ประจำเดือน 101 : ป้องกันการปวดท้องประจำเดือน
ขณะมีประจำเดือนอาจมีอาการปวดท้องน้อยได้ อาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นเนื่องจาก มีเลือดคั่ง หรือมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อมดลูกในระหว่างมีประจำเดือนเพราะกล้ามเนื้อมดลูกบีบรัดตัวเพื่อขับเลือดออก
อาการปวดประจำเดือน หรือปวดท้องเมนส์โดยทั่วไป เกิดขึ้นเนื่องจากผนังมดลูกมีการสร้างสารชนิดหนึ่ง คือ โพรสตาแแกลนดิน หลั่งออกมามากทำให้มีการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก หดรัดตัวแรงขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เส้นเสือดในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายหดรัดตัวด้วย จึงทำให้ขณะมีประจำเดือนผู้หญิง บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ ท้องเดิน ซึ่งอาการเหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติ
อาการปวดประจำเดือนมักจะเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ บางคนจะเริ่มปวดตื้อ ๆ ก่อนที่จะมีประจำเดือน...
ประจำเดือน 101 : รู้ทันเพื่อรับมือกับวันนั้นของเดือน
ประจำเดือน รอบเดือน ระดู หรือ เมนส์ มาจากภาษาอังกฤษว่า Menstruation เป็นสัญญาณบอกว่า "ฉันเป็นสาวแล้วนะ" และพร้อมที่จะตั้งครรภ์ได้แล้ว ผู้หญิงอย่างเราเกิดมาพร้อมกับไข่ประมาณ 250,000 ใบในรังไข่แต่ละข้าง แต่จะมีไข่ที่เติบโตทั้งหมดราว 400 กว่าใบเท่านั้น ในแต่ละเดือน ร่างกายจะปล่อยไข่ออกจากรังไข่หนึ่งใบ ไข่ใบนี้จะเคลื่อนไปตามท่อรังไข่ หรือปีกมดลูกไปยังมดลูก ถ้าไข่มีการผสมกับอสุจิในช่วงนี้ จะเกิดการปฏิสนธิ ซึ่งไข่ที่ผสมแล้วจะเคลื่อนตัวไปฝังที่ผนังมดลูกซึ่งหนานุ่มและเป็นบริเวณที่ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตต่อไป แต่ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมร่างกายก็จะปล่อยให้ผนังมดลูกและไข่สลายตัวออกมาทางช่องคลอดกลายเป็น...
ประจำเดือน 101 : ประจำเดือนคือเลือดเสียหรือไม่ ?
การมีประจำเดือนที่ผู้หญิงหลายคนมักจะเรียกหรือรู้จักกันว่า "เมนส์" หรือ "ระดู" มักเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ที่ทำให้ผู้หญิงมีรูปร่างและมีกลิ่นตัวเฉพาะที่แตกต่างไปจากผู้ชาย ทั้งนี้เนื่องมาจากสารที่ร่างกายสร้างขึ้นในผู้หญิงแตกต่างจากในผู้ชาย สารดังกล่าวนี้ยังส่งผลทำให้เกิดประจำเดือนในผู้หญิงด้วย
ปกติเด็กผู้หญิงจะมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 11 - 15 ปี เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสาว รังไข่ทั้งสองข้างที่ติดกับมดลูกจะเจริญเติบโตเต็มที่และพร้อมที่จะผลิตไข่ออกมาทุกเดือน
โดยปกติจะมีไข่ตกจากรังไข่เดือนละ 1 ฟองสลับกันเดือนละข้าง เมื่อไข่ตกจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ท่อนำไข่และไปฝังตัวที่ผนังมดลูก ซึ่งจะมีลักษณะหนาขึ้นเพราะสะสมสารอาหารต่างๆ เอาไว้สำหรับเลี้ยงตัวอ่อน หากไข่ไม่ได้ผสมกับเชื้ออสุจิ ผนังก็จะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน...
การเกิดจากท้องที่ตั้งใจต้องให้ผู้หญิงมีส่วนตัดสินใจเลือกเอง
ในทศวรรษนี้ สังคมไทยกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงสำคัญ นั่นคือ การเป็นสังคมสูงวัย ด้วยอัตราการเกิดที่ลดลง สวนทางกับสถิติแม่วัยรุ่นที่เพิ่มขึ้นและด้วยคำถามสำคัญถึงการเกิดและการมีชีวิตอยู่ อย่างมีคุณภาพของสังคมไทย เรื่องของท้องไม่พร้อมกับการเกิดจึงสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก โดยเฉพาะเมื่อมองจากมุมของสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ แต่ความยากลำบากอย่างยิ่งของการทำความเข้าใจเรื่องท้องไม่พร้อมกับการเกิดก็คือ การที่ร่างกายผู้หญิงเป็นพื้นที่ต่อสู้รองรับอุดมการณ์หลายอย่างเกินไป เริ่มจาก...
