ใส่ห่วงอนามัยแล้ว มีผลข้างเคียงหรือไม่
ห่วงอนามัย หรือ IUD เป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ได้นาน แต่หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยว่าใส่ห่วงแล้วจะมีผลข้างเคียงหรือไม่
ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ (แต่ไม่ใช่ทุกคนจะเป็น)
ปวดท้องน้อยหรือปวดเกร็ง คล้ายปวดประจำเดือน ในช่วง 1-3 วันแรกหลังใส่
เลือดออกกระปริบกระปรอย หรือประจำเดือนมามากกว่าปกติ โดยเฉพาะห่วงชนิดไม่มีฮอร์โมน
อาการเวียนหัว อ่อนเพลียเล็กน้อย เป็นผลจากการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอม
สิวขึ้นหรืออารมณ์แปรปรวน ในกรณีใช้ห่วงชนิดมีฮอร์โมน (พบได้น้อย)
อาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์
เลือดออกมากผิดปกติ
ปวดท้องรุนแรง
มีไข้ หนาวสั่น หรือตกขาวมีกลิ่น
คลำไม่เจอสายห่วง หรือรู้สึกว่าห่วงหลุด
การดูแลตัวเองหลังใส่ห่วง
งดเพศสัมพันธ์ในช่วง 7 วันแรก
หลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือออกแรงมากใน 1-2 วัน
ตรวจติดตามตามนัดเพื่อประเมินตำแหน่งของห่วง
โดยรวมแล้ว...
ข้อดีและข้อเสียของห่วงอนามัยที่ควรรู้
ข้อดีของห่วงอนามัย
คุมกำเนิดได้นาน อยู่ได้นาน 3-10 ปี โดยไม่ต้องดูแลบ่อย
ประสิทธิภาพสูง มากกว่า 99% หากใส่อย่างถูกวิธี
สะดวก ใส่ครั้งเดียว ไม่ต้องกินยาทุกวันหรือพึ่งพาความสม่ำเสมอ
หยุดใช้เมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อถอดห่วงแล้วสามารถกลับมามีลูกได้ทันที
ประหยัดระยะยาว แม้มีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นสูง แต่ไม่ต้องซื้อซ้ำทุกเดือน
ข้อเสียของห่วงอนามัย
ไม่ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จำเป็นต้องใช้ถุงยางร่วมด้วย
มีผลข้างเคียงบางกรณี เช่น ปวดท้อง เลือดออกมากในช่วงแรก โดยเฉพาะชนิดไม่มีฮอร์โมน
ต้องใส่โดยแพทย์ ไม่สามารถใส่หรือถอดด้วยตัวเองได้
บางคนอาจรู้สึกไม่สบายตัว หรือมีอาการปวดท้องน้อยจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอม
เสี่ยงต่อการเคลื่อนตำแหน่งของห่วง หากไม่ได้ตรวจติดตาม อาจลดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด
ข้อแนะนำก่อนเลือกใช้ห่วงอนามัย
ปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินว่าเหมาะกับร่างกายของคุณหรือไม่
เลือกชนิดที่เหมาะกับลักษณะรอบเดือนและสภาวะสุขภาพ เช่น ถ้ามีประจำเดือนมากอยู่แล้ว...
ห่วงอนามัยมีกี่ประเภท และควรเลือกแบบไหน
ห่วงอนามัย หรือ IUD (Intrauterine Device) เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่แพทย์ใส่เข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ โดยสามารถใช้ได้นานตั้งแต่ 3 ปีไปจนถึง 10 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของห่วงอนามัย
ประเภทของห่วงอนามัย
ห่วงอนามัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
ห่วงอนามัยชนิดมีฮอร์โมน (Hormonal IUD)
ปล่อยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างต่อเนื่อง ทำให้มูกที่ปากมดลูกข้นขึ้น ป้องกันไม่ให้อสุจิเข้าถึงไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง ลดโอกาสที่ไข่จะฝังตัว อายุการใช้งาน: 3-7...
กินยาคุมฉุกเฉินบ่อยๆ จะเป็นอย่างไร
ยาคุมฉุกเฉินออกแบบมาเพื่อใช้ เฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ไม่ใช่ยาคุมแบบใช้ประจำ และไม่ควรใช้ต่อเนื่องหรือซ้ำบ่อยเกินไป หากกินบ่อย อาจเกิดผลกระทบต่อร่างกายดังนี้
รอบเดือนคลาดเคลื่อน หรือมาผิดปกติ
อาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ ปวดหัว เจ็บหน้าอก
ระบบฮอร์โมนแปรปรวน ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว
ไม่ควรใช้ยาคุมฉุกเฉินเกิน 2 ครั้งต่อเดือน เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินมีปริมาณฮอร์โมนมากกว่ายาคุมปกติ ยิ่งกินมาก ยิ่งได้รับฮอร์โมนสูงมาก และอาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้
ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า
ถุงยางอนามัย ใช้ง่าย ป้องกันทั้งการตั้งครรภ์และโรคติดต่อ
ยาคุมเม็ด ยาฝัง ยาฉีด หรือห่วงอนามัย
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะกับร่างกายของคุณที่สุด
ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่...
ยาคุมฉุกเฉินควรใช้เมื่อไหร่
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน เป็นยาที่ใช้ในกรณีมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือป้องกันแล้วแต่ผิดพลาด เช่น ถุงยางรั่วหรือหลุด ลืมกินยาคุมปกติ
ยาคุมฉุกเฉินมี 2 แบบ
แบบ 1 เม็ด กินทันทีหรือภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์
แบบ 2 เม็ด กินได้ 2 วิธีเม็ดแรกทันทีหรือภายใน 72 ชั่วโมง เม็ดที่สองหลังจากเม็ดแรก 12 ชั่วโมง
กิน 2...
หลั่งนอกก็ทัน แต่ทำไมท้อง
หลายคนเชื่อว่า "ถ้าไม่หลั่งข้างใน ก็ไม่ท้อง" แต่ความจริงคือ ยังมีโอกาสท้องได้ แม้จะหลั่งนอกทัน เพราะในน้ำหล่อลื่นที่ออกมาก่อนการหลั่ง อาจมีอสุจิปะปนอยู่ และอสุจิเหล่านั้นก็สามารถเดินทางไปปฏิสนธิกับไข่ได้ทันที ยิ่งไปกว่านั้น การควบคุมการหลั่งอย่างแม่นยำไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในสถานการณ์จริงที่อาจมีความตื่นเต้นหรือควบคุมตัวเองไม่ได้ทัน ดังนั้น การหลั่งนอกไม่ใช่วิธีคุมกำเนิดที่ปลอดภัย และไม่ควรใช้เป็นวิธีคุมกำเนิดหากคุณยังไม่พร้อมจะมีบุตร
วิธีที่ปลอดภัยกว่าคือ ถุงยางอนามัย, ยาคุมเม็ด, ยาฝัง, ห่วงอนามัย
ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่ ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online :...
การนับวันปลอดภัยช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้จริงหรือไม่
การนับวันปลอดภัยช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้จริงหรือไม่
การนับวันปลอดภัย เป็นวิธีคุมกำเนิดแบบธรรมชาติที่หลายคนใช้ โดยการหลีกเลี่ยงเพศสัมพันธ์ในช่วงที่คาดว่าเป็นวันไข่ตก แต่ในความเป็นจริง วิธีนี้มี ความเสี่ยงสูง เพราะ
รอบเดือนของแต่ละคนไม่เท่ากันในแต่ละเดือน
ปัจจัยอย่างความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือร่างกายแปรปรวน ทำให้วันไข่ตกคลาดเคลื่อนได้ง่าย
อสุจิสามารถมีชีวิตอยู่ในร่างกายได้นานถึง 5 วัน
ทั้งหมดนี้ทำให้การนับวันปลอดภัย ไม่ใช่วิธีคุมกำเนิด ป้องกันการตั้งครรภ์ไม่ได้ หากคุณต้องการป้องกันการตั้งครรภ์อย่างจริงจัง แนะนำให้ใช้
ถุงยางอนามัย
ยาคุมแบบเม็ด ยาฝัง ยาฉีด หรือห่วงอนามัย
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะกับตัวเอง
ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่ ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online :...
ยาฝังคุมกำเนิดเหมาะกับใครบ้าง
ใครเหมาะกับยาฝังคุมกำเนิด
ยาฝังคุมกำเนิดเหมาะกับผู้หญิงที่ต้องการคุมกำเนิดระยะยาว โดยไม่ต้องพึ่งพาการกินยาทุกวัน โดยเฉพาะกลุ่มต่อไปนี้
ผู้หญิงที่มีแผนจะเว้นระยะการมีบุตรนาน 3-5 ปี
คุณแม่หลังคลอดที่ยังไม่พร้อมมีลูกเพิ่ม
ผู้ที่แพ้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งไม่สามารถใช้ยาคุมแบบเม็ดรวมได้
ผู้ที่มักลืมกินยาคุม หรือไม่สามารถควบคุมเวลาการใช้ยาได้สม่ำเสมอ
ผู้ที่มีความเสี่ยงท้องไม่พร้อม และต้องการวิธีที่ไม่ต้องดูแลบ่อย
ใครไม่ควรใช้ยาฝังคุมกำเนิด
ผู้ที่ตั้งครรภ์อยู่แล้ว
ผู้ที่มีประวัติมะเร็งเต้านม หรือมีโรคตับรุนแรง
ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ
ผู้ที่มีความกังวลเรื่องผลข้างเคียงด้านอารมณ์หรือรอบเดือนที่ไม่แน่นอน
ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online : https://abortion.rsathai.orgหรือ Line Official : @rsathai , Inbox Facebook Page : rsathaiบริการให้คำปรึกษาออนไลน์...
ข้อดีและข้อเสียของยาฝังคุมกำเนิด รู้ก่อนตัดสินใจ
ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด
มีประสิทธิภาพสูงกว่า 99% ในการป้องกันการตั้งครรภ์
สะดวก ไม่ต้องกินยาเป็นประจำ ไม่ต้องกังวลเรื่องลืมกินยา
สามารถถอดออกเมื่อใดก็ได้ และกลับมาตั้งครรภ์ได้ตามปกติภายในเวลาไม่นาน
ข้อเสียและผลข้างเคียงที่อาจพบ
ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือหยุดมาเลย ในบางราย อาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอยบ่อยครั้ง
อาจมีสิวขึ้น อารมณ์แปรปรวน หรือเวียนศีรษะ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับบางคนที่ไวต่อฮอร์โมน
ไม่สามารถติดตั้งหรือถอดเองได้ ต้องให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการ
ไม่ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยเสมอ
การเลือกใช้ยาฝังคุมกำเนิดควรผ่านการพิจารณาร่วมกับแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าวิธีนี้เหมาะสมกับร่างกายและไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน
ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online : https://abortion.rsathai.orgหรือ Line Official :...
ยาฝังคุมกำเนิดคืออะไร และทำงานอย่างไร
ยาฝังคุมกำเนิดเป็นหนึ่งในวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้งานได้นาน มีลักษณะเป็น แท่งขนาดเล็กคล้ายไม้จิ้มฟัน ที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขนของผู้หญิง ภายในแท่งนี้มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progestin) ซึ่งจะถูกปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ มี 2 ชนิด ได้แก่
ชนิด 3 ปี – มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในปริมาณน้อย
ชนิด 5 ปี – มีฮอร์โมนสูงกว่าและสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้นานขึ้น
ยาฝังคุมกำเนิดทำงานอย่างไร
ยาฝังคุมกำเนิดมีหลักการทำงาน 3 วิธีหลักที่ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ ได้แก่
ยับยั้งการตกไข่ – ทำให้ร่างกายไม่ปล่อยไข่ออกมาจากรังไข่...