ยุติการตั้งครรภ์ 

เมื่อผู้ประสบปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ จำเป็นต้องทำให้ทางเลือกยุติการตั้งครรภ์เข้าถึงได้และปลอดภัยเพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงต่อการไปสู่บริการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย การซื้อยาทำแท้งทางอินเทอเน็ต

Pro-Voice 9 : Thailand Abortion Rights 2022 : Abortion Rights, Health Rights, Human Rights...

0
วันที่ 28 กันยายน ของทุกปี เป็นวันยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยสากล ในปีนี้เครือข่ายที่ทำงานเรื่องการเข้าถึงการทำแท้งปลอดภัยในประเทศไทย ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ ระหว่างวันที่ 20 – 28 กันยายน 2565 ดังต่อไปนี้  อังคารที่ 20 กันยายน เวลา 14.30-16.30 น. :เสวนาออนไลน์ “แก้กฎหมายแล้ว ทำไมหมอหลายคนยังไม่ทำแท้ง” จัดโดย...
doctor with prescription and patient at hospital

การประเมินข้อบ่งชี้การยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย

0
การประเมินข้อบ่งชี้การยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย  ประเทศไทย เกณฑ์ในการยุติตั้งครรภ์นั้น อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 (1) (2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 โดยในมาตรา 305 ประกอบด้วย 2 วรรคที่เกี่ยวข้อง ที่กล่าวว่าการยุติตั้งครรภ์สามารถทำได้ ดังต่อไปนี้ วรรคแรก คือ 1) การตั้งครรภ์ที่ครรภ์นั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดย “สุขภาพ”...

ต้องรู้ !! การทำแท้งในประเทศไทยไม่ได้ผิดกฎหมายทั้งหมด

1
การทำแท้งในประเทศไทยไม่ได้ผิดกฎหมายทั้งหมด กฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถตัดสินใจทำแท้งได้โดยแพทย์ โดยมีข้อบ่งชี้เหตุผลทางการแพทย์เพื่อสุขภาพและชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความผิดทางเพศ ดังต่อไปนี้ 1. การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อชีวิตหรือสุขภาพทางกายของผู้หญิง 2. การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา  3. การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าหญิงนั้นจะสมยอมหรือไม่ก็ตาม 4. การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร สนองความใคร่  5. การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง (เพิ่มเติมในข้อบังคับแพทยสภา พ.ศ. 2548 ขยายความ ”สุขภาพ” ให้ครอบคลุมทางกายและใจ แต่ยังไม่ถูกระบุไว้ในกฎหมาย) 6....

Live เปิดแถลงข่าว “ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องพิจารณามาตรา 301 และ 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญาว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

0
https://youtu.be/i6CP7iKIS_U รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกผู้หญิงท้องไม่พร้อม กล่าวว่า ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ากฎหมายอาญา ม.301-305 ที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ ม. 301 ที่ระบุว่า หญิงใดทำให้ตนหรือยินยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องมีความผิดตามกฎหมาย   ซึ่งข้อเท็จจริงคือ การตั้งครรภ์ไม่ได้เกิดจากฝ่ายหญิงเท่านั้น กฎหมายนี้จึงจงใจละเลยการเอาผิดกับผู้ชายที่ทำให้ผู้หญิงท้อง ซึ่งขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่ระบุไว้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลทั้งหญิงและชายต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน ...

ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามมาตรา ๓๐๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๖๔

0
ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามมาตรา ๓๐๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยที่มาตรา ๓๐๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญากําหนดให้การกระทําความผิดตามมาตรา ๓๐๑ หรือมาตรา ๓๐๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ถ้าเป็นการกระทําของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีตามที่กําหนด ผู้กระทําไม่มีความผิดนั้น อาศัยอํานาจตามมาตรา ๒ (๓) (ฎ) และมาตรา ๒๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพ เวชกรรม...

3 อาการที่ปกติ และ 7 สัญญานที่ไม่ปกติหลังทำแท้ง ยุติการตั้งครรภ์ เป็นอย่างไร

60
หลังยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ปัญหาอาจบรรเทาไปเปลาะหนึ่งแต่ผู้หญิงก็ยังคงต้องใส่ใจเพื่อดูแลตัวเองหลังยุติการตั้งครรภ์รวมไปถึงการดูแลอาการที่เกิดขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่ายุติได้สมบูรณ์ไม่มีการติดเชื้อ ผู้หญิงควรสังเกตอาการตนเอง... หลังยุติการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปจะมีเลือดออกทางช่องคลอดแต่จะลดลงเรื่อยๆ รู้สึกหน้าท้องตึงคล้ายกับเมื่อมีประจำเดือนนานประมาณ 1 สัปดาห์ และมีอาการอ่อนเพลียปานกลางอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้และจะหายไปเองเราอาจรู้สึกผ่อนคลายจากความรู้สึกเครียด แต่ก็อาจรู้สึกหดหู่เศร้าใจเป็นระยะเวลาหนึ่งซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน โดยทั่วไปอาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง โดยอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ และอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ มีดังต่อไปนี้ อาการปกติที่เกิดขึ้นหลังจากการรักษา1. มีเลือดออกทางช่องคลอด และรู้สึกหน้าท้องตึงคล้ายกับเมื่อมีประจำเดือนนานประมาณ 1 สัปดาห์2. มีอาการอ่อนเพลียปานกลางในระยะเวลาหนึ่ง3. รู้สึกหดหู่ เศร้าใจเป็นระยะเวลาหลายวันอาการผิดปกติ ที่ควรกลับไปพบแพทย์1. มีไข้สูง2. ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง3....

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา ๓๐๕ (๕) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๖๕

0
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305(5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 โดยกำหนดให้หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ที่ประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ก่อนตัดสินใจยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ เพื่อให้การตัดสินใจของหญิงนั้นอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน และรอบด้าน ที่มา : เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/228/T_0001.PDF

การขึ้นทะเบียนสถานพยาบาล เพื่อให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา

0
โรงพยาบาล สถานบริการ ที่ต้องการสมัครรับยา Medabon® ทางสปสช. กำหนดการขึ้นทะเบียนทุก 3 เดือน เพื่อรับยาผ่านระบบ Smart VMI รอบขึ้นทะเบียนต่อไปคือ มกราคม 2564 โรงพยาบาล สถานบริการต่างๆ ที่มีความพร้อมในการให้บริการยุติตั้งครรภ์โดยการใช้ยา สามารถแสดงความจำนงมายังกรมอนามัย โดยกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ตามแบบรายงานที่กรมอนามัยกำหนด สนใจสมัครรับยา ให้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการกับกรมอนามัย โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มขึ้นทะเบียน MTP-1 และ MTP-2 ได้ที่ http://rh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=safe_abortion  ขั้นตอนการเข้าร่วมขึ้นทะเบียนของสถานพยาบาล เพื่อให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา สถานพยาบาลต่างๆ...

แนวคิด เหตุผล และข้อเท็จจริง การปรับแก้กฎหมายทำแท้งประเทศไทย

0
แนวคิด เหตุผล และข้อเท็จจริงในการปรับแก้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301-305 ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เสนอโดย เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และ เครือข่ายอาสา RSA (Referral for Safe Abortion) วันที่ 18 มีนาคม 2563 (1) สภาพปัญหาภายใต้การบังคับใช้กฎหมายนี้ในประเทศไทย  การยุติการตั้งครรภ์ หรือ...

Live แนวนโยบายของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขต่อการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์

0
https://youtu.be/kCeLUZWPjj0 นพ.บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยเล็งเห็นความสำคัญในการลดอันตรายของภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย และการพัฒนาการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยาในประเทศไทยจึงพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้สามารถจัดบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนผลักดันให้เกิดเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ทั้งนี้ มาตรา 305 กำหนดข้อยกเว้นให้แพทย์ทำการยุติการตั้งครรภ์ให้หญิงมีครรภ์ได้ 2 กรณี คือ 1. มีความจำเป็นเนื่องจากสุขภาพของหญิง หรือ 2. หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา เช่น กรณีผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศ อย่างไรก็ตาม ความไม่พร้อมของผู้หญิงเกิดจากหลายปัจจัย  ซึ่งบางปัจจัยอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับกฎหมาย...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย