“..ทำแท้งคือการรักษา เป็นหมอก็ต้องรักษาคน..”
“คุณหมอที่อยู่ภาคใต้นั่น ดูเขาภูมิใจเสียนักหนา ว่าเป็นหมอทำแท้ง” มีเสียงกระซิบมาให้แอบได้ยินอย่างนั้น“ครับ ก็ทำแท้งคือการรักษาคนไงครับ เป็นหมอก็ต้องรักษาคน” ผมตอบกลับไป ทั้งๆ ที่ยังไม่แน่ใจนักว่าคุณหมอที่อยู่ภาคใต้คนนั้นจะใช่ผมในบทสนทนาหรือเปล่า “เขายังภูมิใจว่าได้เป็นวิทยากร” นั่นไง มันใกล้ผมเข้าไปอีก เพราะไอ้คนที่อยู่ภาคใต้และมักเป็นวิทยากรจะเหลืออยู่สักกี่คน เหมือนเล่นเกมโชว์ทายชื่อดาราทางทีวีเข้าไปทุกที“ครับ การป้องกันไม่ให้ผู้หญิงที่จะไปทำแท้งจริงๆ ถูกทำแท้งเถื่อนจนเกิดอันตรายต่อร่างกายและชีวิต มันก็น่าจะเป็นหน้าที่ที่สำคัญของหมออีกเช่นเดียวกัน และหนึ่งในนั้นคือการทำแท้งให้อย่างปลอดภัยและป้องกันการท้องใหม่ให้เรียบร้อย” ผมยังจำวงล้อของงานอนามัยการเจริญพันธ์ุที่ครูสอนได้ว่า การแท้งที่ปลอดภัยมันคือหนึ่งในงานของวงล้อนั้น และเรื่องแท้งนี่แหละ ที่ไม่ค่อยมีหมอคนไหนอยากเข้ามาข้องเกี่ยว“สวัสดีค่ะคุณหมอ”หนูได้อ่านที่คุณหมอเขียนเกี่ยวกับการทำแท้งนั้นหนูคือคนหนึ่งที่เกิดอุบัติเหตุนั้น ทุกวันนี้บาปติดในใจหนูเสมอในทุกวันเวลาเชื่อผมสิครับ ไม่มีใครมีความสุขใจในการทำแท้งเอาลูกตัวเองออกมาหรอกครับ...
เสียงของหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
คุณคิดว่าเสียงของหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่เรียกร้องสิทธิในเนื้อตัวและร่างกายของตัวเอง แตกต่างจากการเรียกร้องสิทธิอื่นๆ ในการมีชีวิตไหม เราอาจเห็นการเรียกร้องสิทธิมากมายจากการถูกลดทอนการมีศักดิ์ศรีในการดำรงตน เรียกร้องสิทธิจากการถูกเลือกปฏิบัติจากสังคมที่เหลื่อมล้ำนี้
คุณคิดว่า .... หากหญิงท้องไม่พร้อมออกมาเรียกร้องสิทธิตรงนี้ จะเป็นอย่างไรคุณคิดว่า ....... เสียงของพวกเธอจะดังสักแค่ไหน หากสังคมยังมองเห็นเป็นเรื่องผิดบาป มากกว่าเรื่องสิทธิของผู้หญิง
คุณเองจะก่นด่า หรือ เห็นใจที่พวกเธอเข้าไม่ถึงสิทธิ ไม่มีทางเลือกในการใช้ชีวิต
เพราะเราต่างทำให้เรื่องของการยุติการตั้งครรภ์เป็นเรื่องผิดบาป เป็นเรื่องน่ากลัว น่าอายในสังคม เพราะเราต่างไม่ได้มองว่าพวกเธอคือผู้ที่ประสบปัญหา บุคลากรทางการแพทย์เอง ก็ไม่ได้มองว่าพวกเธอคือคนไข้ที่ต้องดูแล รักษาให้สามารถมีชีวิตที่ดีต่อไปได้ พวกเธอจะเป็นคนไข้ก็ต่อเมื่อ ไปทำแท้งเถื่อนตกเลือดมาโรงพยาบาลแล้วเท่านั้นน่ะหรือ ?
การปฏิบัติต่อพวกเธอเช่นนี้ จะทำให้เสียงของผู้หญิงเบาลง...
หน่วยงานรัฐต้องไม่ปล่อยให้หญิงท้องไม่พร้อมเผชิญหน้ากับปัญหาเพียงลำพัง
นักสังคมสงเคราะห์ RSA ได้รับการประสานจากสายด่วน 1663 ว่ามีหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมในจังหวัด อายุครรภ์ก็ราว 20 สัปดาห์ ไม่เคยฝากครรภ์ ไม่ต้องการเปิดเผยการตั้งครรภ์ให้ครอบครัวและสังคมทราบ จึงโทรนัดให้มาอัลตร้าซาวด์ที่โรงพยาบาล และให้การปรึกษาทางเลือก เพื่อส่งต่อเครือข่าย RSA ได้อย่างเหมาะสมกับอายุครรภ์ของผู้ป่วย
29 สัปดาห์ 4 วัน นั่นคืออายุครรภ์ในวันที่มาตรวจ ทางเลือกจึงมีแค่ท้องต่อ เพราะไม่สามารถที่จะยุติการตั้งครรภ์ได้แล้ว จึงต้องประเมินศักยภาพว่าจะเลี้ยงดูลูกได้ไหม ประเมินสภาพครอบครัว เศรษฐกิจและสังคม...
บทสิ้นสุดคำพิพากษา คดีที่เป็นข่าวดัง…เป็นคดีถึงที่สุดแล้ว
“เลี้ยงลูกมันไม่ง่ายเหมือนเล่นตุ๊กตา” คำพูดของแพทย์หญิงท่านหนึ่งที่ได้สัมผัสใกล้ชิดผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม เธอเข้าใจ เคารพการตัดสินใจ และให้บริการที่ปลอดภัยทำให้ผู้หญิงไม่บาดเจ็บหรือตายจากการทำแท้งเถื่อน แต่กลับถูกตั้งข้อกล่าวหาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ฐานทำให้แท้งและมีการออกหมายจับและสอบสวนผู้หญิงที่มารับบริการด้วย…นับจากตรงนั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อแก้กฎหมายทำแท้งที่เก่าแก่และใช้มานานมากกว่า 60 ปี เพราะการยุติการตั้งครรภ์ไม่ใช่อาชญากรรม แต่คือหนึ่งในบริการสุขภาพ ที่แพทย์ควรให้บริการกับผู้หญิงที่ประสบปัญหาได้อย่างมีศักดิ์ศรี.. “ในบางประเทศ การแก้กฎหมายเป็นไปได้เมื่อมีแพทย์ถูกจับ ถ้าหมอจะต้องเป็นคนคนนั้น หมอก็ยินดี”เริ่มจากเครือข่ายท้องไม่พร้อม และเครือข่ายอาสา RSA ยื่นคำร้องต่อสำนักผู้ตรวจการแผ่นดินในวันสตรีสากลที่ 8 มีนาคม ผ่านไปสองเดือนได้รับคำตอบว่าไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงได้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง...
ทำแท้งศาสตร์ และนักเรียนแพทย์ปี 5
“ผมถามหน่อยสิ ถ้าหากตอนนี้ เธอเกิดตั้งท้องขึ้นมา เธอจะรู้สึกยังไง” ผมถามนักเรียนแพทย์สาวสวยคนหนึ่งขณะที่นั่งเรียนอยู่ในห้อง ซึ่งแน่นอน ว่าผมกำลังเป็นคนสอน..... วันนี้สอนหนังสือวิชา “ทำแท้งศาสตร์” ให้นักเรียนแพทย์ปี ๕ ที่กำลังเรียนอยู่ในกองสูตินรีเวช อันที่จริงก็สอนอยู่ทั้งปีนั่นแหละ แต่กองนี้เป็นกองสุดท้ายแล้ว พวกเขากำลังจะได้ขึ้นเป็นนักเรียนแพทย์ชั้นปีที่ ๖ หรือ extern (ถ้าสอบทุกอย่างผ่าน) การสอนในรอบหน้าก็จะเป็นปี ๕ ที่เพิ่งขึ้นมาจากปี ๔...
ผู้ชายทอดทิ้ง เธอทุกข์ทรมาน ต้องรัดคาดท้องไม่ให้โตขึ้นมา
ผมมันเป็นพวกเจ้าคิดเจ้าแค้น เรื่องนี้พ่อรู้ดี ด้วยเหตุนี้นึ่เองที่ทำให้พ่อไม่ค่อยจะเล่าเรื่องราวของความขัดแย้งของครอบครัวพี่น้องของพ่อให้ฟังถ้าไม่จำเป็น แต่ก็แปลก ที่ก่อนพ่อจะตายไปเพียงไม่นานนั้น พ่อกลับเล่าเรื่องราวมากมายให้ผมฟัง กระทั่งการฝากฝังให้ช่วยดูแลแม่ ประหนึ่งพ่อจะรู้ถึงวันสุดท้ายของตัวเองและก็เป็นไปตามคาด ผมรู้สึกได้ถึงความเจ็บแค้นและฝังใจเจ็บ..............................................................................................................“หมอแค่อยากจะบอกว่า ลักษณะของเซลล์มะเร็งที่เธอเป็นอยู่นั้นมันพบเป็นส่วนน้อย พบไม่บ่อยหรอก การรักษามันจึงไม่เหมือนคนอื่นๆ” ผู้หญิงที่ผมพูดคุยด้วยอยู่นั้นคือหญิงสาวที่มีแค่เกือบ ๔๐ ปี เธอกำลังต่อสู้อยู่กับโรคมะเร็งที่ปากมดลูกโดยการรับเคมีบำบัด อายุเธอยังน้อยเมื่อเทียบกับคนไข้คนอื่นๆที่เป็นโรคเดียวกับเธอ“หมอว่าหนูจะอยู่ได้อีกนานเท่าไหร่คะ” “ไม่รู้ว่ะ ขึ้นอยู่กับสวรรค์ หมอกำหนดไม่ได้” ผมยิ้มให้ สำหรับคนที่ถามออกมาแบบนี้ย่อมมีอะไรน่าสนใจ“แล้วเธอคิดว่ายังไงล่ะ”“หมอที่นู่นบอกว่าอย่างเก่งก็ปีครึ่ง” เธออ้างถึงหมอประจำโรงพยาบาลจังหวัดที่ส่งตัวเธอมารักษา“เอาอย่างนี้ ฉันจะเล่าให้ฟัง”...
กฎหมายทำแท้งใหม่ควรเอื้อให้แพทย์ช่วยเหลือหญิงที่ถูกข่มขืนได้ แต่ความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น
“มีเรื่องอยากเล่าค่ะ..”“มีเคสโดนข่มขืน เป็นผู้พิการเดินไม่ได้ไปที่โรงพยาบาล….. แต่แพทย์ส่งต่อให้ไปที่คลินิก….”“เศร้าจัง….”ในวันที่กฎหมายทำแท้งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เราได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดภาคเหนือ ว่ามีหญิงอายุ 35 ปี ถูกข่มขืนและตั้งครรภ์ได้ 7 สัปดาห์โดยผู้เป็นแม่ได้อุ้มพามา ที่น่าเห็นใจคือ หญิงนั้นมีความพิการด้านสติปัญญาและกาย เดินไม่ได้ต้องใช้วีลแชร์ ซึ่งกรณีนี้เข้าข่ายกฎหมายทำแท้งมาตรา 305 (3) อย่างชัดเจน คือตั้งครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ ซึ่งภายใต้กฎหมายใหม่นี้ ไม่ต้องมีการแจ้งความ และแม่ผู้พามารับการรักษาที่โรงพยาบาลยืนยันเหตุแห่งการตั้งครรภ์ปัจจุบันการยุติการตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลรัฐ สามารถเบิกจาก สปสช. หรือ...
จริยธรรมวิชาชีพกับการแท้งที่ปลอดภัย
๒๐ ม.ค. ๖๔ เนื่องจากขณะนี้กำลังมีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อหญิงที่ท้องไม่พร้อม ผมขอเผยแพร่บทความที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์ในการเป็นสูติแพทย์เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจและเห็นใจหญิงที่มีความทุกข์จากการตั้งครรภ์ไม่พร้อมทุกคน
60. Humanized health care (การดูแลคนไข้ด้วยหัวใจบนพื้นฐานความรู้)โดย นพ.พิษณุ ขันติพงษ์วันก่อนผมมีโอกาสเป็นวิทยากรในการอบรมปฏิบัติการ แพทย์และพยาบาลเรื่อง "การดูแลวัยรุ่นและสตรีท้องไม่พร้อมเพื่อป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัย" จัดโดย มูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของสตรี(แห่งประเทศไทย)ร่วมกับ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ในหัวข้อ"จริยธรรมวิชาชีพ กับการแท้งที่ปลอดภัย"ผมต้องขอชื่นชม ศ.เกียรติคุณ นพ.กำแหง จาตุรจินดา ผู้ก่อตั้งและประธานมูลนิธิฯ ที่พยายามสร้างความเข้าใจให้คนในสังคมไทยทราบข้อเท็จจริง และยอมรับความเป็นจริงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในบ้านเราเป็นเวลานานกว่าสิบปีแล้ว...
เรื่องเล่าจากหมอให้บริการยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ตอน เสียจิ้นทั้งที ต้องมีความสุข
เนื่องจากหมอเป็นสูตินรีแพทย์ คือ หมอที่ดูแลสุขภาพผู้หญิงและคนท้อง ก็จะมีคนมาปรึกษาเกี่ยวกับประจำเดือนขาด กังวลว่าจะตั้งครรภ์เป็นประจำ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีวัยรุ่นมาปรึกษาประเด็นที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้
คนไข้ผู้หญิง อายุ 17 ปี : "หมอคะ นู๋เพิ่งมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกใช้ถุงยางถูกวิธี คือ สอดไปได้แค่ตรงหัวของอวัยวะเพศชายของแฟน นู๋มีเลือดออกแค่นิดเดียว ประมาณหยดเดียวได้ คือ สอดได้ไม่หมด แล้วแฟนออกมาหลั่งนอก มันจะมีโอกาสท้องมากน้อยแค่ไหน ควรกินยาคุมฉุกเฉินมั้ย มีตกขาวหลังเสร็จ"
ถ้ามองในฐานะหมอ มองด้านวิชาการ มองด้านสุขภาพ...
RSA เล่าความจริงเรื่องทำแท้ง
RSA เราคือแพทย์ 157 คนและสหวิชาชีพ 614 คน จาก 70 จังหวัดที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ตามหลักวิชาการ ได้รับการแต่งตั้งและสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข เรามีองค์ความรู้และมีประสบการณ์ให้บริการยุติการตั้งครรภ์มากที่สุดในประเทศไทย เราไม่ได้อยู่บนหอคอยงาช้างแต่ได้สัมผัสชีวิตผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม เราจึงอยากเห็นประเทศไทยพัฒนากฎหมายที่สอดคล้องกับวิชาการและความเป็นจริงที่ไม่ใช่จากความเชื่อส่วนบุคคล
ความจริงเรื่องแท้ง#1ผู้หญิงบาดเจ็บและตายจากทำแท้งไม่ปลอดภัยในแต่ละปีสูงกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด 3 เท่า
ประเทศไทยมีปัญหาการบาดเจ็บและตายของผู้หญิงไทยที่มีถึงปีละกว่า 3 หมื่นราย ค่อยๆ ลดลงเหลือ 20,000 หมื่นรายในปี 2562 จากความร่วมมือของเครือข่ายการส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย แม้จำนวนผู้หญิงที่บาดเจ็บและตายจะลดลงไป...