หมอประสานเสียง วอนเปลี่ยนมุมคิด ท้องไม่พร้อมมีสิทธิทำแท้ง
หมอสูติฯ-หมอเด็ก ประสานเสียงขอสังคมเปลี่ยนมุมคิด หญิงท้องไม่พร้อมคือผู้ป่วย ขอแพทย์-รพ.เปิดทางเลือก เข้าถึงการยุติครรภ์ที่ปลอดภัย กฎหมายเอื้อทำตามข้อบ่งชี้ไม่ผิด สถิติชี้หญิงทำแท้งเถื่อนสุดอันตราย อัตราตาย 300 คน ต่อแสนประชากร ด้าน สสส. หนุนการเข้าถึงบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร โดยเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล กล่าวในการประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3...
การคุมกำเนิดกึ่งถาวร : สิทธิที่ยังเข้าไม่ถึง ? และอะไรคือช่องว่างที่ต้องการพัฒนา
ในขณะที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการคุมกำเนิด โดยพบว่า อัตราการเจริญพันธุ์รวมของสตรีไทย มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในปี 2561 เฉลี่ยสตรี 1 คน มีบุตร 1.5 คน แต่การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยยังพบปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ร้อยละ 10.8 ในปี 2560 การช่วยชะลอการตั้งครรภ์ และลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นจะได้ผลดีนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เสนอว่าควรให้วัยรุ่นคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด แต่การเข้าถึงยาคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรยังมีข้อจำกัด
วัยรุ่นไม่ทราบสิทธิ์ตนเอง...
ผู้ใหญ่มองว่า การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นนั้นเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกภาคส่วนควรตระหนัก
ผู้ใหญ่มองว่า การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นนั้นเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกภาคส่วนควรตระหนัก
ด้านความเป็นความตาย เพราะวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่หาทางออกไม่ได้อาจไปทำแท้งไม่ปลอดภัยที่เป็นอันตรายต่อตนเอง ซื้อยาแท้งมากินเอง อาจบาดเจ็บ ติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตได้ในที่สุด
ด้านเศรษฐกิจ คือ เมื่อวัยรุ่นตั้งครรภ์ทำให้ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษา ทำให้มีความรู้น้อย ไม่สามารถทำงานที่มีรายได้สูงได้
ด้านสุขภาพ แม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ในวัยที่ยังไม่พร้อมในการดูแลตนเอง ขาดความรู้ในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข อาจไม่ได้ฝากครรภ์ตามกำหนด ทารกอาจคลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวน้อย
ด้านเด็กที่เกิดมา วัยรุ่นอาจมีข้อจำกัดในการเลี้ยงลูกที่เกิดมาอย่างเหมาะสมได้ มีความกดดันหลายด้าน ทำให้อาจทอดทิ้งลูกตามสถานที่ต่างๆ
เหล่านี้ทำให้มีผลกระทบต่อรายได้ประชาชาติโดยรวม ซึ่งนั่นหมายถึงอนาคตของประเทศไทย
ทุกภาคส่วนจึงช่วยกันแก้ไขปัญหาท้องในวัยรุ่นตามกฎหมาย พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เช่น...
การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา Medabon (ยาทำแท้ง) ในประเทศไทย
ปี 2555 ประเทศไทยได้นำยายุติการตั้งครรภ์ หรือ Medabon ซึ่งมีตัวยยามิฟิพริสโตน (หรือที่รู้จักในชื่อการค้า RU486) และ ไมโซโพรสตอล (ไซโตเทค) บรรจุในแผงเดียวกัน เพื่อใช้ในโครงการศึกษาวิจัยนำร่อง ผลการวิจัยพบว่า ยา Medabon มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการยุติตั้งครรภ์มากกว่าร้อยละ 95
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ขึ้นทะเบียนยาตัวนี้ และบรรจุยาไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อใช้ในทางการแพทย์ และเป็นยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น มีให้บริการเฉพาะที่สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนสมัครรับยาจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อยาทำแท้งได้จากร้านยา...
1663 สายด่วนท้องไม่พร้อม ! นโยบายจากกระทรวง สธ. แก้ไขปัญหาการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
https://www.youtube.com/watch?time_continue=102&v=oS_gMZ_qbl0
"... ด้วยข้อกฎหมายในอดีตมันเหมือนมองว่าการยุติการตั้งครรภ์ที่เราเรียกว่าทำแท้งมันถูกตราว่าผิดกฎหมาย แต่ในปัจจุบันต้องทำความเข้าใจใหม่ว่ากฎหมายได้เปิดช่องให้มารดาได้มีลูกที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันแพทย์ก็มีข้อบังคับแพทยสภาที่จะดูแลทุกคนให้ยุติตั้งครรภ์ปลอดภัย ต้องลบความคิดที่ว่า การทำแท้งผิดกฎหมาย แต่การทำแท้งที่มีกฎหมายรองรับและมีกระบวนการที่ถูกต้องเท่านั้นที่กรมอนามัยให้นโยบายไว้เป็นแนวทางที่ต้องปฎิบัติให้ถูกต้อง..."
นายแพทย์บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย
ที่มา : https://med.mahidol.ac.th พบหมอรามา ช่วง RamaHealthTalk
โดย นายแพทย์บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย ออกอากาศเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2562
Live ประชุมเปิดโครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม
โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ดำเนินงานโดยความร่วมมือระหว่าง เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ภายใต้สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
มีเป้าหมายในการพัฒนาเครือข่ายบริการทั้งตั้งครรภ์ต่อและยุติการตั้งครรภ์ ให้มีความเข้มแข็ง เข้าถึงได้ ให้บริการได้อย่างปลอดภัยและเป็นมิตร รวมทั้งการแสวงหาความต่อเนื่องในการดำเนินงานได้อย่างยั่งยืนในระบบต่อไป โดยมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับโครงการสายปรึกษาทางเลือกท้องไม่พร้อม 1663 ระยะเวลาดำเนินการ 24 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561...
“หนัง (มัน)สั้น แต่รักฉันยาว” มุมมองของคนทำหนังโดยเยาวชนกับประเด็นท้องวัยรุ่น
จากการประกวดคลิป "หนัง(มัน)สั้น แต่รักฉันยาว" ให้เยาวชนส่งผลงานเข้าประกวดคลิปหนังสั้น โดยมีผลงานส่งเข้าประกวดกว่า 260 เรื่อง ซึ่งผ่านเข้ารอบเพียง 10 เรื่อง ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมตอนปลายและประกาศนียบัตร (ปวช.) และระดับมหาวิทยาลัยและประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) ซึ่งเรื่องที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ เรื่อง "รักผิดชอบ" จากทีม เจค ว.2 และ เรื่อง...
ความสำเร็จในการเดินทางของยายุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) จากใต้ดินสู่ระบบบริการสุขภาพ
2541 แพทย์และนักวิชาการทั่วโลกมีการปรึกษาหารือเรื่องยายุติการตั้งครรภ์เพื่อลดการตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย
2547 องค์การอนามัยโลก ศึกษาวิจัยระดับโลก ผลยืนยันว่ายาปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ และบรรจุในบัญชียาหลักของโลก
2548 เริ่มศึกษายาครั้งแรกในประเทศไทย แต่การที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ การทำแท้งเป็นเรื่องบาป เชื่อว่าผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่ดี เด็กวัยรุ่นสำส่อน อีกทั้งกฎหมายคลุมเครือ สังคมเชื่อว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี มายาคติเหล่านี้ส่งผลให้มียาทำแท้งเถื่อนคุณภาพต่ำเกลื่อน ราคาแพง หาซื้อได้ทางออนไลน์ แต่กลับไม่มีบริการในระบบสุขภาพ
2554 เริ่มความพยามอีกครั้ง เพื่อให้ประเทศไทยมียาที่มีประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ขับเคลื่อน เริ่มจากการศึกษาวิจัยการใช้ยาในระบบบริการ ไปพร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจต่อคนในสังคม...
มุมมองของแพทย์ต่อการทำแท้งที่ปลอดภัย
นำทีมโดย ศ.คลินิกเกียรติคุณ พญ.วิบูลพรรณ ฐิตะดิลก ศ.เกียรติคุณ นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นพ.พิษณุ ขันติพงษ์ และ ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ
“งานช่วยเหลือท้องไม่พร้อม ต้องเริ่มที่เรื่องของทัศนคติ/มุมมอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ กฎหมายอาญาและข้อบังคับแพทยสภาได้ระบุชัดเจน ให้สามารถทำแท้งได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดยปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของแพทย์ก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่ง "ทัศนคติ" จะเป็นตัวกำหนดว่าเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย”
หากปรับเปลี่ยนทัศนคติได้ ก็จะสามารถให้บริการได้ “แพทย์ควรมองว่าคนที่ตั้งครรภ์ คือคนที่กำลังทุกข์ ต้องการรักษา...
การบาดเจ็บการตายจากการทำแท้งเถื่อนยังมีอยู่จริง
Sex symposium มันมีชื่อไทยว่า “การประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ ๓ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จากยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน” จะยาวไปไหนวะ มันถูกจัดขึ้นมาโดย สสส. และหน่วยงานใหญ่ๆร่วมด้วยอีกหลายหน่วยงาน เค้าเชิญผมมาร่วมในการบรรยายในหัวเรื่อง “มุมมองของแพทย์ต่อการทำแท้งที่ปลอดภัย”
“ชื่อเชยจังครับอาจารย์” ผมบอกกับอาจารย์ที่เคารพรักในฐานะที่ท่านจะเป็นผู้ดำเนินรายการในช่วงผม ท่านเคยเป็นประธานราชวิทยาลัยสูติฯ ของผมเอง ท่านบอกว่า กลัวคนไม่เข้าฟัง
“ก็เล่นตั้งขื่อเสียแบบนี้” ผมยังไม่เลิก“แล้วแป๊ะจะตั้งขื่อว่าอย่างไร” เลยถูกท่านย้อนกลับ“หมอ ช่วยหนูด้วย หนูท้อง” ผมเสนอ
ห้องของผม...