Live ท้องไม่พร้อมต้องพร้อมเข้าใจ – นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์
https://www.youtube.com/watch?v=gVUPsRITDgw&t=1s
"ปัญหาทุกปัญหาให้คิดก่อนว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา และวิธีที่จะแก้ไขง่ายที่สุดคือการแก้ที่ตัวเอง คนอื่นไม่เข้าใจไม่เป็นไร…ขอให้เข้าใจและทำความเข้าใจตัวเองว่าทำเพื่ออะไร เมื่อเกิดการเข้าใจตัวเองจึงสื่อสารความตั้งใจสู่คนอื่น แม้การที่เราส่งข้อมูลไป เขาอาจเข้าใจ/ไม่เข้าใจ อย่าโกรธคนที่เห็นไม่ตรงกับเรา เพราะเขาอาจมีมุมมอง ทัศนคติ ความเชื่อ ที่ต่างจากเรา"โดย นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี และประธานคณะอนุกรรมการการศึกษา ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=gVUPsRITDgw ท้องไม่พร้อม ต้องพร้อมเข้าใจ การประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคกลาง...
การประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคอีสาน
เมื่อวันที่ 14 – 15 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดการประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคอีสาน ณ โรงแรมริเวอร์ ซิตี้มุกดาหาร โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม
โดยมีเป้าหมายให้การดำเนินงานเครือข่ายอาสา RSA (Referral system...
เปิดรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้หญิงในภาวะวิกฤตจากความรุนแรงทางเพศและตั้งครรภ์ไม่พร้อม เพื่อระดมทุนนำรายได้ทั้งหมดเข้ากองทุนช่วยเหลือผู้หญิง
ลิงค์สำหรับ ร่วมบริจาคเพื่อสั่งซื้อเสื้อยืดรณรงค์ RSA ออนไลน์ https://rsathai.org/campaign-aug2019
โครงการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงในภาวะวิกฤด จากความรุนแรงทางเพศและตั้งครรภ์ไม่พร้อมภายใต้เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม
ในช่วง 5 ปีแรกของการดำเนินงานเครือข่ายฯ ส่วนใหญ่เข้าถึงผู้หญิงที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมผ่านศูนย์พึ่งได้ และองค์กรสมาชิกเครือข่ายฯ จำนวนผู้หญิงที่เครือข่ายฯ ให้การสนับสนุนช่วยเหลือจึงมีไม่มากนัก แต่เมื่อมีองค์กรสมาชิกที่เปิดให้บริการสายด่วนเพื่อรับปรึกษาเรื่องท้องไม่พร้อมทางโทรศัพท์เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มทำทาง สายด่วน 1663 และสายด่วน 1300 ช่วยเหลือสังคม ทำให้เครือข่ายฯ ได้รับการประสานเพื่อส่งต่อผู้หญิงท้องไม่พร้อมจำนวนปีละหลายร้อยราย โดยมีผู้หญิงจำนวนหนึ่งอยู่ในภาวะยากลำบาก ยากจน...
ชวนรับชม Live ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น วันที่ 11 กรกฎาคม 2562
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การจัดแสดงผลงานเด่นของหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนการมอบโล่และเกียรติบัตรแก่หน่วยงานที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สาธารณสุข การศึกษา ภาคีเครือข่าย และผู้สนใจทั่วไป ระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรมแอมบาสชาเดอร์ สุชุมวิท 11 กรุงเทพฯ
โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม...
ชวนรับชม Broadcast Women’s Health online class 3
วันนี้ พฤหัสบดีที่ 4 กรกฏาคม 2562 เวลา 12.00 - 13.30 น.ชวนรับชม Broadcast Women's Health online class 3
หัวข้อการบรรยาย
12.00-12.10 น. กล่าวเปิด โดย นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์12.10-12.30 น.สิทธิประโยชน์เพื่อสนับสนุนการป้องกันและควบคุมการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการป้องก้นการยุติการดั่งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย...
6 ข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนา “แนวทางการบริการและคุ้มครองสิทธิ์ของวัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ตั้งครรภ์ต่อ”
จากการประชุมเรื่อง “สังคม (ไม่)ทําอะไรกับท้องของวัยรุ่น” จัดโดยเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมครั้งที่46 (1/2562 ) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562 ในงานประชุมวิชาการสุขภาวะทางเพศระดับชาติครั้งที่ 3 ณ โรงแรม เซ็นทราศูนย์ประชุมวายุภักดิ์
สาระสำคัญของการประชุม
ผู้หญิงท้องต่อส่วนใหญ่อยู่ในภาวะจำยอม เพราะไม่สามารถทำแท้งได้เนื่องจากมีอายุครรภ์ที่สูง มีความเสี่ยงสูงต่อการทำแท้งเองและไม่ปลอดภัยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่จะรู้สึกโดดเดี่ยว และต้องปรับตัวเพื่อให้เกิดการยอมรับที่ตนเองจะต้องท้องต่อจนคลอดต่อไปผู้หญิงท้องไม่พร้อมและท้องต่อในลักษณะนี้จำนวนมากจึงไม่ได้ฝากครรภ์หรือมาฝากเมื่ออายุครรภ์มากแล้วใกล้คลอดและอาจตกอยู่ในสภาวการณ์เปราะบาง ต่อการตัดสินใจทิ้งลูกเมื่อคลอดแล้ว พบตัวอย่างกรณีวัยรุ่นท้องในชุมชน
จากประสบการณ์ของโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดนครพนมวัยรุ่นยังไม่รู้สึกปลอดภัยหรือไว้วางใจเมื่อต้องเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือที่ซับซ้อน...
ศูนย์พึ่งได้ มีบริการปรึกษาทางเลือกและช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม พญ. จรรยาภรณ์ รัตนโกศล โรงพยาบาลขอนแก่น
"กรณีที่ท้องไม่พร้อม และตัดสินใจแล้วว่าจะยุติการตั้งครรภ์ ให้โทรไปที่ 1663 จะมีคำแนะนำต่าง ๆ รวมถึงการส่งต่อบริการที่ใกล้ในการให้บริการมากที่สุด และมีบริการในโรงพยาบาลที่ศูนย์พึ่งได้จะมีบริการให้การปรึกษากรณีที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมว่ามีทางเลือกอย่างไรบ้าง ทุกโรงพยาบาลถึงแม้จะไม่มีศูนย์พึ่งได้ ก็จะมีคลินิกให้การปรึกษา ซึ่งสามารถที่จะให้การปรึกษาและส่งต่อให้ได้รับบริการที่ปลอดภัยได้
คิดให้รอบคอบว่า ตั้งครรภ์ต่อแล้วจะมีผลอย่างไร หรือยุติการตั้งครรภ์จะมีผลอย่างไร ตัดสินใจด้วยตัวเอง เมื่อตัดสินใจแล้วว่าการตั้งครรภ์ครั้งนี้มีผลกระทบต่อเรา หรือในอนาคต หรือเด็กที่จะเกิดมา เราต้องช่วยกันรับผิดชอบ รับผิดชอบตัวเราเอง รับผิดชอบต่อสังคม
RSA คือ กลุ่มแพทย์ที่รวมตัวกัน...
รายงานสถานการณ์ประชากรโลก 2562 ภารกิจที่ยังไม่สำเร็จ—การตามหาสิทธิและทางเลือกให้กับทุกคน
สิทธิและทางเลือกด้านอนามัยการเจริญพันธุ์เกิดขึ้นจริงในชีวิตของผู้หญิงหลายคนในยุคสมัยนี้ แต่เรายังไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ยังมีผู้หญิงอีกเป็นจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงสิทธิดังกล่าว ความท้าทายของเราคือการบรรลุภารกิจที่ยังไม่สำเร็จในการทำให้ทุกคนเข้าถึงสิทธิและทางเลือกด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ อ่านรายงานล่าสุดของ UNFPA เกี่ยวกับรายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2019 ซึ่งตีพิมพ์ในปีที่ครบรอบ 50 ปีของ UNFPA และครบรอบ 25 ปีของแผนปฏิบัติการที่ได้ตกลงกันไว้ในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยประชากรและการพัฒนา (ICPD) ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์
อ่านรายงานที่นี่
ที่มา :https://thailand.unfpa.org
ทำความรู้จักและเข้าถึงเครือข่าย RSA (Referral system for Safe abortion)
วัยรุ่นและผู้หญิงยังบาดเจ็บ มีภาวะจากการแทรกซ้อน และเสียชีวิตจากการทำแท้งเถื่อนที่ไม่ปลอดภัย และราคาแพงในเกือบทุกจังหวัดของประเทศ ทั้งๆ ที่หลายรายมีความจำเป็น และเข้าข่ายการทำแท้งตามกฎหมายโดยแพทย์ได้ แต่หาแพทย์ให้บริการได้ยาก เช่น ผู้ตั้งครรภ์เป็นผู้เยาว์อายุน้อยกว่า 15 ปี การเจ็บป่วยทางกายของผู้หญิง ภาวะทางจิต เครียด ซึมเศร้า ตัวอ่อนในท้องป่วย หรือพิการรุนแรงในครรภ์ การคุมกำเนิดผิดพลาด การถูกข่มขืน/ล่อลวง หรืออื่นๆ และมีผลกระทบต่อสังคม เช่น การทิ้งเด็ก...
Twitter – RSATHAI
ดำเนินงานภายใต้ เครือข่ายอาสาRSA มีเป้าหมายเพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจ ลดอคติทางสังคม ในประเด็นท้องไม่พร้อม เข้าใจผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม แพทย์ผู้ให้บริการ ตลอดจนหน่วยงานที่ทำงานเพื่อการป้องกันท้องไม่พร้อม