาลคืออัตราการเสียชีวิตของแม่ในประเทศเนปาลสูงที่สุดในโลก พบว่า 50% ของการเสียชีวิตมาจากการทำแท้งผิดกฎหมาย หลังจากที่เปิดโอกาสให้มีการดำเนินการทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายพบว่า อัตราการเสียชีวิตของมารดาลดลง 50% จาก 548รายต่อปี เหลือเพียงส 200 กว่ารายภายในปีแรกที่มีการแก้ไขกฎหมายการทำแท้ง
หลังจากแก้ไขกฎหมาย ไม่พบว่า มีการต่อต้านหรือการประท้วงจากประชาชนในสังคม เนื่องจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิผู้หญิงในประเทศเนปาลได้มีการรณรงค์ให้ความรู้ว่า มีผู้หญิงที่เสียชีวิตจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยเป็นจำนวนเท่าไหร่ต่อปี การใช้หลักการนี้ทำให้ไม่มีการประท้วงหรือการโจมตีรัฐบาลจากการเปลี่ยนนโยบายการทำแท้ง เนื่องจากสังคมเห็นว่า...
เสียงผู้หญิงอยู่ตรงไหน? กับการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย
ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จในการวางแผนครอบครัวและอนามัยการเจริญพันธุ์ มีเทคโนโลยีเพื่อยุติการตั้งครรภ์พัฒนาก้าวหน้ามากขึ้น มีเครื่องมือ ตัวยาใหม่ๆ ที่ใช้ง่าย ปลอดภัย ราคาถูก และมีประสิทธิภาพสูง แต่ข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์การทำแท้งในประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงท้องไม่พร้อมยังคงเข้าไม่ถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัย และอันตรายจากการทำแท้งที่ไม่ได้มาตรฐานนับเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับต้นๆ มีผู้หญิงที่ป่วยด้วยภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งผิดกฎหมายเข้ารักษาตัวตามสถานพยาบาลของรัฐทั่วประเทศหลายหมื่นคนต่อปี
สังคมไทยควรมีมุมมองต่อผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมในเชิงเข้าใจมากกว่าการประณาม เพราะทำให้ผู้หญิงต้องเผชิญปัญหาอย่างหลบซ่อน ขาดข้อมูลและเข้าไม่ถึงบริการ จึงนำไปสู่การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง ทำให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ทำแท้งสูง
ร่างกายผู้หญิงเป็นพื้นที่ต่อสู้รองรับอุดมการณ์หลายอย่าง ทั้งอุดมการณ์เรื่องเพศ การมีเพศสัมพันธ์ในวัยอันควร ในการแต่งงาน ชาย-หญิง อุดมการณ์นิยมให้ชายเป็นใหญ่ ยอมรับอิทธิพลผู้ชายในการกำหนดชีวิตทางสังคม อุดมการณ์ครอบครัวสมบูรณ์...
สายด่วน 1663 ปรึกษาปัญหาท้องไม่พร้อม
ประเทศไทยมีปัญหาท้องไม่พร้อมมากเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และจากสถานการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน ส่วนหนึ่งมาจากการที่กลัวว่าครอบครัว ผู้ปกครองจะรับไม่ได้ ทำให้เยาวชนหาทางออกด้วยการทำแท้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างรุนแรง กลไกการให้คำปรึกษาปัญหาผ่านสายด่วน 1663 จึงเกิดขึ้น โดยหวังให้เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
คำแนะนำเบื้องต้นที่เจ้าหน้าที่สายด่วน 1663 ให้กับเยาวชนหญิงอายุ 16 ปี คนหนึ่งที่ตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน และไม่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ แม้ว่าผู้ปกครองจะไม่เห็นด้วยก็ตาม สาเหตุเธอต้องเผชิญปัญหาท้องไม่พร้อมเพียงลำพัง เพราะกลัวทางบ้านรับไม่ได้ กระทบการเรียน...
