ทบทวนใจก่อนตัดสินใจ จะตั้งครรภ์ต่อ หรือยุติการตั้งครรภ์ดี?
เมื่อรู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเดินต่อไปทางไหน ความสับสน ความกลัว หรือความไม่แน่ใจที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติ และคุณมีสิทธิที่จะใช้เวลาไตร่ตรองอย่างเต็มที่
ก่อนตัดสินใจ ลองทบทวนตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้
1. ฉันรู้สึกอย่างไรกับการตั้งครรภ์ครั้งนี้? ลองสำรวจความรู้สึกตัวเองอย่างตรงไปตรงมา รู้สึกดีใจ กังวล กลัว หรือยังไม่พร้อมในตอนนี้?
2. สถานการณ์ชีวิตตอนนี้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์หรือไม่? พิจารณาด้านการเงิน การสนับสนุนจาก รอบครัว และสภาพแวดล้อมรอบตัว
3. ถ้าเลือกท้องต่อ ฉันมีทางเลือกใดบ้าง? สามารถขอความช่วยเหลือในการดูแลบุตรได้หรือไม่? หรือมีหน่วยงานที่ช่วยเหลือได้ไหม?
4. ถ้าเลือกยุติการตั้งครรภ์...
เมื่อไรประจำเดือนจะกลับมาหลังยุติการตั้งครรภ์?
หลายคนสงสัยหลังจากยุติการตั้งครรภ์ “ประจำเดือนจะกลับมาเมื่อไหร่?”โดยทั่วไป ประจำเดือนจะกลับมาในช่วง...
4–6 สัปดาห์ หลังการยุติการตั้งครรภ์ ร่างกายจะเริ่มปรับระดับฮอร์โมนให้เข้าสู่ภาวะปกติ ระยะเวลานี้อาจเร็วหรือช้ากว่านี้เล็กน้อย ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของแต่ละคน
สิ่งที่ควรสังเกต
ประจำเดือนรอบแรกอาจมีลักษณะไม่เหมือนเดิม เช่น มากหรือน้อยกว่าปกติ
หากประจำเดือนไม่มานานเกิน 8 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์
หากมีเลือดออกติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ หรือมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ ควรรีบพบแพทย์ทันที
ต้องการคำปรึกษาหลังยุติการตั้งครรภ์ ติดต่อเราได้ที่นี่ ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online : https://abortion.rsathai.orgLine Official...
รู้ก่อน ป้องกันได้! ทำไมการตั้งครรภ์ไม่พร้อมถึงยังเกิดขึ้น?
รู้ก่อน ป้องกันได้! ทำไมการตั้งครรภ์ไม่พร้อมถึงยังเกิดขึ้น?
การตั้งครรภ์ไม่พร้อมเกิดจากอะไร?
การตั้งครรภ์ไม่พร้อมยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกช่วงวัย ไม่ใช่แค่เฉพาะในวัยรุ่นเท่านั้น แต่รวมถึงผู้หญิงที่ยังไม่มีความพร้อมด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ หรือจิตใจ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ได้แก่
การคุมกำเนิดที่ผิดพลาด เช่น ลืมกินยาคุมกำเนิด ใช้ถุงยางอนามัยผิดวิธี หรือถุงยางขาด
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ เช่น การใช้ “หลั่งนอก” หรือ “นับวันปลอดภัย” ซึ่งแท้จริงไม่ใช่วิธีป้องกันการตั้งครรภ์
การขาดความรู้ด้านเพศศึกษา ไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุมกำเนิด
แรงกดดันทางสังคมและครอบครัว เช่น การไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้การคุมกำเนิด หรือไม่สามารถปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ได้
การถูกบังคับหรือขาดความพร้อมในการมีเพศสัมพันธ์ เช่น...
ใช้ยาทำแท้ง หรือดูดสุญญากาศดี?
หากต้องการยุติการตั้งครรภ์ ปัจจุบันมี 2 วิธีที่ปลอดภัย และได้รับการยอมรับตามมาตรฐานทางการแพทย์คือ
1. ใช้ยายุติการตั้งครรภ์ (Medical Abortion)
ใช้ยาสองชนิดร่วมกัน: ยาหยุดฮอร์โมนการตั้งครรภ์ + ยากระตุ้นมดลูก
ทำได้ที่บ้านภายใต้การดูแลของแพทย์ อายุครรภ์ ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เกิน 12 สัปดาห์ ยุติที่สถานพยาบาล
อาการระหว่างกระบวนการ: เลือดออกมาก คล้ายประจำเดือน, ปวดท้อง,มีไข้, หนาวสั่น, ถ่ายท้อง...
เรื่องเล่าจากห้องไลน์ RSA – การตรวจปัสสาวะหลังทำแท้ง/ยุติการตั้งครรภ์
เรื่องเล่าจากห้องไลน์ RSA บทสนทนา ของหมออัลเทอร์ หมอเบลต้า หมอเคลวิน หมออิริค และหมอแฟรี่ (นามสมมุติ ) เรื่องตรวจปัสสาวะหลังยุติฯ เมื่อไหร่ดี ?
หมออัลเทอร์ : เรียนปรึกษาพี่หมอทุกท่านครับ
หมอเบลต้า : ว่าไงคร้บ เล่าเลยครับ …
หมออัลเทอร์ : ผมจะปรึกษาแนวทางการแนะนำให้คนไข้ตรวจการตั้งครรภ์ด้วยปัสสาวะ หลังยุติการตั้งครรภ์ครับ ส่วนตัวผมเองไม่ได้แนะนำให้คนไข้ตรวจเลยในทันที...
กฎหมายทำแท้งมีความเป็นมาอย่างไร?
“การทำแท้ง” หรือ “การยุติการตั้งครรภ์” อยู่คู่กับประวัติศาสตร์มายาวนาน เดิมประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติความผิดฐานทำให้แท้งลูกโดยตรง ต่อมามีการพัฒนาบทบัญญัติลงโทษผู้อื่นที่ทำให้หญิงแท้งลูก แต่ไม่ครอบคลุมการที่หญิงทำให้ตนเองแท้งลูกแต่อย่างใด
เจตนารมณ์ของการมีกฎหมายคือมุ่งเน้นการคุ้มครองชีวิตที่จะเกิดมาเป็นหลัก สภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กฎหมายจึงได้ยกเว้นเรื่องเหตุผลทางการแพทย์เพื่อสุขภาพและชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ ต่อมาเมื่อผู้หญิงตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศเพิ่มขึ้น กฎหมายจึงได้เพิ่มเติมทำแท้งจากความผิดทางเพศด้วย ซึ่งคือสาระสำคัญของประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานทำให้แท้งลูก มาตรา 301-305 ใช้กันมาตั้งแต่ปี 2500 จนถึงปัจจุบัน
สิ่งที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันคือ การที่หญิงตั้งครรภ์มีความจำเป็นหลายด้านที่อาจต้องทำแท้งเนื่องจากปัญหาครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ และความคาดหวังต่อชีวิตในอนาคต แต่กฎหมายมีข้อยกเว้นเพียงสองส่วนเท่านั้น ทำให้เกิดการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต...
ทำไมต้องให้ความเสมอภาคแก่ผู้หญิงในการตัดสินใจทำแท้ง
มีหลักการ 4 ข้อ ที่ควรจะให้ความเสมอภาคแก่ผู้หญิงในเรื่องการตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ คือ
1) เนื้อตัวร่างกายเป็นสิทธิเสรีภาพโดยสมบูรณ์ของหญิง เมื่อไม่เคยเบียดเบียนคนอื่น หญิงควรมีสิทธิที่จะตัดสินใจได้ว่าจะทำกับตนเองอย่างไร
2) การปล่อยให้ครรภ์ที่ไม่พร้อมคลอดออกมาในสังคม โดยผู้ตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่จะดูแลเป็นการสร้างภาระให้กับผู้หญิง ส่งกระทบต่อทั้งอนาคตของเด็กที่เกิดมา และซ้ำเติมปัญหาให้แก่สังคมในอนาคต
3) สิทธิการตัดสินใจควรจะเป็นของผู้ที่สามารถใช้สิทธินั้นได้ ตราบใดที่ตัวอ่อนยังไม่อาจแยกออกจากครรภ์ จึงเป็นเพียง “อนาคต” ที่ไม่แน่นอน สังคมจะยอมให้อนาคตที่ยังมาไม่ถึงนั้นทำลาย “ปัจจุบัน” ทีเดียวหรือ? ถ้าปัจจุบันถูกทำลายอนาคตก็มีไม่ได้
4) การห้ามทำแท้งโดยกฎหมายไม่เกิดประโยชน์แก่ใครเลย เพราะเมื่อผู้หญิงต้องการยุติครรภ์ของตน อย่างไรก็ต้องทำ...
ทำแท้งยุคใหม่ = ปลอดภัย ไม่ลับ ไม่ตาย
จากกรณีข่าวที่ถูกเผยแพร่โดยเพจ Drama-addict และแพทย์ชื่อดังอย่าง นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ (หมอแป๊ะ) ออกมาเตือนถึงคลิปบน TikTok และโซเชียลที่มีการแนะนำ “วิธีทำแท้งย้อนยุค” ด้วยอุปกรณ์อันตราย เช่น ไม้เสียบลูกชิ้น สอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อให้แท้งลูกออกมา ซึ่งเสี่ยงอย่างมากต่อการติดเชื้อเฉียบพลัน และอาจถึงขั้นเสียชีวิต
ที่มาของข่าว: PPTVHD36 – หมอยังอึ้ง! โซเชียลสอนทำแท้งย้อนยุค ทั้งที่มีการทำแท้งที่ปลอดภัย
ปัจจุบัน การทำแท้งที่ปลอดภัย “มีอยู่จริง”...
6 บทบาทหน้าที่ของกรมอนามัยต่อการบริหารจัดการยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์ (มิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน)
หลังจากยามิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน ได้รับการขึ้นทะเบียนในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ขอให้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข บริหารจัดการยามิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและวางแผนดูแลกำกับการใช้ยาอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 2 ปี โดยทำหน้าที่ต่อไปนี้คือ
ประสานงานกับสถานพยาบาลทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประเมินความพร้อมในการให้บริการ และการอนุญาตให้จัดให้มี ยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอลในการบริการยุติการตั้งครรภ์
จัดทำคู่มือการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอล และจัดส่งคู่มือไปยังสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่มียาให้บริการ
รวบรวมรายงานยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอลที่นำเข้าโดย บริษัทผู้นำเข้ายาและจัดจำหน่าย
รวบรวมและวิเคราะห์การให้ยาและการยุติการตั้งครรภ์จากรายงานของสถานพยาบาลต่างๆ
เฝ้าระวังและติดตามผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
...
ต้องรู้ !! การทำแท้งในประเทศไทยไม่ได้ผิดกฎหมายทั้งหมด
การทำแท้งในประเทศไทยไม่ได้ผิดกฎหมายทั้งหมด กฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถตัดสินใจทำแท้งได้โดยแพทย์ โดยมีข้อบ่งชี้เหตุผลทางการแพทย์เพื่อสุขภาพและชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความผิดทางเพศ ดังต่อไปนี้
1. การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อชีวิตหรือสุขภาพทางกายของผู้หญิง
2. การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา
3. การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าหญิงนั้นจะสมยอมหรือไม่ก็ตาม
4. การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร สนองความใคร่
5. การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง (เพิ่มเติมในข้อบังคับแพทยสภา พ.ศ. 2548 ขยายความ ”สุขภาพ” ให้ครอบคลุมทางกายและใจ แต่ยังไม่ถูกระบุไว้ในกฎหมาย)
6....