คำประกาศสิทธิของผู้หญิงในการเลือก
เราเชื่อว่าผู้หญิงมีอิสระและมีสิทธิที่จะเลือกว่าจะท้องต่อหรือจะสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ผู้หญิงทุกคนควรมีสิทธิที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตในเรื่องการตั้งครรภ์ของเธอตามจิตสำนึกหรือมโนธรรมของเธอเอง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรที่เธอจำเป็นหรือเหตุการณ์ขณะนั้น การตัดสินของสังคมต้องไม่บีบบังคับให้ผู้หญิงต้องตั้งครรภ์ต่อไป
เรารับรู้ว่าการสนับสนุนทางเลือกในตัวเองไม่เพียงพอต่อการเข้าถึงการบริการยุติการตั้งครรภ์เป็นการบูรณาการของระบบบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ และเราเชื่อว่าผู้หญิงจะได้รับสิทธินี้ ผู้หญิงมีความจำเป็นและต้องการจะเข้าถึงทรัพยากรและการบริการ โดยได้รับบริการปรึกษาของแพทย์ พยาบาล หรือมีเพื่อนและครอบครัวที่เธอเลือกจะเกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย การเมือง สังคมเศรษฐกิจจะต้องเอื้อต่อการทำงานให้มีทางเลือกด้านอนามัยการเจริญพันธุ์และข้อตกลงในการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเป็นส่วนของข้อตกลงที่ให้มีทางเลือก
เราขอกล่าวอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับผู้ให้บริการยุติการตั้งครรภ์และรับรู้ถึงคุณค่าทางศีลธรรมที่พวกเขาได้ทำงานในเรื่องนี้ เรารับรู้และเคารพว่าบุคลากรส่วนหนึ่งอาจเลือกที่จะไม่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์" แต่เราเชื่อว่า "มันเป็นเรื่องจำเป็นทางจริยธรรมของแพทย์เหล่านั้นที่จะต้องกระทำเพื่อให้แน่ใจว่าผู้หญิงจะได้รับการส่งต่อไปให้ผู้บริการอื่นที่เต็มใจให้บริการยุติการตั้งครรภ์
เราเชื่อว่า จะมีกรณีจริยธรรมที่ลึกซึ้งในเรื่องอิสระด้านทางเลือกของอนามัยการเจริญพันธุ์ เรามีการตกลงที่จะอธิบายว่าทำไมการทำแท้งมีความจำเป็นและทำไมผู้หญิงมีความสามารถที่จะตัดสินใจและรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง เพราะผู้หญิงเป็นเพียงคนเดียวที่สามารถจะสร้างหรือทำการตัดสินใจสำหรับตนเอง (Reproductive Autonomy)
ที่มา : London Declaration of Pro-choice...
บริการและสวัสดิการช่วยเหลือผู้หญิงท้องไม่พร้อม กรณีท้องต่อในภาครัฐ
“ท้องไม่พร้อม” เป็นภาวะวิกฤตในชีวิตของผู้หญิง และเมื่อต้องท้องต่อ ไม่ว่าจะด้วยเงื่อนไขใดๆ ล้วนแต่เป็นความยากลำบากที่ผู้หญิงต้องเผชิญ ทัศนคติทางสังคมที่มองว่า ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมเป็นผู้ละเมิดกรอบกติกา ค่านิยมในเรื่องเพศ ทำให้การประณาม ตัดสินลงโทษยังคงส่งผ่านสถาบันครอบครัว การศึกษา ที่ทำงาน และสถานบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โอกาสในชีวิตผู้หญิงท้องไม่พร้อมจึงหายไป เช่น ไม่สามารถอยู่ในครอบครัวได้ ขาดโอกาสทางการศึกษา ทางเลือกในการประกอบอาชีพและรายได้ เผชิญกับความรู้สึกไร้คุณค่า ตีตราตนเองและตั้งท้องซ้ำ
การจัดบริการและระบบสวัสดิการ สำหรับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมกรณีท้องต่อ ควรเป็นการจัดระบบบริการ สวัสดิการแบบเสริมพลัง...
