ราชกิจจานุเบกษา : กฏกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562

0
รู้หรือไม่ว่า...กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 25 มกราคม 2562 มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 (60 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา) กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562 โดยมีสาระสำคัญประกอบไปด้วย สถานบริการทุกแห่งต้องให้บริการข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์กับวัยรุ่นในเรื่องสิทธิของวัยรุ่นตาม พ.ร.บ. เพศวิถีศึกษา การคุมกำเนิด การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี/เอดส์...

รู้หรือยัง !! ตอนนี้มีกฎหมายการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแล้วนะ

0
รู้หรือยัง !! ตอนนี้เรามีกฎหมายการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแล้วนะ (ฉบับการ์ตูน)

สรปุผลการเสวนา “ ทำอย่างไรเมื่อผู้หญิงเลือกยุติ แต่อายุครรภ์เกิน ”

0
“ทำอย่างไรเมื่อผู้หญิงเลือกยุติ แต่อายุครรภ์เกิน”  โดย โครงการสายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 และเครือข่ายส่งต่อบริการ การเสวนานี้มุ่งใช้กรณีศึกษาและประสบการณ์ตรง ของผู้ร่วมเสวนาที่ปฏิบัติงานในด้านการปรึกษาทางเลือกท้องไม่พร้อม การยุติการตั้งครรภ์ และการช่วยเหลือดูแลเมื่อตั้งครรภ์ต่ออย่างมีคุณภาพ ที่มีประสบการณ์ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 24 คน ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อตอบโจทย์ร่วมกัน

ทางออกของท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น.. ไม่ใช่การแต่งงาน !!

0
การมีความสัมพันธ์ทางเพศและตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นเรื่องที่ผู้ชายมีความผิดทางกฎหมายอาญา ดังนั้น จำเป็นต้องมีการแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เพื่อให้ตำรวจดำเนินคดีทางกฎหมาย (หากฝ่ายชายอายุต่ำกว่า 18 ปี จะถูกดำเนินคดีในสถานพินิจเด็กและเยาวชน) กรณีนี้ที่พบมากคือ ครอบครัวของฝ่ายชายมักขอหมั้นหมาย หรือบังคับแต่งงานเพื่อให้จบเรื่องทางคดี การให้ลูกสาวที่ตั้งครรภ์แต่งงานในลักษณะนี้อาจทำให้พ่อแม่รู้สึกว่ามีทางออกของตนเองในลักษณะไม่เสียหน้า แต่ทางออกนั้นอาจทำให้ลูกสาวต้องเสียใจ และเสียอนาคตไปตลอดชีวิตเพราะการแต่งงานในอายุที่น้อยและไม่พร้อมนี้ในระยะต่อมา...ทางฝ่ายชายมีแนวโน้มที่จะไม่รับผิดชอบใดๆ ในที่สุด... แต่ก็มีพ่อแม่ผู้หญิงจำนวนมากที่ใช้ช่องทางกฎหมายนี้ เรียกร้องค่าเสียหายจากครอบครัวของฝ่ายชาย การทำเช่นนี้ทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ได้รักลูกเห็นแก่ได้เห็นลูกเป็นสิ่งของที่จะนำมาซึ่งเงินทองซึ่งกลับไปซ้ำเติมความรู้สึกของลูกที่กำลังประสบปัญหา ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองต้องถามความคิดเห็นของลูก ต้องไม่บังคับแต่งงาน ไม่เห็นแก่ได้...

การคุมกำเนิดกึ่งถาวร : สิทธิที่ยังเข้าไม่ถึง ? และอะไรคือช่องว่างที่ต้องการพัฒนา

0
ในขณะที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการคุมกำเนิด โดยพบว่า อัตราการเจริญพันธุ์รวมของสตรีไทย มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในปี 2561 เฉลี่ยสตรี 1 คน มีบุตร 1.5 คน แต่การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยยังพบปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ร้อยละ 10.8 ในปี 2560 การช่วยชะลอการตั้งครรภ์ และลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นจะได้ผลดีนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เสนอว่าควรให้วัยรุ่นคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด แต่การเข้าถึงยาคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรยังมีข้อจำกัด วัยรุ่นไม่ทราบสิทธิ์ตนเอง...

