ราชกิจจานุเบกษา : กฏกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562
รู้หรือไม่ว่า...กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 25 มกราคม 2562 มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 (60 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562 โดยมีสาระสำคัญประกอบไปด้วย
สถานบริการทุกแห่งต้องให้บริการข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์กับวัยรุ่นในเรื่องสิทธิของวัยรุ่นตาม พ.ร.บ. เพศวิถีศึกษา การคุมกำเนิด การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี/เอดส์...
รู้หรือยัง !! ตอนนี้มีกฎหมายการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแล้วนะ
รู้หรือยัง !! ตอนนี้เรามีกฎหมายการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแล้วนะ (ฉบับการ์ตูน)
สรปุผลการเสวนา “ ทำอย่างไรเมื่อผู้หญิงเลือกยุติ แต่อายุครรภ์เกิน ”
“ทำอย่างไรเมื่อผู้หญิงเลือกยุติ แต่อายุครรภ์เกิน” โดย โครงการสายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 และเครือข่ายส่งต่อบริการ
การเสวนานี้มุ่งใช้กรณีศึกษาและประสบการณ์ตรง ของผู้ร่วมเสวนาที่ปฏิบัติงานในด้านการปรึกษาทางเลือกท้องไม่พร้อม การยุติการตั้งครรภ์ และการช่วยเหลือดูแลเมื่อตั้งครรภ์ต่ออย่างมีคุณภาพ ที่มีประสบการณ์ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 24 คน ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อตอบโจทย์ร่วมกัน
ทางออกของท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น.. ไม่ใช่การแต่งงาน !!
การมีความสัมพันธ์ทางเพศและตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นเรื่องที่ผู้ชายมีความผิดทางกฎหมายอาญา ดังนั้น จำเป็นต้องมีการแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เพื่อให้ตำรวจดำเนินคดีทางกฎหมาย (หากฝ่ายชายอายุต่ำกว่า 18 ปี จะถูกดำเนินคดีในสถานพินิจเด็กและเยาวชน) กรณีนี้ที่พบมากคือ ครอบครัวของฝ่ายชายมักขอหมั้นหมาย หรือบังคับแต่งงานเพื่อให้จบเรื่องทางคดี
การให้ลูกสาวที่ตั้งครรภ์แต่งงานในลักษณะนี้อาจทำให้พ่อแม่รู้สึกว่ามีทางออกของตนเองในลักษณะไม่เสียหน้า แต่ทางออกนั้นอาจทำให้ลูกสาวต้องเสียใจ และเสียอนาคตไปตลอดชีวิตเพราะการแต่งงานในอายุที่น้อยและไม่พร้อมนี้ในระยะต่อมา...ทางฝ่ายชายมีแนวโน้มที่จะไม่รับผิดชอบใดๆ ในที่สุด... แต่ก็มีพ่อแม่ผู้หญิงจำนวนมากที่ใช้ช่องทางกฎหมายนี้ เรียกร้องค่าเสียหายจากครอบครัวของฝ่ายชาย การทำเช่นนี้ทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ได้รักลูกเห็นแก่ได้เห็นลูกเป็นสิ่งของที่จะนำมาซึ่งเงินทองซึ่งกลับไปซ้ำเติมความรู้สึกของลูกที่กำลังประสบปัญหา
ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองต้องถามความคิดเห็นของลูก ต้องไม่บังคับแต่งงาน ไม่เห็นแก่ได้...
การคุมกำเนิดกึ่งถาวร : สิทธิที่ยังเข้าไม่ถึง ? และอะไรคือช่องว่างที่ต้องการพัฒนา
ในขณะที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการคุมกำเนิด โดยพบว่า อัตราการเจริญพันธุ์รวมของสตรีไทย มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในปี 2561 เฉลี่ยสตรี 1 คน มีบุตร 1.5 คน แต่การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยยังพบปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ร้อยละ 10.8 ในปี 2560 การช่วยชะลอการตั้งครรภ์ และลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นจะได้ผลดีนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เสนอว่าควรให้วัยรุ่นคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด แต่การเข้าถึงยาคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรยังมีข้อจำกัด
วัยรุ่นไม่ทราบสิทธิ์ตนเอง...
ผู้ใหญ่มองว่า การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นนั้นเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกภาคส่วนควรตระหนัก
ผู้ใหญ่มองว่า การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นนั้นเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกภาคส่วนควรตระหนัก
ด้านความเป็นความตาย เพราะวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่หาทางออกไม่ได้อาจไปทำแท้งไม่ปลอดภัยที่เป็นอันตรายต่อตนเอง ซื้อยาแท้งมากินเอง อาจบาดเจ็บ ติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตได้ในที่สุด
ด้านเศรษฐกิจ คือ เมื่อวัยรุ่นตั้งครรภ์ทำให้ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษา ทำให้มีความรู้น้อย ไม่สามารถทำงานที่มีรายได้สูงได้
ด้านสุขภาพ แม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ในวัยที่ยังไม่พร้อมในการดูแลตนเอง ขาดความรู้ในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข อาจไม่ได้ฝากครรภ์ตามกำหนด ทารกอาจคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวน้อย
ด้านเด็กที่เกิดมา วัยรุ่นอาจมีข้อจำกัดในการเลี้ยงลูกที่เกิดมาอย่างเหมาะสมได้ มีความกดดันหลายด้าน ทำให้อาจทอดทิ้งลูกตามสถานที่ต่างๆ
เหล่านี้ทำให้มีผลกระทบต่อรายได้ประชาชาติโดยรวม ซึ่งนั่นหมายถึงอนาคตของประเทศไทย
ทุกภาคส่วนจึงช่วยกันแก้ไขปัญหาท้องในวัยรุ่นตามกฎหมาย พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เช่น...
Live ประชุมเปิดโครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม
โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ดำเนินงานโดยความร่วมมือระหว่าง เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ภายใต้สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
มีเป้าหมายในการพัฒนาเครือข่ายบริการทั้งตั้งครรภ์ต่อและยุติการตั้งครรภ์ ให้มีความเข้มแข็ง เข้าถึงได้ ให้บริการได้อย่างปลอดภัยและเป็นมิตร รวมทั้งการแสวงหาความต่อเนื่องในการดำเนินงานได้อย่างยั่งยืนในระบบต่อไป โดยมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับโครงการสายปรึกษาทางเลือกท้องไม่พร้อม 1663 ระยะเวลาดำเนินการ 24 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561...
“หนัง (มัน)สั้น แต่รักฉันยาว” มุมมองของคนทำหนังโดยเยาวชนกับประเด็นท้องวัยรุ่น
จากการประกวดคลิป "หนัง(มัน)สั้น แต่รักฉันยาว" ให้เยาวชนส่งผลงานเข้าประกวดคลิปหนังสั้น โดยมีผลงานส่งเข้าประกวดกว่า 260 เรื่อง ซึ่งผ่านเข้ารอบเพียง 10 เรื่อง ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมตอนปลายและประกาศนียบัตร (ปวช.) และระดับมหาวิทยาลัยและประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) ซึ่งเรื่องที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ เรื่อง "รักผิดชอบ" จากทีม เจค ว.2 และ เรื่อง...
ความสำเร็จในการเดินทางของยายุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) จากใต้ดินสู่ระบบบริการสุขภาพ
2541 แพทย์และนักวิชาการทั่วโลกมีการปรึกษาหารือเรื่องยายุติการตั้งครรภ์เพื่อลดการตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย
2547 องค์การอนามัยโลก ศึกษาวิจัยระดับโลก ผลยืนยันว่ายาปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ และบรรจุในบัญชียาหลักของโลก
2548 เริ่มศึกษายาครั้งแรกในประเทศไทย แต่การที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ การทำแท้งเป็นเรื่องบาป เชื่อว่าผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่ดี เด็กวัยรุ่นสำส่อน อีกทั้งกฎหมายคลุมเครือ สังคมเชื่อว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี มายาคติเหล่านี้ส่งผลให้มียาทำแท้งเถื่อนคุณภาพต่ำเกลื่อน ราคาแพง หาซื้อได้ทางออนไลน์ แต่กลับไม่มีบริการในระบบสุขภาพ
2554 เริ่มความพยามอีกครั้ง เพื่อให้ประเทศไทยมียาที่มีประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ขับเคลื่อน เริ่มจากการศึกษาวิจัยการใช้ยาในระบบบริการ ไปพร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจต่อคนในสังคม...
ข่าวดี !! ลูกจ้างในโรงงานได้รับสิทธิด้านการตั้งครรภ์
กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2561 เพื่อสนับสนุนให้ลูกจ้างวัยรุ่น (อายุ 15-20 ปีบริบูรณ์) ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การฝากครรภ์ และการทำแท้งที่ปลอดภัย ทั้งนี้ สถานประกอบกิจการจะต้องจัดระบบส่งต่อให้วัยรุ่นที่ตั้งท้องได้รับสวัสดิการทางสังคม และบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมต่อไป ผู้สื่อข่าวสังเกตว่าลูกจ้างและนายจ้างรับรู้กฎกระทรวงนี้ค่อนข้างน้อย และไม่มีบทลงโทษกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างวัยรุ่นเข้าไม่ถึงสิทธิที่จำเป็น
รายงานจากการประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น...