“ทำแท้ง” ปลอดภัยถูก ก.ม. เป็นอย่างไร?

0
พิกัดเพศ คุยกับ นพ.บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย เรื่องการ"ทำแท้ง" ปลอดภัยและถูกกฎหมายเป็นอย่างไร และเครือข่ายอาสา RSA (Referral System for Safe Abortion) ที่มา : http://thaipbsradio.com/track/5465/

ทำแท้งเป็นสิทธิ์ ไม่ใช่บาปกรรม

0
อาจารย์อวยพร เขื่อนแก้ว ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการศูนย์ผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม (ศูนย์บ้านดิน) แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวาทกรรมการทำแท้งในสังคมพุทธโดยเธอลองวิเคราะห์ปัญหานี้ตามหลักอริยสัจสี่ว่าเหตุที่ผู้หญิงเหล่านี้เลือกที่จะไปทำแท้งไม่ใช่เพราะการทำแท้งเป็นทางเลือกหนึ่งในชีวิตแต่เขาถูกบังคับให้เลือกผู้หญิงเหล่านี้รู้โดยปัญญาดีว่าความทุกข์นี้เป็นความทุกข์ที่สาหัสและเขาไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้ https://youtu.be/s-D7Yccq7YA ด้วยค่านิยมที่สังคมไทยไม่ได้สอนให้ผู้ชายคุมกำเนิด เมื่อผู้ชายไม่รับผิดชอบ ความทุกข์จึงตกอยู่ที่ผู้หญิง ผู้หญิงเหล่านั้นจึงต้องหาวิธีแก้ปัญหาอย่างโดดเดี่ยว โดยไม่มีระบบใดในสังคมมาช่วยเหลือ เขาต้องถูกสังคมตีตราตั้งแต่ท้องแล้วไม่รับผิดชอบ ถูกผลักไสให้ออกจากโรงเรียน เมื่อไปโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลก็อาจไม่เกื้อกูลเขา แถมยังตีตราเขามาอีก และอาจถูกผลักไสจากคนในครอบครัวเช่นกัน พระพุทธเจ้าจะบอกว่าการทำลายชีวิต การเบียดเบียนเป็นบาป แสดงว่าตั้งแต่ผู้ชายที่ทำเขาท้องไม่รับผิดชอบ ก็เบียดเบียน ผู้ชายคนนี้ก็บาปแล้ว ระบบโรงเรียนที่ผลักเด็กคนนี้ออก ไม่เกื้อกูลตอนเขาท้อง ระบบโรงเรียนก็บาปแล้ว ครอบครัวที่ผลักเขาออกไป ครอบครัวก็ทำบาปแล้ว เพราะฉะนั้นบาปคือการเบียดเบียน...

“ยุติการตั้งครรภ์” ทางเลือกที่เลือกได้ อ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

0
https://www.youtube.com/watch?v=qhU-pR4az5c “ยุติการตั้งครรภ์” ทางเลือกที่ต้องเลือกเพื่ออนาคต จากกรณีข่าว ด.ญ.13 ปี โดนพ่อเลี้ยงข่มขืนจนท้อง คิดสั้นฆ่าตัวตาย สลดครอบครัวไม่พร้อม ต้องยุติการตั้งครรภ์ อ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มา : RAMA CHANNELออกอากาศวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2561

“ทุกทางเลือกล้วนเจ็บปวด…” อาจารย์สุจิตรา โปร่งแสง ข้าราชการ (ศึกษานิเทศก์) ที่ผันตัวมาเป็นนักวิชาการอิสระ

0
https://www.youtube.com/watch?v=9gavGyUCRC4 "ทุกทางเลือกล้วนเจ็บปวด…" อาจารย์สุจิตรา โปร่งแสง ข้าราชการ (ศึกษานิเทศก์) ที่ผันตัวมาเป็นนักวิชาการอิสระ เคยเจอเด็กที่อยู่ในโครงการแล้วก็โทรมาปรึกษา ก็อยากเลือกทางเลือกนี้ ถามความรู้สึกแรกก็อึ้ง มันคล้ายๆ แบบทดสอบนึงว่า ผู้ใหญ่เชื่อจริงหรือปล่าวว่า เด็กสามารถเลือกตัดสินใจทางเลือกที่เหมาะสมกับตัวเองได้ มันเป็นแบบทดสอบของเราจริงๆ ในตอนนั้น หลังจากที่ผ่านอารมณ์ความรู้สึกเรื่องการอึ้งไปแล้ว เราเริ่มใช้วิชาการที่เรียนรู้มา ตั้งหลักให้ดี เช็คอีกนิดนึงว่าเขาต้องการอย่างนั้นจริงๆ มั้ย ทางเลือกอื่นเขารู้แล้วหรือยัง เมื่อเช็คแล้วว่าทุกอย่างเขารู้หมด เลือกที่จะเป็นการส่งต่อให้เขาถึงแหล่งข้อมูลที่จะยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย เพราะว่าสุดท้ายจริงๆ เราเชื่อว่าถ้าเขาไม่มีข้อมูลเหล่านี้...

สิทธิ ! ที่ผู้หญิงพึงได้รับโดย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

0
การฝึกอบรมอาชีพและพัฒนาคุณภาพในศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี เป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์สำหรับผู้หญิงและครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคมต่างๆ ขาดโอกาสทางการศึกษา ครอบครัวที่กระทำรุนแรงต่อเด็กและสตรี ถูกละเมิดทางเพศ ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ ต้องเลี้ยงดูบุตรเพียงลำพัง /การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ให้ได้มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของสตรีและครอบครัว เสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง ให้สามารถพึ่งตนเองได้ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยมีการเปิดอบรมอาชีพ มีทั้งหลักสูตรระยะสั้น 1 เดือน 3 เดือน และหลักสูตร 6 เดือน เป็นต้น ภายหลังสำเร็จการอบรมมีบริการจัดหางานให้ทำตามความสมัครใจ...