ผู้ใหญ่มองว่า การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นนั้นเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกภาคส่วนควรตระหนัก

0
ผู้ใหญ่มองว่า การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นนั้นเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกภาคส่วนควรตระหนัก ด้านความเป็นความตาย เพราะวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่หาทางออกไม่ได้อาจไปทำแท้งไม่ปลอดภัยที่เป็นอันตรายต่อตนเอง ซื้อยาแท้งมากินเอง อาจบาดเจ็บ ติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตได้ในที่สุด ด้านเศรษฐกิจ คือ เมื่อวัยรุ่นตั้งครรภ์ทำให้ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษา ทำให้มีความรู้น้อย ไม่สามารถทำงานที่มีรายได้สูงได้ ด้านสุขภาพ แม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ในวัยที่ยังไม่พร้อมในการดูแลตนเอง ขาดความรู้ในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข อาจไม่ได้ฝากครรภ์ตามกำหนด ทารกอาจคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวน้อย ด้านเด็กที่เกิดมา วัยรุ่นอาจมีข้อจำกัดในการเลี้ยงลูกที่เกิดมาอย่างเหมาะสมได้ มีความกดดันหลายด้าน ทำให้อาจทอดทิ้งลูกตามสถานที่ต่างๆ เหล่านี้ทำให้มีผลกระทบต่อรายได้ประชาชาติโดยรวม ซึ่งนั่นหมายถึงอนาคตของประเทศไทย ทุกภาคส่วนจึงช่วยกันแก้ไขปัญหาท้องในวัยรุ่นตามกฎหมาย พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เช่น...

Live ประชุมเปิดโครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม

0
โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ดำเนินงานโดยความร่วมมือระหว่าง เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ภายใต้สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีเป้าหมายในการพัฒนาเครือข่ายบริการทั้งตั้งครรภ์ต่อและยุติการตั้งครรภ์ ให้มีความเข้มแข็ง เข้าถึงได้ ให้บริการได้อย่างปลอดภัยและเป็นมิตร รวมทั้งการแสวงหาความต่อเนื่องในการดำเนินงานได้อย่างยั่งยืนในระบบต่อไป โดยมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับโครงการสายปรึกษาทางเลือกท้องไม่พร้อม 1663 ระยะเวลาดำเนินการ 24 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561...

“หนัง (มัน)สั้น แต่รักฉันยาว” มุมมองของคนทำหนังโดยเยาวชนกับประเด็นท้องวัยรุ่น

0
จากการประกวดคลิป "หนัง(มัน)สั้น แต่รักฉันยาว" ให้เยาวชนส่งผลงานเข้าประกวดคลิปหนังสั้น โดยมีผลงานส่งเข้าประกวดกว่า 260 เรื่อง ซึ่งผ่านเข้ารอบเพียง 10 เรื่อง ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมตอนปลายและประกาศนียบัตร (ปวช.) และระดับมหาวิทยาลัยและประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) ซึ่งเรื่องที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ เรื่อง "รักผิดชอบ" จากทีม เจค ว.2 และ เรื่อง...

ความสำเร็จในการเดินทางของยายุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) จากใต้ดินสู่ระบบบริการสุขภาพ

0
2541 แพทย์และนักวิชาการทั่วโลกมีการปรึกษาหารือเรื่องยายุติการตั้งครรภ์เพื่อลดการตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย 2547 องค์การอนามัยโลก ศึกษาวิจัยระดับโลก ผลยืนยันว่ายาปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ และบรรจุในบัญชียาหลักของโลก 2548 เริ่มศึกษายาครั้งแรกในประเทศไทย แต่การที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ การทำแท้งเป็นเรื่องบาป เชื่อว่าผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่ดี เด็กวัยรุ่นสำส่อน อีกทั้งกฎหมายคลุมเครือ สังคมเชื่อว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี มายาคติเหล่านี้ส่งผลให้มียาทำแท้งเถื่อนคุณภาพต่ำเกลื่อน ราคาแพง หาซื้อได้ทางออนไลน์ แต่กลับไม่มีบริการในระบบสุขภาพ 2554 เริ่มความพยามอีกครั้ง เพื่อให้ประเทศไทยมียาที่มีประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ขับเคลื่อน เริ่มจากการศึกษาวิจัยการใช้ยาในระบบบริการ ไปพร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจต่อคนในสังคม...

ข่าวดี !! ลูกจ้างในโรงงานได้รับสิทธิด้านการตั้งครรภ์

0
กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2561 เพื่อสนับสนุนให้ลูกจ้างวัยรุ่น (อายุ 15-20 ปีบริบูรณ์) ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การฝากครรภ์ และการทำแท้งที่ปลอดภัย ทั้งนี้ สถานประกอบกิจการจะต้องจัดระบบส่งต่อให้วัยรุ่นที่ตั้งท้องได้รับสวัสดิการทางสังคม และบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมต่อไป ผู้สื่อข่าวสังเกตว่าลูกจ้างและนายจ้างรับรู้กฎกระทรวงนี้ค่อนข้างน้อย และไม่มีบทลงโทษกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างวัยรุ่นเข้าไม่ถึงสิทธิที่จำเป็น รายงานจากการประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย