วิธีการฝังยาคุมกำเนิดชนิด 1 หลอด
https://www.youtube.com/watch?v=RVkHCRMVw9o#action=share
วิธีการฝังยาคุมกำเนิดชนิด 1 หลอด มีระยะคุมกำเนิดได้นาน 3 ปี ไม่เจ็บ ไม่เย็บ แผลหายเอง
สปสช.ร่วมกับ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย ได้จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยให้บริการยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัยในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่อยู่ในภาวะหลังคลอด หรือแท้ง หรือต้องการคุมกำเนิดในทุกสิทธิสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (30 บาทรักษาทุกโรค) สิทธิประกันสังคม หรือสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ฟรี...
9 เรื่องจริงที่ต้องรู้เรื่องยาฝังคุมกำเนิด
ยาฝังคุมกำเนิดเป็นวิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราว ตัวยาเป็นฮอร์โมนโปรเจสโตเจนเช่นเดียวกับยาฉีดคุมกำเนิด กลไกการคุมกำเนิด คือ ทำให้มูกที่ปากมดลูกข้นเหนียวจนตัวอสุจิผ่านเข้าโพรงมดลูกได้ยาก และยับยั้งการตกไข่
2. สามารถคุมกำเนิดได้ในระยะเวลา 3 ปี และ 5 ปี แล้วแต่ชนิดของยา ให้ประสิทธิภาพสูงถึงร้อยละ 99
3. การฝังยาฝังคุมกำเนิด จะฝังหลอดยาบริเวณต้นแขนด้านใน กึ่งกลางระหว่างรักแร้และข้อศอก เข้าไปใต้ผิวหนังแผลจะเล็กมากไม่ต้องเย็บแผลเพียงปิดด้วยพลาสเตอร์เล็ก ๆ แผลจะหายเป็นปกติภายใน 3-5 วัน หลังจากทำไปแล้วไม่ให้ถูกน้ำ...
ท้องที่โตขึ้นต้องใช้จำนวนเม็ดยาทำแท้งมากขึ้นหรือไม่
ท้องที่โตขึ้นต้องใช้จำนวนเม็ดยาทำแท้งมากขึ้นหรือไม่
คำตอบ การใช้ขนาดของยายุติการตั้งครรภ์จะลดลงตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น โดยกำหนดช่วงห่างของการใช้ตามพัฒนาการของอาการและอายุครรภ์ ต้องใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวังเนื่องจากมีความเสี่ยงที่มดลูกจะแตกได้ อีกทั้งเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักจะขายยาทำแท้งในปริมาณที่มากขึ้นตามอายุครรภ์ ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิต
ปรึกษาสุขภาพจิต
สถานบริการด้านสุขภาพจิต ในสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(Department of Mental Health Ministry of Public Health.)
เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรง ในการพัฒนางานสุขภาพจิตของประเทศ โดยมีภารกิจหลักเกี่ยวกับ การพัฒนาวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีการส่งเสริม ป้องกันปัญหายาเสพติด บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งจัดให้มีบริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วย ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและประชาชน โดยมีสถานบริการทั่วประเทศทั้งสิ้น 19 แห่ง...
สิทธิในการเลือกคือ“สิทธิของผู้ป่วย”
สิทธิในการเลือกคือ “สิทธิของผู้ป่วย”
ตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วย 9 ข้อ มีข้อที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อมอยู่ 2 ข้อ ได้แก่
ข้อ 1 ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพตามมาตรฐานวิชาชีพจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
สิทธิข้อนี้รวมถึงบริการปรึกษาทางเลือก และบริการที่สอดคล้องกับทางเลือกกรณีที่ท้องไม่พร้อม แม้ว่าในปัจจุบันสถานบริการด้านสาธารณสุขจำนวนมาก จะยังไม่มีความพร้อมที่จะให้บริการในทุกด้านโดยเฉพาะบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (ทำแท้งถูกกฎหมาย) แต่เราควรตระหนักว่านี่คือ สิทธิอันชอบธรรมโดยพื้นฐานที่เราควรจะได้รับบริการเหล่านี้ และหากสถานบริการสาธารณสุขนั้นๆ ไม่พร้อมที่จะให้บริการเราควรมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลและการส่งต่อไปยังสถานบริการสาธารณสุขที่มีความพร้อม แม้ว่าผู้ให้บริการสาธารณสุขแต่ละคนอาจจะมีทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมแตกต่างกัน แต่ผู้ให้บริการมีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ประสบปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่มาขอรับบริการ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติงานบนฐานทัศนคติส่วนบุคคลของตนเอง และควรมองเห็นว่าผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมมาขอรับบริการ คือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ และสมควรได้รับการช่วยเหลือ เช่นเดียวกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ อย่างเสมอภาคเท่าเทียม
ข้อ...
ทำแท้งได้มีกฎหมายรองรับ
ยุติการตั้งครรภ์(ทำแท้ง) ทำได้มีกม.รองรับ หมอสูติฯ มอ. เผยการยุติการตั้งครรภ์ทำได้เพราะมีกฎหมายรองรับ แนะควรคำนึงถึงสุขภาพใจของผู้รับบริการเป็นหลัก
จากสถิติการสำรวจสถานการณ์การยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทยของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พ.ศ. ๒๕๕๕ มีอัตราการเสียชีวิตจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยของผู้หญิงไทยปีละ ๒๕–๓๐ คน และบาดเจ็บเพราะภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยประมาน ๓๐,๐๐๐ คน
นายธนพันธ์ ชูบุญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า การยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) สามารถทำได้โดยขึ้นอยู่กับสองเหตุผล
ประการแรก : เหตุผลทางกฎหมาย...
ความจำเป็นในการจัดหาเครือข่ายRSA
วัยรุ่นหญิงและสตรียังบาดเจ็บ มีภาวะจากการแทรกซ้อน และเสียชีวิตจากการทำแท้งเถื่อนที่ไม่ปลอดภัย และราคาแพงในเกือบทุกจังหวัดของประเทศ ทั้งๆ ที่หลายรายมีความจำเป็น และเข้าข่ายการทำแท้งตามกฎหมายโดยแพทย์ได้ แต่หาแพทย์ให้บริการได้ยาก เช่น ผู้ตั้งครรภ์เป็นผู้เยาว์อายุน้อยกว่า 15 ปี การเจ็บป่วยทางกายของผู้หญิง ภาวะทางจิต เครียด ซึมเศร้า ตัวอ่อนในท้องป่วย หรือพิการรุนแรงในครรภ์ การคุมกำเนิดผิดพลาด การถูกข่มขืน/ล่อลวง หรืออื่นๆ และมีผลกระทบต่อสังคม เช่น การทิ้งเด็ก...
16 ตัวอย่าง ท้องไม่พร้อมที่ยุติการตั้งครรภ์ได้ตามกฎหมาย
เมื่อทางเลือกคือยุติการตั้งครรภ์ "การทำแท้ง” หรือ “ยุติการตั้งครรภ์” ผิดกฎหมายหรือไม่?
เป็นความเข้าใจที่ “ผิด” ว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี เพราะประเทศต่างๆ ในโลกนี้ ได้ให้การยุติการตั้งครรภ์ เป็นทางเลือกที่ผู้หญิงท้องไม่พร้อม โดยมีข้อกฎหมายในแต่ละประเทศแตกต่างกัน
ประเทศไทย การยุติการตั้งครรภ์ สามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายในกรณีต่อไปนี้
การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางกายของผู้หญิง
การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง
ตัวอ่อนในครรภ์มีความพิการรุนแรง
การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา
การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี
การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร...
วิธีการใช้ยา และผลข้างเคียงของยาทำแท้ง
การใช้ยาทำแท้ง คือ การยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ Mifepristone (หรือ RU-486 ชื่อการค้าที่เห็นในอินเทอร์เน็ตจากเว็บขายยาเถื่อน) และ Misoprostal (ไซโตเทค) สองตัวร่วมกัน พบว่า มีประสิทธิภาพดีกว่า หรือ อาจใช้ Misoprostal เพียงตัวเดียวก็ได้ แต่ประสิทธิภาพจะลดลงเล็กน้อย โดยยาทั้งสองมีวิธีการใช้และอาการข้างเคียงดังนี้
Mifepristone ใช้โดยการกินและดื่มน้ำตาม ไม่มีอาการข้างเคียง Misoprostal ใช้โดยการอมใต้ลิ้นห้ามกลืน...
การปรึกษาทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อม Options counseling
สิ่งที่ผู้หญิงต้องการทันทีที่พบว่าตนเองตั้งท้องโดยไม่มีความพร้อมคือ ผู้ที่สามารถรับฟังปัญหาอย่างเป็นมิตรโดยไม่ซ้ำเติม/ไม่ตัดสินคุณค่า และให้ข้อมูลรอบด้านเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งความช่วยเหลือที่สอดคล้องกับสถานการณ์และเงื่อนไขชีวิต เพื่อนำมาช่วยคลี่คลายและแก้ปัญหาได้จริงสถานบริการจึงจำเป็นต้องมีผู้ให้บริการปรึกษาทางเลือก เพื่อให้ผู้หญิงได้ตัดสินใจทางเลือกที่สอดคล้องกับเงื่อนไขการดำเนินชีวิต ศักยภาพของตนเอง สามารถปฏิบัติได้จริง และมีความพร้อมในการรับผลที่ตามมาจากการตัดสินใจได้
การปรึกษาทางเลือกมุ่งให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม รับรู้ข้อมูลทางเลือกอย่างเพียงพอและชัดเจน เพื่อคลี่คลายความรู้สึก มีความเข้าใจ มีความเข้มแข็ง เห็นทางออกชีวิต และสามารถตัดสินใจต่อปัญหาที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ โดยผู้ให้การปรึกษาทางเลือกมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (อ้างอิง :เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม)
มีทักษะในการให้บริการปรึกษา มีทัศนะที่เป็นกลาง และเท่าทันต่ออคติตนเองที่เกี่ยวข้องกับท้องไม่พร้อม มีความละเอียดอ่อนต่อประเด็นเชิงเพศภาวะ...