ท้องไม่พร้อมคืออะไร ทำไมผู้หญิงจึงท้องไม่พร้อม
ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมส่วนใหญ่มาจากเหตุประกอบกันมากกว่า 1 สาเหตุ จากประสบการณ์การดำเนินงานของเครือข่ายท้องไม่พร้อมพบว่า ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมส่วนใหญ่มักไม่ได้คุมกำเนิด หรือคุมกำเนิดผิดพลาด จำนวนมากก็มักใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ไม่มีประสิทธิภาพ และเมื่อตั้งครรภ์ พบปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก รองลงมาคือไม่สามารถเปิดเผยการตั้งครรภ์ให้ผู้อื่นรับรู้ได้ด้วยเหตุผลต่างๆ และจำนวนมากถูกทอดทิ้งจากฝ่ายชาย รวมทั้งความต้องการศึกษาหรือทำงานต่อ ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลให้ไม่พร้อมในการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ จากการรวบรวมงานศึกษาวิจัยต่างๆ ข้อมูลจากการให้บริการปรึกษาทางเลือกสามารถประมวลตามปัจจัยได้ดังต่อไปนี้
สาเหตุที่ทำให้ท้อง
ไม่ใช้วิธีการใดๆ ในการคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จากประสบการณ์ของสมาชิกเครือข่ายฯ ในการให้การปรึกษาทั้งตั้งต่อตัวและทางโทรศัพท์ พบว่าผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมกว่าร้อยละ 50 ท้องเพราะไม่ได้คุมกำเนิดใช้วิธีการคุมกำเนิดไม่ถูกต้อง เช่น...
ผลการศึกษาทางคลินิกของยาทำแท้งในประเทศไทย ในอายุครรภ์ไม่เกิน 63 วัน พบว่าประสิทธิภาพของยาอยู่ที่ร้อยละ 96.09
ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 โดยสภาประชากร (Population Council) สำนักงานประเทศไทย ร่วมกับ Gynuity Health Project สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มนำยาไมโซพรอสตอล (ไซโตเทค) มาใช้รักษาอาการแท้งไม่ครบในผู้รับบริการที่มีอายุครรภ์ที่ไม่เกิน 63 วัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ทางสภาประชากร ร่วมกับ Gynuity Health Project สหรัฐอเมริกา...
ข้อมูลเบื้องต้นของยายุติตั้งครรภ์ ยาทำแท้ง
องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยาม “การยุติตั้งครรภ์โดยใช้ยา” (Medical Termination of Pregnancy: MTP) ที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง การทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงโดยไม่ต้องใช้วิธีการทางหัตถการอื่นๆ เช่น การใช้เครื่องดูดสุญญากาศ หรือการขูดมดลูก เพื่อทำให้แท้งครบ (complete abortion)
การยุติตั้งครรภ์โดยใช้ยามิฟิพริสโตน (Mifepristone) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม RU486 ร่วมกับ ยาไมโซพรอสตอล (Misoprostol) ในผู้หญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 49...
การขึ้นทะเบียนสถานพยาบาล เพื่อให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา
โรงพยาบาล สถานบริการ ที่ต้องการสมัครรับยา Medabon® ทางสปสช. กำหนดการขึ้นทะเบียนทุก 3 เดือน เพื่อรับยาผ่านระบบ Smart VMI รอบขึ้นทะเบียนต่อไปคือ มกราคม 2564
โรงพยาบาล สถานบริการต่างๆ ที่มีความพร้อมในการให้บริการยุติตั้งครรภ์โดยการใช้ยา สามารถแสดงความจำนงมายังกรมอนามัย โดยกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ตามแบบรายงานที่กรมอนามัยกำหนด
สนใจสมัครรับยา ให้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการกับกรมอนามัย โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มขึ้นทะเบียน MTP-1 และ MTP-2 ได้ที่ http://rh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=safe_abortion
ขั้นตอนการเข้าร่วมขึ้นทะเบียนของสถานพยาบาล เพื่อให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา
สถานพยาบาลต่างๆ...
บริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาท้องไม่พร้อม
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด มีบริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาท้องไม่พร้อม ดังต่อไปนี้
การช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ที่ประสบปัญหาเดือดร้อนที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้
จะต้องได้รับการแก้ไขโดยฉับพลันทันท่วงที เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาทางสังคมด้านอื่นตามมา
เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนให้การสงเคราะห์ พัฒนา และฟื้นฟูให้การช่วยเหลือตนเองได้
แนวทางการช่วยเหลือ
ช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของไม่เกิน 2,000 บาท ต่อครั้งต่อครอบครัว
กรณีช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ เกิน 2,000 บาท ต่อครั้งต่อครอบครัว ให้อยู่ในดุลพินิจผู้ว่าราชการจังหวัด
เอกสารที่ใช้ในการขอรับบริการ
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้าน
...
เครือข่ายอาสาส่งต่อเพื่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
เครือข่ายอาสา RSA คือ เครือข่ายที่ประกอบไปด้วยแพทย์ พยาบาล และสหวิชาชีพ จากภาครัฐและเอกชนรวมตัวกันเพื่อส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ที่ปลอดภัยตามแนวทางวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ด้วยการใช้ยา หรือใช้เครื่องดูดโพรงมดลูก ในข้อบ่งชี้ที่สอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับแพทยสภา โดยมีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนและเอื้ออำนวยการดำเนินงานของเครือข่าย RSA
ในเดือนตุลาคม 2558 เครือข่ายRSA มีแพทย์อาสา 30 คน ด้วยการสนับสนุนทุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการจัดประชุมสร้างเสริมทัศนะคติความเข้าใจ เยี่ยมให้กำลังใจ...
หน่วยบริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในประเทศไทย
เมื่อผู้หญิงประสบปัญหาท้องไม่พร้อมไม่สามารถท้องต่อไปได้ จำเป็นต้องทำให้ทางเลือกยุติตั้งครรภ์เข้าถึงได้และปลอดภัย เพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงต่อการไปสู่บริการที่ไม่ปลอดภัย
มูลนิธิแพธทูเฮลท์ ร่วมกับ เครือข่ายอาสา RSA และ เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ต้องไม่พร้อม แสวงหาหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศไทย และรวบรวมจัดทำข้อมูลอย่างเป็นระบบแบ่งตามจังหวัดและเขตบริการสุขภาพระบุอายุครรภ์และเกณฑ์การให้บริการ พร้อมทั้งข้อมูลการติดต่อประสานงาน โดยทำฐานข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นปัจจุบันทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้สายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 เว็บไซต์ปรึกษาออนไลน์ เช่น www.lovecarestation.com , tamtang.wordpress.com และ หน่วยงานที่ให้บริการปรึกษาต่างๆ ได้ใช้ส่งต่อผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมเข้าถึงบริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย...
การดูแลหลังคลอดและทางเลือกหลังจากคลอดบุตรแล้ว
เป้าหมายของการดูแลหลังคลอด คือ ให้ผู้หญิงมีการเตรียมความพร้อมในการดูแลบุตรในระยะยาวท่ามกลางข้อจำกัด และมีความคิดชัดเจนต่อทางเลือกหลังคลอดว่าจะเลี้ยงดูเอง หรือยกมอบบุตร และการป้องกันการท้องไม่พร้อมในอนาคตด้วยการคุมกำเนิดกึ่งถาวร ส่วนเป้าหมายสำหรับเด็ก คือ เด็กมีสุขภาพดี ได้รับนมแม่ และวัคซีนตามนัด รวมทั้งมีครอบครัวเลี้ยงดูในระยะยาว
ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และตั้งครรภ์ต่อ ภาวะความไม่พร้อมอาจยังมีอย่างต่อเนื่องจนถึงหลังคลอด ดังนั้น ช่วงหลังคลอด จึงควรได้รับการปรึกษาเพื่อให้การตัดสินใจต่อทางเลือกเป็นไปอย่างสอดคล้องเหมาะสมกับชีวิตของผู้หญิงการเสริมพลัง สร้างความเชื่อมั่น และความพร้อมในสิ่งที่ผู้หญิงได้ตัดสินใจเลือกแล้ว
ทางเลือกหลังคลอด มีดังต่อไปนี้
ต้องการเลี้ยงดูบุตรเอง แม้ว่าตัดสินใจเลี้ยงดูบุตรเอง สำหรับบางคนอาจยังไม่พร้อมในช่วงแรก เนื่องจากยังต้องกลับไปทำงาน ไปเรียนต่อ...