1663 เผยพบหญิงท้องไม่พร้อมถูกปฏิเสธการยุติตั้งครรภ์ แม้กฎหมายให้ทำได้
สายด่วนท้องไม่พร้อม 1663 เผยพบหญิงท้องไม่พร้อมไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ภายใต้กฎหมายได้ แนะสถานบริการสุขภาพทุกแห่งต้องมีบริการยุติการตั้งครรภ์ เพื่อลดอันตรายให้กับผู้หญิง
8 ส.ค.2561 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663 แถลงข่าว “หญิงท้องไม่พร้อมถูกปฏิเสธยุติการตั้งครรภ์ แม้อยู่ภายใต้เงื่อนไขกฎหมายที่ทำได้” ผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์แฟนเพจ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม
นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า จากการให้บริการปรึกษาของสายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663 ในรอบปีที่ผ่านมา (1 ส.ค.60 - 31 ก.ค.61) พบว่ามีผู้รับบริการ 28 รายที่อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ภายใต้ข้อกฎหมายและเกณฑ์ทางการแพทย์แต่กลับถูกปฏิเสธให้บริการ เช่น กรณีตัวอ่อนในครรภ์พิการ การตั้งครรภ์นั้นส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตของหญิงตั้งครรภ์ ผู้รับบริการที่อายุต่ำกว่า 15 ปี รวมถึงการตั้งครรภ์นั้นเกิดจากการถูกละเมิด ซึ่งการถูกปฏิเสธบริการยุติการตั้งครรภ์ส่งผลให้ผู้หญิงเหล่านี้ไปหาแหล่งบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความปลอดภัย บางรายสั่งยาจากเว็บไซต์เพื่อยุติการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ...
เข้าไม่ถึงบริการ ‘ทำแท้งปลอดภัย’ ราคาที่ ‘พวกเธอ’ ต้องจ่ายด้วยชีวิต
ข้อมูลจาก 1663 พบว่า ปี 2559 มีผู้เสียชีวิตจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย 11 ราย และรัฐมีค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย 112 ล้านบาท ทำไมผู้หญิงเหล่านี้ต้องมีต้นทุนสูงขนาดนี้กับการตัดสินใจเลือกต่อร่างกายของตนเอง การเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยของผู้หญิงยังเต็มไปด้วยอุปสรรค โดยเฉพาะอุปสรรคจากทัศนคติของบุคลากรสาธารณสุข ทำให้ในปี 2559 มีผู้เสียชีวิตจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย 11 ราย และรัฐมีค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย 112 ล้านบาท การเข้าไม่ถึงบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยทำให้ผู้หญิงและคนรอบข้างต้องแบกรับต้นทุนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายหรือความรู้สึก...
ภาคประชาชนชงรัฐให้สิทธิหญิงยุติตั้งครรภ์ไม่พร้อมตามกฎหมาย
เครือข่ายภาคประชาชน เผยพบสายตรงขอรับคำปรึกษา 52,370 ราย ชี้รัฐควรหยุดทัศนคติด้านลบ ปฏิบัติตามสิทธิภายใต้กฎหมาย ป้องกันการหาทางออกด้วยตนเอง หวั่นบาดเจ็บและเสียชีวิต
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า จากการให้บริการปรึกษาของสายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663 ในรอบปีที่ผ่านมา (1 ส.ค. 2560 - 31 ก.ค. 2561) พบว่ามีผู้รับบริการ 28 ราย...
ประชาสังคม เรียกร้องแก้ม. 301 เปิดช่องทำแท้งได้ถูกกฎหมาย สร้างความเท่าเทียม
ประชาสังคม เรียกร้องแก้มาตรา 301 ในรัฐธรรมนูญเปิดทางให้ผู้หญิงสามารถทำแท้งได้ถูกกฎหมายสร้างความเท่าเทียมทางเพศ ด้านแพทย์เผยทำแท้งเถื่อนหนึ่งสาเหตุคร่าชีวิตสาวไทย ขณะที่ตัวแทนกฤษฎีกาเผยอยู่ในช่วงพิจารณา
เมื่อวันที่ 26 มี.ค.61 กลุ่มทำทาง มูลนิธิมานุษยะ สถานทูตอังกฤษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และเครือข่ายทางเลือกเพื่อผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม จัดงานเสวนา “ผู้หญิงไม่ใช่อาชญากร ทำแท้งปลอดภัยต้องถูกกฎหมาย” ณ ห้องประชุม ประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
น.ส.สุพีชา เบาทิพย์ ตัวแทนกลุ่มทำทาง กล่าวว่า กลุ่มทำทางเป็นองค์กรที่ทำงานเรื่องการให้คำปรึกษาผู้หญิงเพื่อยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย แต่พอเราให้คำปรึกษาไปเรื่อยๆกลับพบว่า องค์กรเราเป็นแค่ปลายทาง ผู้หญิงสามารถจะเข้าสู่กระบวนการที่ไม่ปลอดภัยอย่างรุนแรงมากเพราะมีข้อจำกัดในแง่ของกฎหมาย ทัศนคติของสังคมดังนั้นเราคิดว่าเรื่องทัศนคติและเรื่องกฎหมายเป็นสองเรื่องที่สำคัญ
น.ส.สุพีชา กล่าวถึงการเรียกร้องให้แก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 คือ หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ซึ่งกฎหมายมาตรา 301 เป็นกฎหมายเดียวในรัฐธรรมนูญที่มีความไม่เท่าเทียมทางเพศ คือเอาผิดกับเพศหญิงเพียงเท่านั้น
ด้านน.พ.นิธิวัชร์ แสงเรือง แพทย์จากเครือข่ายอาสา RSA (Referral system for Safe Abortion) กล่าวว่า สิ่งที่ขัดขวางการเข้าถึงบริการของผู้หญิงมีอยู่ 3 หลักใหญ่ๆ คือ 1)สังคมรวมทั้งศาสนา 2)กฎหมาย 3)ระบบบริการสุขภาพ ทัศนคติของผู้ให้บริการ นโยบายของประเทศไทยด้านสาธารณสุขค่อนข้างที่จะยอมรับเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์พอสมควร เพียงแต่ทัศนคติและความรู้ของผู้ให้บริการอาจจะเป็นเรื่องที่ต้องคุยต่อไป “สาเหตุที่ผู้หญิงเสียชีวิตบนโลกนี้ สาเหตุหลักๆ คือ ตกเลือดหลังคลอด ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อ และการทำแท้ง”
น.พ.นิธิวัชร์ กล่าวว่า สิทธิประกันสังคมเป็นหน่วยงานแรกที่ออกมาขยับในเรื่องผู้หญิงมีปัญหาที่ต้องการจะยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย โดยประกันสังคมให้สิทธิตั้งแต่ปี 2555 มีประกาศจากสำนักงานประกันสังคม และตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้ผู้หญิงทุกคนที่เป็นคนไทยสามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลรัฐทุกแห่งที่มีการบริการยุติการตั้งครรภ์
ด้านตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งจะพิจารณากฎหมายในทุกเรื่อง ประเด็นของการแก้ไขกฎหมายข้อยกเว้นที่ให้ทำแท้งได้โดยไม่ผิดกฎหมายเป็นอีกประเด็นที่อยู่กระบวนการการพิจารณาอยู่ ในส่วนของการแก้ไขกฎหมายจะมีการขยายข้อยกเว้นให้ครอบคลุมกรณีที่สุขภาพของหญิงที่ตั้งครรภ์ทั้งทางกายและจิตใจ สุขภาพทารกในครรภ์ ถ้าตรวจพบตั้งแต่ในครรภ์ว่าคลอดออกมาแล้วจะไม่สมบูรณ์ก็จะเปิดเป็นข้อยกเว้นไม่ให้มีความผิด และอาจจะกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อความปลอดภัยทั้งเรื่องสถานที่ การให้ความเห็นของแพทย์ และอายุครรภ์
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ปัจจุบันทางกลุ่มทำทางได้มีการรรณรงค์ผ่าน เว็บไซต์ https://www.change.org เพื่อระดมรายชื่อในการขอให้มีการยกเลิก 301 เพื่อปกป้องชีวิต และสิทธิของผู้หญิง โดยระบุว่า ผู้หญิงที่ทำแท้ง ไม่ใช่อาชญากร แต่การทำแท้งเป็นเรื่องของสุขภาพ
ที่มา...