ความสำเร็จในการเดินทางของยายุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) จากใต้ดินสู่ระบบบริการสุขภาพ
2541 แพทย์และนักวิชาการทั่วโลกมีการปรึกษาหารือเรื่องยายุติการตั้งครรภ์เพื่อลดการตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย
2547 องค์การอนามัยโลก ศึกษาวิจัยระดับโลก ผลยืนยันว่ายาปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ และบรรจุในบัญชียาหลักของโลก
2548 เริ่มศึกษายาครั้งแรกในประเทศไทย แต่การที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ การทำแท้งเป็นเรื่องบาป เชื่อว่าผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่ดี เด็กวัยรุ่นสำส่อน อีกทั้งกฎหมายคลุมเครือ สังคมเชื่อว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี มายาคติเหล่านี้ส่งผลให้มียาทำแท้งเถื่อนคุณภาพต่ำเกลื่อน ราคาแพง หาซื้อได้ทางออนไลน์ แต่กลับไม่มีบริการในระบบสุขภาพ
2554 เริ่มความพยามอีกครั้ง เพื่อให้ประเทศไทยมียาที่มีประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ขับเคลื่อน เริ่มจากการศึกษาวิจัยการใช้ยาในระบบบริการ ไปพร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจต่อคนในสังคม...
ข่าวดี !! ลูกจ้างในโรงงานได้รับสิทธิด้านการตั้งครรภ์
กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2561 เพื่อสนับสนุนให้ลูกจ้างวัยรุ่น (อายุ 15-20 ปีบริบูรณ์) ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การฝากครรภ์ และการทำแท้งที่ปลอดภัย ทั้งนี้ สถานประกอบกิจการจะต้องจัดระบบส่งต่อให้วัยรุ่นที่ตั้งท้องได้รับสวัสดิการทางสังคม และบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมต่อไป ผู้สื่อข่าวสังเกตว่าลูกจ้างและนายจ้างรับรู้กฎกระทรวงนี้ค่อนข้างน้อย และไม่มีบทลงโทษกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างวัยรุ่นเข้าไม่ถึงสิทธิที่จำเป็น
รายงานจากการประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น...
สำนักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ย้ำ “วัยรุ่นท้อง ต้องได้เรียนต่อ”
สพฐ. ย้ำ “วัยรุ่นท้อง ต้องได้เรียนต่อ” หลักการของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คือ เมื่อนักเรียนตั้งครรภ์-เด็กต้องได้เรียนต่อ ด้วยการปรึกษากับครอบครัว ร่วมกันจัดการเงียบๆ อย่างเหมาะสม เมื่อคลอดแล้วกลับมาเรียน ประคับประคองให้สามารถเลี้ยงดูได้อย่างดี ต้องไม่ทิ้งเด็ก ช่วยให้เด็กก้าวผ่านวิกฤตและได้ประโยชน์สูงสุด
หากสำนักงานพื้นที่การศึกษาเขตจัดการไม่ได้ ขอให้ประสานระดับเขต โดยทางโรงเรียนอาจช่วยเด็กและครอบครัวประสานสำนักงานพัฒนาสังคมฯ จังหวัด กรณีไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ด้วยตนเอง เพื่อขอความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ที่จำเป็น
นอกจากการช่วยเหลือแล้ว ยังร่วมกันกับทุกฝ่าย พัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเรื่องเพศเพื่อส่งเสริมการป้องกัน ร่วมกับ...
กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำพ.ร.บ. ตั้งครรภ์วัยรุ่นสู่การปฏิบัติ อย่างไร ?
นำทีมโดย นายพีระ รัตนวิจิตร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หลังจากการบังคับใช้กฎหมายจาก พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติ เด็กในระบบการศึกษา มีส่วนเกี่ยวข้องครอบคลุมทุกระบบการศึกษา
จากระบบข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า เด็กขาดการดูแลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปฐมวัย ในแต่ละปีมีเด็กเกิด 600,000 - 700,000 คน โดยเกิดจากแม่วัยใส 100,000 คน ซึ่งคุณแม่วัยใสขาดทั้งไอโอดีน ธาตุเหล็ก ส่งผลกระทบถึงเด็กปฐมวัย คิดว่า...
การแก้กฎหมายทำแท้งให้เป็นธรรมไปถึงไหน
เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมในฐานะตัวแทนของผู้หญิง และเครือข่ายอาสา RSA ในฐานะตัวแทนของผู้ให้บริการทางสุขภาพ เห็นว่ามาตรา 301 และ 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ จึงได้ดำเนินการต่อไปนี้
1) ใช้สิทธิตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ส่งเรื่องร้องเรียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561 ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาดำเนินการส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ
2) สำนักผู้ตรวจการแผ่นดินมีจดหมายแจ้งกลับเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2561...
ทำอย่างไร หากไม่เลี้ยงดูเองแต่ต้องการยกให้ผู้อื่นเลี้ยงดูถาวร
กรณีนี้เป็นการยกสิทธิการเลี้ยงดูบุตรให้ผู้อื่น หรือหน่วยงานอื่น เป็นผู้เลี้ยงดูและมีสิทธิในตัวเด็กแทนมารดา โดยมีข้อกฎหมายผูกพันรองรับ ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกรณีคือ
1. ส่งเข้าสถานสงเคราะห์ถาวร เด็กจะได้รับการดูแลในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน จนกระทั่งมีผู้มาขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรณีนี้หลังจากยกเด็กให้แล้ว ไม่สามารถขอเด็กคืนกลับมาเลี้ยงดูเองได้เช่นเดียวกับการฝากเลี้ยงชั่วคราว
2. ยกบุตรให้ผู้ต้องการอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งต้องทำตามขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรม การไม่ผ่านขั้นตอนที่ถูกต้องเด็กอาจถูกนำไปขายต่อในขบวนการค้ามนุษย์ได้ ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ในการเตรียมเอกสารเพื่อประโยชน์และความปลอดภัยของเด็กในระยะยาว เพราะแม้เราจะไม่สามารถเลี้ยงดูเองได้ ก็ขอให้ส่งเด็กไปในที่ที่ดีและปลอดภัย
9 ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้หากเลือกยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าตัวเองยังไม่มีความพร้อมที่จะตั้งครรภ์ต่อไปได้ เพื่อให้ปลอดภัยกับผู้หญิงมากที่สุด ควรเลือกยุติเมื่อตั้งท้องไม่เกิน 12 สัปดาห์ เพราะสามารถทำได้ที่คลินิก หากเกินกว่านั้นต้องรับบริการที่โรงพยาบาล และสามารถยุติได้จนถึงอายุครรภ์ที่ 24 สัปดาห์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถช่วยให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัย ที่สำคัญการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา หรือเครื่องดูดสุญญากาศ จะต้องให้บริการโดยแพทย์
9 ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้หากเลือกยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
ข้อมูลที่ 1 การยุติการตั้งครรภ์มีความปลอดภัยมีผลข้างเคียง และเสี่ยงต่อชีวิตน้อยกว่าการคลอดบุตร แต่ความเสี่ยงจะมากหากไปทำแท้งไม่ปลอดภัย เช่น การซื้อยาทางอินเทอร์เน็ต การรับบริการกับผู้ให้บริการไม่ใช่แพทย์ด้วยวิธีการที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น
ข้อมูลที่ 2 การยุติการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ยิ่งน้อย...
Live “การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน (Medabon) และกระบอกดูดสุญญากาศ (Manual Vacuum Aspiration: MVA)” โดย ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Facebook Live "การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน (Medabon®) และกระบอกดูดสุญญากาศ (Manual Vacuum Aspiration: MVA)" โดย ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
https://www.youtube.com/watch?v=A1QwTNhYJLc
โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม กำหนดจัดประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 21 – 22 มกราคม 2562 ณ โรงแรมหรรษา เจบี...
ทำอย่างไร เมื่อไม่พร้อมที่จะเลี้ยงดูเด็กหลังคลอด
สามารถขอคำปรึกษาหรือติดต่อหน่วยงานรองรับ โดยขอปรึกษาศูนย์พึ่งได้ หรือฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ของโรงพยาบาลที่เราฝากท้องคลอด บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ ปรึกษาหน่วยงานเอกชนที่ทำงานในด้านนี้
ส่งเด็กเข้าสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน ด้วยการฝากเลี้ยงชั่วคราวในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยในระหว่างนี้ สามารถไปเยี่ยมเด็กได้จนกระทั่งมีความพร้อมแล้วจึงรับเด็กมาเลี้ยงดูเองข้อจำกัด สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนมีบริการในบางจังหวัด มีสัดส่วนพี่เลี้ยงต่อจำนวนเด็กมาก การดูแลไม่ทั่วถึงการส่งเด็กไปอยู่ในครอบครัวอุปถัมภ์ชั่วคราว ด้วยการฝากเลี้ยงในวันธรรมดา เพื่อให้มารดาได้ทำงานหรือเรียนหนังสือ และรับเด็กมาเลี้ยงเองในวันหยุด โดยสามารถรับเด็กมาเลี้ยงดูเองได้เมื่อมีความพร้อมข้อจำกัด มีบริการที่หน่วยบริการของเอกชน เช่น สหทัยมูลนิธิ ครอบครัวอุปถัมภ์มีจำกัดอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ
เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากเดิม 400 บาท เป็น 600 บาท เริ่มจ่ายวันที่ 31 ม.ค. 62 เป็นต้นไป
สำนักงานประกันสังคมเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากเดิม 400 บาท เป็น 600 บาท ให้แก่ผู้ประกันตน โดยจะเริ่มจ่ายในวันที่ 31 ม.ค.2562 เป็นต้นไป
เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2562 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง การเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากสำนักงานประกันสังคมจากเดิม 400 บาท เป็น 600 บาท...