ความสุขในการตั้งครรภ์ ขยายเครือข่ายบริการทางเลือก “ท้องไม่พร้อม”

0
ปัญหาทางสังคมของประเทศไทยนอกเหนือจากแนวโน้มที่จะกลายเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” แล้วในส่วนของเด็กเกิดใหม่ก็ยังเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ติดตามมานั่นก็คือ เด็กเกิดใหม่ที่ขาดคุณภาพ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ของเด็กเกิดใหม่จะเกิดจากครรภ์ที่ยังไม่มีความพร้อม (ในการจะมีบุตร) และเด็กเกิดใหม่จากครรภ์ที่ยังไม่พร้อมนี้ ส่วนใหญ่เด็กเหล่านั้นจะด้อยคุณภาพ ซึ่งจากสถิติของเด็กเกิดใหม่ในครรภ์ที่ยังไม่มีความพร้อมนี้ จะมีตัวเลขสูงถึง 1 แสนรายต่อปี จากครรภ์ที่เป็น วัยรุ่น วัยเรียน โดยมารดาที่ไม่มีความพร้อมจะเข้าถึง บริการยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ที่ปลอดภัยมีเพียงแค่ 1 หมื่นกว่ารายเท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่า ยังมีอีกกว่า...

โตแล้วไปไหน … หรือไม่ได้ไปไหน !?

0
มีคำถามคำถามหนึ่งที่นานๆ ทีจะมีคนนึกได้แล้วถามขึ้นมา คือ มีไหม เด็กที่แม่ยกมอบให้มูลนิธิแล้ว แต่เราหาครอบครัวบุญธรรมให้ไม่ได้ ตกค้างเพราะปัญหาเอกสาร การไม่ยินยอม (สักที) มีปัญหาสุขภาพหนักๆ หรือมีปัญหาอะไรก็ตามที่ทำให้ไปไหนไม่ได้และตกค้างอยู่จนโต และเริ่มแน่ใจว่า ต้องเตรียมตัวเด็กให้เติบโตอยู่ที่เมืองไทยแบบพึ่งพาตนเองได้มีค่ะ มีแน่นอน แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น เราจะต้องทำงานกับเด็กโตกลุ่มนี้อย่างเข้มข้น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เขาพึ่งพาตัวเองได้... คนเราเติบโตขึ้นทุกวัน ก็เรียนรู้มากขึ้นทุกวัน และแข็งแรงมากขึ้นทุกวันด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะหมดห่วงได้ง่ายๆ เด็กเหล่านี้เติบโตในครอบครัวอุปถัมภ์ มีพ่อแม่พี่น้องญาติโยมให้การดูแล ให้ความรักความอบอุ่นเต็มที่ แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง...

Abortion Provider Appreciation Day 10 มีนาคมของทุกปี

0
Abortion Provider Appreciation Day 10 มีนาคมของทุกปี วันยกย่องบุคลากรผู้ให้บริการเพื่อให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา วันที่ 10 มีนาคมของทุกปี ถือเป็นวัน Abortion Provider Appreciation Day หรือ วันยกย่องบุคลากรผู้ให้บริการ ทั้งแพทย์ พยาบาล นักสังคม นักจิตวิทยา ผู้ให้การปรึกษา...

ศาล รธน. รับเรื่องร้องเรียนกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง กรณีแรกที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน #BalanceforBetter

0
วันสตรีสากล ปี 2562 เครือข่ายอาสา RSA และ เครือข่ายท้องไม่พร้อม ร่วมกันเรียกร้องให้มี #BalanceforBetter โดยขอให้มีความเท่าเทียมกันในมิติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย เพราะการตั้งครรภ์นั้น ไม่ได้เกิดจากผู้หญิงฝ่ายเดียว ต้องมีผู้ชายมีส่วนร่วมด้วยทุกครั้ง วันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับเรื่องร้องเรียนความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง โดยคำร้องได้ให้เหตุผลว่า บทบัญญัติมาตรา 301 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560...

กฎหมายอาญามาตรา 301 กฎหมายที่ไม่ยุติธรรมและไม่เป็นธรรมกับผู้หญิง

0
กฎหมายอาญามาตรา 301 "หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" เป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมและไม่เป็นธรรมกับผู้หญิงเลย เพราะว่า กฎหมายนี้ เอาผิดกับผู้หญิงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่การท้องได้ต้องเกิดจากผู้หญิงและชายร่วมกัน กฎหมายนี้ ส่งผลให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมต้องหลบซ่อนไม่กล้าปรึกษาขอความช่วยเหลือ แล้วอาจไปลงเอยที่การทำแท้งเถื่อน กฎหมายนี้ ซ้ำเติมผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์ ช่วงที่ชีวิตเปราะบางและอ่อนแอที่สุดให้เลวร้ายลงไปอีก เรื่องจริงของความไม่ยุติธรรมนั้น คลิกอ่านได้ที่นี่ เรื่องของดา : https://rsathai.org/contents/13887เรื่องของพร : https://rsathai.org/contents/13838เรื่องของหนู : https://rsathai.org/contents/13912ขอบคุณเรื่องจากชีวิตจริงที่ทำให้สังคมออนไลน์ตื่นขึ้นจากความไม่เท่าเทียม

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย