กฎหมายไทย ทำแท้งได้กรณีไหนบ้าง?
การทำแท้งในประเทศไทยไม่ได้ผิดกฎหมายทั้งหมด กฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถตัดสินใจทำแท้งได้โดยแพทย์ โดยมีข้อบ่งชี้เหตุผลทางการแพทย์เพื่อสุขภาพและชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความผิดทางเพศ ดังต่อไปนี้
การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อชีวิตหรือสุขภาพทางกายของผู้หญิงการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเราการตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าหญิงนั้นจะสมยอมหรือไม่ก็ตามการตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร สนองความใคร่การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง (เพิ่มเติมในข้อบังคับแพทยสภา พ.ศ. 2548 ขยายความ ”สุขภาพ” ให้ครอบคลุมทางกายและใจ แต่ยังไม่ถูกระบุไว้ในกฎหมาย)ทารกในครรภ์มีความพิการ (เพิ่มเติมในข้อบังคับแพทยสภา พ.ศ. 2548 โดยใช้เหตุผลปัญหาสุขภาพทางใจของผู้หญิง แต่ยังไม่ถูกระบุไว้ในกฎหมาย)
ผลสำรวจโดยกรมอนามัย...
กฎหมายทำแท้งมีความเป็นมาอย่างไร?
“การทำแท้ง” หรือ “การยุติการตั้งครรภ์” อยู่คู่กับประวัติศาสตร์มายาวนาน เดิมประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติความผิดฐานทำให้แท้งลูกโดยตรง ต่อมามีการพัฒนาบทบัญญัติลงโทษผู้อื่นที่ทำให้หญิงแท้งลูก แต่ไม่ครอบคลุมการที่หญิงทำให้ตนเองแท้งลูกแต่อย่างใด
เจตนารมณ์ของการมีกฎหมายคือมุ่งเน้นการคุ้มครองชีวิตที่จะเกิดมาเป็นหลัก สภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กฎหมายจึงได้ยกเว้นเรื่องเหตุผลทางการแพทย์เพื่อสุขภาพและชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ ต่อมาเมื่อผู้หญิงตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศเพิ่มขึ้น กฎหมายจึงได้เพิ่มเติมทำแท้งจากความผิดทางเพศด้วย ซึ่งคือสาระสำคัญของประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานทำให้แท้งลูก มาตรา 301-305 ใช้กันมาตั้งแต่ปี 2500 จนถึงปัจจุบัน
สิ่งที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันคือ การที่หญิงตั้งครรภ์มีความจำเป็นหลายด้านที่อาจต้องทำแท้งเนื่องจากปัญหาครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ และความคาดหวังต่อชีวิตในอนาคต แต่กฎหมายมีข้อยกเว้นเพียงสองส่วนเท่านั้น ทำให้เกิดการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต...
บทสิ้นสุดการเดินทางอันโดดเดี่ยว และการตีตราผู้หญิงที่ทำแท้ง เพื่อสนับสนุนสิทธิทางเลือกของผู้หญิงในไอร์แลนด์
กฎหมายทำแท้งในไอร์แลนด์ได้ผ่านสภาเมื่อ 13 ธันวาคม 2561 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเพื่อส่งต่อให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับรองใช้เป็นกฎหมายประเทศต่อไป
เหตุการณ์นี้ถือว่าเป็น “ช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์” ถือเป็น “บทสิ้นสุดการเดินทางอันโดดเดี่ยว และการตีตราผู้หญิงที่ทำแท้ง” เพื่อสนับสนุนสิทธิทางเลือกของผู้หญิงในไอร์แลนด์
ในอดีต ประเทศไอร์แลนด์ เป็นหนึ่งในสองของประเทศในยุโรปที่ห้ามการทำแท้งทุกกรณี (อีกประเทศคือมอลต้า) เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การแก้กฎหมาย คือย้อนกลับไปในปี 2555 ทันตแพทย์หญิงชาวไอริช Savita Halappanavar ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ ตรวจพบตัวอ่อนในครรภ์ผิดปกติรุนแรง เธอและสามีร้องขอให้แพทย์ทำแท้งเพื่อรักษา...
เชิญรับชม FACEBOOK LIVE การแถลงข่าวศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องพิจารณามาตรา 301 และ 305
เชิญรับชม FACEBOOK LIVE การแถลงข่าวศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องพิจารณามาตรา 301 และ 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
โดย เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม และ เครือข่ายอาสา RSA ร่วมกับ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ ชั้น 1 อาคาร 1 กรมอนามัย...
การศึกษาภาวะซึมเศร้าของสตรีตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
การศึกษาภาวะซึมเศร้าของสตรีตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ โดย นพ.ภุชงค์ ไชยชิน นางวิจิตรา วาลีประโคน
...หลังการยุติการตั้งครรภ์ พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีระดับภาวะซึมเศร้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งในกลุ่มที่ผิดปกติ พบว่าเป็นผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางถึงมากที่สุด จึงตอบคำถามการวิจัยได้ว่าภาวะซึมเศร้าหลังการยุติการตั้งครรภ์ของผู้รับบริการส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติและ เมื่อเปรียบเทียบระดับภาวะซึมเศร้าก่อนและหลังยุติการตั้งครรภ์ พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าที่ลดลงซึ่งแสดงว่าผลการรักษาดีขึ้น แต่ก็ยังพบว่ามีผู้รับบริการร้อยละ 10.3 ที่ระดับภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ซึ่งคล้ายกับการศึกษาของ Christensen และคณะ ที่พบว่าสตรีตั้งครรภ์ไม่ตั้งใจมีภาวะซึมเศร้าในระยะหลังคลอด ร้อยละ 10.2...
การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ผิดกฎหมาย โดย ศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ
การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ผิดกฎหมาย โดย ศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ
ปัญหาเรื่องการทำแท้งในเมืองไทยเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันไปได้ไม่รู้จบ ยิ่งหากยกเอาเรื่องศีลธรรมขึ้นมากล่าวอ้างถกเถียงกันไปมา โดยไม่เคยฟังคนที่ตั้งครรภ์เลยว่าเขาคิดอย่างไร ในขณะที่รัฐก็ออกกฎหมายบังคับเอากับหญิงที่ไปทำแท้ง ทำให้เกิดความรู้สึกว่า แม้โดยส่วนตัวผมเองจะไม่สนับสนุนให้มีการทำแท้ง แต่เห็นว่า การยุติการตั้งครรภ์อันไม่พึงปราถนานั้น เป็นสิทธิอันชอบธรรมของหญิง ในเมื่อเขาไม่พร้อมที่จะมีจะบังคับให้หญิงอุ้มท้องต่อไป โดยที่รัฐก็ไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเลย จึงขาดความชอบธรรมที่จะลงโทษหญิงที่ไปทำแท้ง ...
ที่มา : การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ผิดกฎหมาย โดย ศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ
วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมฉบับ ตุลาคม - ธันวาคม...
สรุปผลการประชุมคณะทำงานเว็บไซต์ คร้ังที่ 1
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 61 ที่ผ่านมา โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม จัดประชุมคณะทำงานเว็บไซต์ rsathai.org ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุมภูเก็ต ร้านอาหาร Cabbages & Condom สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน สุขุมวิท 12 กรุงเทพฯ ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้นจำนวน 15 คน ประกอบไปด้วย ที่ปรึกษาเว็บไซต์...
สรุปการประชุมสามัญประจําปี 2562 เครือข่ายอาสา RSA (Referral system for Safe Abortion)
โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สําหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการประชุมสามัญประจําปีเครือข่ายอาสา RSA (Referral system for Safe Abortion) ประจําปี 2562 เมื่อวันที่ 14–15 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท...
Facebook Live : ประเทศไทยสนับสนุนการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยอย่างไร
กรมอนามัยสนับสนุนให้เกิดนโยบายเพื่อลดการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย เช่น การสนับสนุนให้ยายุติตั้งครรภ์ Medabon เข้าสู่บัญชียาหลัก การสนับสนุนเครือข่ายอาสา RSA (Referral System for Safe Abortion) และมีส่วนผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพ.ศ.2559 ทั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องความปลอดภัยในการยุติการตั้งครรภ์เท่านั้นแต่เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=583lN4BI2us&feature=youtu.be
ที่มา : Pro-Voice5 #LetsTalkAbortion การรณรงค์เนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากล 2018
ประชุมคณะทำงานเว็บไซต์ rsathai.org ครั้งที่ 1
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 61 ที่ผ่านมา โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม จัดประชุมคณะทำงานเว็บไซต์ rsathai.org ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุมภูเก็ต ร้านอาหาร Cabbages & Condom สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน สุขุมวิท 12 กรุงเทพฯ
การประชุมคณะทำงานฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับรู้ความก้าวหน้าของการพัฒนาเว็บไซต์และเพจ ผลการเข้าเยี่ยมชมตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่พบหลังจากเปิดตัวเว็บไซต์ www.rsathai.org สร้างข้อเสนอแนะต่อรูปแบบและเนื้อหาสาระของเว็บไซต์...