อัพเดทเครือข่าย RSA (Referral System for Safe Abortion)

0
อัพเดทความก้าวหน้าเครือข่าย RSA (Referral System for Safe Abortion) ปัจจุบันเครือข่ายมีจำนวนสมาชิกเครือข่ายรวมทั้งสิ้น 569 คน ประกอบด้วย สมาชิกแพทย์ RSA 137 คน กระจายอยู่ตามภาคต่างๆ และ สมาชิกสหวิชาชีพ RSA 432 คน การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของเครือข่าย RSA เพื่อเป็น...

ความเจ็บปวดก่อนลมหายใจสุดท้าย

0
เมื่อวานนี้มีข่าวการเสียชีวิตของนักศึกษาที่ท้องไม่พร้อม และตัดสินใจเลือกยุติการตั้งครรภ์ โดยวิธีที่ไม่ปลอดภัย ด้วยการใช้ยาทำแท้งเอง เป็นความสูญเสียที่ไม่ควรเกิดขึ้น ผู้หญิงควรมีทางเลือก และควรได้เข้ารับบริการเมื่อท้องไม่พร้อมอย่างมีศักดิ์ศรี  เขาต้องเจ็บปวดขนาดไหน… กว่าลมหายใจสุดท้ายจะหมดไป… บทเรียนชีวิตที่สอนคนข้างหลังอย่างพวกเรา ให้ระวังการถูกหลอก ขายยาทำแท้งออนไลน์ และการตายอย่างเดียวดาย ที่ปวดหัวใจที่สุด… จากการถามความคิดเห็นญาติและผู้หญิงท้องไม่พร้อมถึงเหตุผลที่เลือกซื้อยาทำแท้งทางเว็บไซต์ว่าทำไมจึงซื้อ คำตอบที่ได้คือ... (1) ไม่กล้าไปหาหมอ กลัวหมอจะไม่ทำให้ ให้เธอท้องต่อ และมองเป็นผู้หญิงไม่ดี (2) ตรงกับทางออกและความต้องการ (3) กลัวผิดกฎหมายและศีลธรรม (4) อยากปิดเป็นความลับ (5) สะดวก ไม่เรื่องมาก (6) รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (7)...

กฎหมายทำแท้งมีความเป็นมาอย่างไร?

1
“การทำแท้ง” หรือ “การยุติการตั้งครรภ์” อยู่คู่กับประวัติศาสตร์มายาวนาน เดิมประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติความผิดฐานทำให้แท้งลูกโดยตรง ต่อมามีการพัฒนาบทบัญญัติลงโทษผู้อื่นที่ทำให้หญิงแท้งลูก แต่ไม่ครอบคลุมการที่หญิงทำให้ตนเองแท้งลูกแต่อย่างใด เจตนารมณ์ของการมีกฎหมายคือมุ่งเน้นการคุ้มครองชีวิตที่จะเกิดมาเป็นหลัก สภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กฎหมายจึงได้ยกเว้นเรื่องเหตุผลทางการแพทย์เพื่อสุขภาพและชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ ต่อมาเมื่อผู้หญิงตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศเพิ่มขึ้น กฎหมายจึงได้เพิ่มเติมทำแท้งจากความผิดทางเพศด้วย ซึ่งคือสาระสำคัญของประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานทำให้แท้งลูก มาตรา 301-305 ใช้กันมาตั้งแต่ปี 2500 จนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันคือ การที่หญิงตั้งครรภ์มีความจำเป็นหลายด้านที่อาจต้องทำแท้งเนื่องจากปัญหาครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ และความคาดหวังต่อชีวิตในอนาคต แต่กฎหมายมีข้อยกเว้นเพียงสองส่วนเท่านั้น ทำให้เกิดการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต...

หมอประสานเสียง วอนเปลี่ยนมุมคิด ท้องไม่พร้อมมีสิทธิทำแท้ง

0
หมอสูติฯ-หมอเด็ก ประสานเสียงขอสังคมเปลี่ยนมุมคิด หญิงท้องไม่พร้อมคือผู้ป่วย ขอแพทย์-รพ.เปิดทางเลือก เข้าถึงการยุติครรภ์ที่ปลอดภัย กฎหมายเอื้อทำตามข้อบ่งชี้ไม่ผิด สถิติชี้หญิงทำแท้งเถื่อนสุดอันตราย อัตราตาย 300 คน ต่อแสนประชากร ด้าน สสส. หนุนการเข้าถึงบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร โดยเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล กล่าวในการประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3...

Live เปิดแถลงข่าว “ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องพิจารณามาตรา 301 และ 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญาว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

0
https://youtu.be/i6CP7iKIS_U รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกผู้หญิงท้องไม่พร้อม กล่าวว่า ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ากฎหมายอาญา ม.301-305 ที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ ม. 301 ที่ระบุว่า หญิงใดทำให้ตนหรือยินยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องมีความผิดตามกฎหมาย   ซึ่งข้อเท็จจริงคือ การตั้งครรภ์ไม่ได้เกิดจากฝ่ายหญิงเท่านั้น กฎหมายนี้จึงจงใจละเลยการเอาผิดกับผู้ชายที่ทำให้ผู้หญิงท้อง ซึ่งขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่ระบุไว้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลทั้งหญิงและชายต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน ...

ศาล รธน. รับเรื่องร้องเรียนกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง กรณีแรกที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน #BalanceforBetter

0
วันสตรีสากล ปี 2562 เครือข่ายอาสา RSA และ เครือข่ายท้องไม่พร้อม ร่วมกันเรียกร้องให้มี #BalanceforBetter โดยขอให้มีความเท่าเทียมกันในมิติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย เพราะการตั้งครรภ์นั้น ไม่ได้เกิดจากผู้หญิงฝ่ายเดียว ต้องมีผู้ชายมีส่วนร่วมด้วยทุกครั้ง วันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับเรื่องร้องเรียนความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง โดยคำร้องได้ให้เหตุผลว่า บทบัญญัติมาตรา 301 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560...

ชวนรับชม Broadcast Women’s Health online class 3

0
วันนี้ พฤหัสบดีที่ 4 กรกฏาคม 2562 เวลา 12.00 - 13.30 น.ชวนรับชม Broadcast Women's Health online class 3 หัวข้อการบรรยาย 12.00-12.10 น. กล่าวเปิด โดย นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์12.10-12.30 น.สิทธิประโยชน์เพื่อสนับสนุนการป้องกันและควบคุมการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการป้องก้นการยุติการดั่งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย...

WHO ออกแนวทางใหม่เกี่ยวกับการทำแท้งฉบับใหม่

0
WHO issues new guidelines on abortion to help countries deliver lifesaving care Access to safe abortion critical for health of women and girls: WHOWHO...

ความเป็นธรรมของกฎหมายอยู่ที่ไหน ?

0
การทำแท้งในประเทศไทยเป็นหนึ่งในบริการสุขภาพที่อยู่ภายใต้กฎหมายอาญา ในขณะที่ 74 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งจีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป การทำแท้งในประเทศไทยอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 - 305 อธิบายโดยย่อให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ได้ดังต่อไปนี้ มาตรา 301 ผู้หญิงทำให้ตัวเองหรือให้คนอื่นทำให้แท้ง จะติดคุกถึงสามปี และ/หรือปรับถึงหกหมื่นบาท มาตรา 302 ใครไปทำให้แท้งโดยผู้หญิงยินยอม...

สปสช. จัดสรรงบเพิ่มยายุติการตั้งครรภ์

0
“สปสช. จัดสรรงบเพิ่มยายุติการตั้งครรภ์” อ่านแล้วสงสัยไหม? ขอขยายความแบบนี้นะ… ยายุติการตั้งครรภ์ (Medabon) ขึ้นทะเบียนในประเทศไทยเมื่อปลายปี 2557 และกระจายไปใช้ในโรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนการใช้ยากับกรมอนามัย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รายงานว่า อัตราการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลพบว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยลดลง 12 ล้านบาทในปี 2558 และลดต่อเนื่องในปี 2559 ถึง 20 ล้านบาท สรุปคือ...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย