โตแล้วไปไหน … หรือไม่ได้ไปไหน !?
มีคำถามคำถามหนึ่งที่นานๆ ทีจะมีคนนึกได้แล้วถามขึ้นมา คือ มีไหม เด็กที่แม่ยกมอบให้มูลนิธิแล้ว แต่เราหาครอบครัวบุญธรรมให้ไม่ได้ ตกค้างเพราะปัญหาเอกสาร การไม่ยินยอม (สักที) มีปัญหาสุขภาพหนักๆ หรือมีปัญหาอะไรก็ตามที่ทำให้ไปไหนไม่ได้และตกค้างอยู่จนโต และเริ่มแน่ใจว่า ต้องเตรียมตัวเด็กให้เติบโตอยู่ที่เมืองไทยแบบพึ่งพาตนเองได้มีค่ะ มีแน่นอน แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น เราจะต้องทำงานกับเด็กโตกลุ่มนี้อย่างเข้มข้น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เขาพึ่งพาตัวเองได้...
คนเราเติบโตขึ้นทุกวัน ก็เรียนรู้มากขึ้นทุกวัน และแข็งแรงมากขึ้นทุกวันด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะหมดห่วงได้ง่ายๆ เด็กเหล่านี้เติบโตในครอบครัวอุปถัมภ์ มีพ่อแม่พี่น้องญาติโยมให้การดูแล ให้ความรักความอบอุ่นเต็มที่ แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง...
Abortion Provider Appreciation Day 10 มีนาคมของทุกปี
Abortion Provider Appreciation Day 10 มีนาคมของทุกปี วันยกย่องบุคลากรผู้ให้บริการเพื่อให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา วันที่ 10 มีนาคมของทุกปี ถือเป็นวัน Abortion Provider Appreciation Day หรือ วันยกย่องบุคลากรผู้ให้บริการ ทั้งแพทย์ พยาบาล นักสังคม นักจิตวิทยา ผู้ให้การปรึกษา...
ศาล รธน. รับเรื่องร้องเรียนกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง กรณีแรกที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน #BalanceforBetter
วันสตรีสากล ปี 2562 เครือข่ายอาสา RSA และ เครือข่ายท้องไม่พร้อม ร่วมกันเรียกร้องให้มี #BalanceforBetter โดยขอให้มีความเท่าเทียมกันในมิติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย เพราะการตั้งครรภ์นั้น ไม่ได้เกิดจากผู้หญิงฝ่ายเดียว ต้องมีผู้ชายมีส่วนร่วมด้วยทุกครั้ง วันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับเรื่องร้องเรียนความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง โดยคำร้องได้ให้เหตุผลว่า บทบัญญัติมาตรา 301 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560...
กฎหมายอาญามาตรา 301 กฎหมายที่ไม่ยุติธรรมและไม่เป็นธรรมกับผู้หญิง
กฎหมายอาญามาตรา 301 "หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" เป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมและไม่เป็นธรรมกับผู้หญิงเลย เพราะว่า กฎหมายนี้ เอาผิดกับผู้หญิงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่การท้องได้ต้องเกิดจากผู้หญิงและชายร่วมกัน กฎหมายนี้ ส่งผลให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมต้องหลบซ่อนไม่กล้าปรึกษาขอความช่วยเหลือ แล้วอาจไปลงเอยที่การทำแท้งเถื่อน กฎหมายนี้ ซ้ำเติมผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์ ช่วงที่ชีวิตเปราะบางและอ่อนแอที่สุดให้เลวร้ายลงไปอีก
เรื่องจริงของความไม่ยุติธรรมนั้น คลิกอ่านได้ที่นี่ เรื่องของดา : https://rsathai.org/contents/13887เรื่องของพร : https://rsathai.org/contents/13838เรื่องของหนู : https://rsathai.org/contents/13912ขอบคุณเรื่องจากชีวิตจริงที่ทำให้สังคมออนไลน์ตื่นขึ้นจากความไม่เท่าเทียม
ความเป็นธรรมของกฎหมายอยู่ที่ไหน ?
การทำแท้งในประเทศไทยเป็นหนึ่งในบริการสุขภาพที่อยู่ภายใต้กฎหมายอาญา ในขณะที่ 74 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งจีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป การทำแท้งในประเทศไทยอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 - 305 อธิบายโดยย่อให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ได้ดังต่อไปนี้
มาตรา 301 ผู้หญิงทำให้ตัวเองหรือให้คนอื่นทำให้แท้ง จะติดคุกถึงสามปี และ/หรือปรับถึงหกหมื่นบาท มาตรา 302 ใครไปทำให้แท้งโดยผู้หญิงยินยอม...
ทำไมต้องแก้กฎหมายเกี่ยวกับทำแท้ง ?
มาทำความเข้าใจกันก่อนนะ คือในโลกนี้มี 74 ประเทศที่การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป จึงไม่ต้องมีกฎหมายใดๆ มารองรับ ส่วนใหญ่คือประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่น่าสนใจคือ จีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา ก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ส่วนไทยไม่ใช่หนึ่งในนั้นแน่นอน
เดิมบ้านเราก็ไม่มีกฎหมายทำแท้งนะ ผู้หญิงไทยแต่โบราณทำแท้งได้โดยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานโดยไม่เกี่ยวข้องกับรัฐ ประมาณว่า การตัดสินใจว่าจะท้องต่อหรือไม่ท้องต่อนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่พอประเทศเรามาเริ่มพัฒนากฎหมายเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน ก็เลยเขียนกฎหมายนี้ตามประเทศเยอรมัน ให้การทำแท้งผิดกฎหมายอาญาทุกกรณี...
สิทธิที่จะเลือกเมื่อท้องไม่พร้อมคืออะไรได้บ้าง
ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมทุกคน มีสิทธิจะได้รับบริการดูแลทั้งทางด้านสุขภาพกายและใจ และในแต่ละคนอาจไม่จำเป็นต้องเลือกเหมือนกัน โดยเราเคารพการตัดสินใจนั้นแบบไม่ตีตรา และหวังว่าทางเลือกนั้น จะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย
ทางเลือกต่อทางออกของปัญหาท้องไม่พร้อม มีสองแนวทางหลัก คือ ตั้งครรภ์ต่อ และ ไม่ตั้งครรภ์ต่อ หรือ การยุติการตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ต่อ ให้คำนึงถึงวิธีการจัดการผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ทั้งทางอารมณ์และการแสดงออก เช่น ความวิตกกังวล อับอาย เสียใจ การประชด การตัดสินใจชั่ววูบ ผลกระทบทางสังคม เช่น ไม่มีที่อยู่ ไม่มีงานทำ...
ทางออกของท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น.. ไม่ใช่การแต่งงาน !!
การมีความสัมพันธ์ทางเพศและตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นเรื่องที่ผู้ชายมีความผิดทางกฎหมายอาญา ดังนั้น จำเป็นต้องมีการแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เพื่อให้ตำรวจดำเนินคดีทางกฎหมาย (หากฝ่ายชายอายุต่ำกว่า 18 ปี จะถูกดำเนินคดีในสถานพินิจเด็กและเยาวชน) กรณีนี้ที่พบมากคือ ครอบครัวของฝ่ายชายมักขอหมั้นหมาย หรือบังคับแต่งงานเพื่อให้จบเรื่องทางคดี
การให้ลูกสาวที่ตั้งครรภ์แต่งงานในลักษณะนี้อาจทำให้พ่อแม่รู้สึกว่ามีทางออกของตนเองในลักษณะไม่เสียหน้า แต่ทางออกนั้นอาจทำให้ลูกสาวต้องเสียใจ และเสียอนาคตไปตลอดชีวิตเพราะการแต่งงานในอายุที่น้อยและไม่พร้อมนี้ในระยะต่อมา...ทางฝ่ายชายมีแนวโน้มที่จะไม่รับผิดชอบใดๆ ในที่สุด... แต่ก็มีพ่อแม่ผู้หญิงจำนวนมากที่ใช้ช่องทางกฎหมายนี้ เรียกร้องค่าเสียหายจากครอบครัวของฝ่ายชาย การทำเช่นนี้ทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ได้รักลูกเห็นแก่ได้เห็นลูกเป็นสิ่งของที่จะนำมาซึ่งเงินทองซึ่งกลับไปซ้ำเติมความรู้สึกของลูกที่กำลังประสบปัญหา
ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองต้องถามความคิดเห็นของลูก ต้องไม่บังคับแต่งงาน ไม่เห็นแก่ได้...
การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา Medabon (ยาทำแท้ง) ในประเทศไทย
ปี 2555 ประเทศไทยได้นำยายุติการตั้งครรภ์ หรือ Medabon ซึ่งมีตัวยยามิฟิพริสโตน (หรือที่รู้จักในชื่อการค้า RU486) และ ไมโซโพรสตอล (ไซโตเทค) บรรจุในแผงเดียวกัน เพื่อใช้ในโครงการศึกษาวิจัยนำร่อง ผลการวิจัยพบว่า ยา Medabon มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการยุติตั้งครรภ์มากกว่าร้อยละ 95
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ขึ้นทะเบียนยาตัวนี้ และบรรจุยาไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อใช้ในทางการแพทย์ และเป็นยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น มีให้บริการเฉพาะที่สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนสมัครรับยาจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อยาทำแท้งได้จากร้านยา...
ความสำเร็จในการเดินทางของยายุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) จากใต้ดินสู่ระบบบริการสุขภาพ
2541 แพทย์และนักวิชาการทั่วโลกมีการปรึกษาหารือเรื่องยายุติการตั้งครรภ์เพื่อลดการตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย
2547 องค์การอนามัยโลก ศึกษาวิจัยระดับโลก ผลยืนยันว่ายาปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ และบรรจุในบัญชียาหลักของโลก
2548 เริ่มศึกษายาครั้งแรกในประเทศไทย แต่การที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ การทำแท้งเป็นเรื่องบาป เชื่อว่าผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่ดี เด็กวัยรุ่นสำส่อน อีกทั้งกฎหมายคลุมเครือ สังคมเชื่อว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี มายาคติเหล่านี้ส่งผลให้มียาทำแท้งเถื่อนคุณภาพต่ำเกลื่อน ราคาแพง หาซื้อได้ทางออนไลน์ แต่กลับไม่มีบริการในระบบสุขภาพ
2554 เริ่มความพยามอีกครั้ง เพื่อให้ประเทศไทยมียาที่มีประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ขับเคลื่อน เริ่มจากการศึกษาวิจัยการใช้ยาในระบบบริการ ไปพร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจต่อคนในสังคม...