อุดมการณ์เรื่องเพศ ที่กำหนดแบบแผนปฏิบัติไว้อย่างแข็งตัว เช่น อนุญาตให้มีได้ในสถาบันการแต่งงานในวัยอันสมควร และในความสัมพันธ์ต่างเพศ ฯลฯ
อุดมการณ์เรื่องผู้ชายเป็นใหญ่ ที่ยอมรับอิทธิพลของผู้ชายในการกำหนดความเป็นไปของชีวิตทางสังคมมากกว่าผู้หญิง แม้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิงเองก็ตาม
อุดมการณ์ครอบครัวสมบูรณ์ ที่สร้างระบบคุณค่าให้ความสำคัญกับการเกิดและการมีลูก โดยวางเฉยไม่เห็นว่าความตั้งใจ/ไม่ตั้งใจท้อง หรือความพร้อม/ไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ของผู้หญิง
เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการตัดสินใจ ผู้หญิงจำนวนมากต้องเสียลละความต้องการ...
สาเหตุของการท้องไม่พร้อมในประเทศไทย
จากการรวบรวมงานศึกษาวิจัยต่างๆ รวมทั้งข้อมูลจากการให้บริการปรึกษาทางเลือก พบว่า สาเหตุที่ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมมาจากปัจจัยต่างๆ โดยประมวลตามปัจจัยได้ ดังต่อไปนี้
สาเหตุจากที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้
ไม่ใช้วิธีการใดๆ ในการคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จากประสบการณ์ของสมาชิกเครือข่ายฯ ในการให้การปรึกษาทั้งตั้งต่อตัวและทางโทรศัพท์ พบว่าผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมกว่าร้อยละ 50 ตั้งครรภ์เพราะไม่ได้คุมกำเนิด
ใช้วิธีการคุมกำเนิดไม่ถูกต้อง เช่น ลืมกินยา กินยาไม่ตรงเวลา ถุงยางอนามัยแตกระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ไม่ไปฉีดยาตรงตามกำหนดนัด เป็นต้น
ใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การนับระยะปลอดภัย การหลั่งภายนอก หรือ การใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีการคุมกำเนิดหลักแทนที่จะใช้เมื่อฉุกเฉินเท่านั้น
สาเหตุที่ทำให้การตั้งครรภ์นั้นไม่พร้อม
เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ความไม่พร้อมอาจจะมาจากเหตุในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
ด้านสุขภาพผู้หญิง
...
การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย มีวิธีดูเบื้องต้นใน 4 ประเด็นดังต่อไปนี้
การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย มีวิธีดูเบื้องต้นใน 4 ประเด็นดังต่อไปนี้
สถานบริการ สถานบริการไม่มีสุขลักษณะที่ดี สภาพโดยทั่วไปไม่สมกับเป็นสถานบริการสุขภาพไม่มีเอกสารการจดทะเบียนแสดงให้เห็นชัดเจนในสถานบริการผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการแอบอ้างว่าเป็นแพทย์ ไม่มีเอกสารประกอบวิชาชีพเวชกรรมแสดงให้เห็นชัดเจนที่สถานบริการวิธีการยุติการทำแท้ง
วิธีการ : ใช้ของมีคมแทงไปที่ช่องคลอด/มดลูก , ฉีดน้ำ น้ำเกลือ หรือสารเคมีต่างๆ เข้าไปในช่องคลอด/มดลูก, การบีบ เหยียบ รีดที่ท้องน้อย
การใช้ยา : ไม่มีการซักถามอายุครรภ์ (โดยมักอ้างว่าใช้ยาได้ในทุกอายุครรภ์) , ไม่การซักประวัติการแพ้ยา และโรคประจำตัว, แหล่งที่ขายยาดูไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีหน่วยงานอ้างอิง หรือแอบอ้างชื่อหน่วยงานอื่นๆ
อายุครรภ์ อ้างว่าสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ในทุกอายุครรภ์ โดยไม่มีข้อยกเว้น
ที่มา : หนังสือเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม
รู้หรือไม่ ยายุติตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ใช้ในอายุครรภ์เท่าไรจึงปลอดภัย
รู้หรือไม่ ? ยายุติตั้งครรภ์ใช้ในอายุครรภ์เท่าไรจึงปลอดภัย
ตอบ อายุครรภ์มีความสำคัญมากต่อขนาดยา จำนวนเม็ดยา และระยะห่างของการใช้ การนับอายุครรภ์เองอาจพบความผิดพลาดได้ ดังนั้นจึงควรอัลตร้าซาวด์เพื่อความแน่นอน ผลตรวจอัลตร้าซาวด์ควรเป็นผลล่าสุด เช่น ตรวจเมื่อสองสัปดาห์ก่อน อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ ปัจจุบันอายุครรภ์ก็จะเป็น 9+2 คือ 11 สัปดาห์
ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยาสามารถใช้ได้จนถึงอายุครรภ์ที่ 24 สัปดาห์ แต่ว่าในแต่ละช่วงนั้นใช้ขนาดยา วิธีการใช้ ระยะห่างการใช้ยา และวิธีการดูแล...
สิทธิประโยชน์ทางเลือกคุมกำเนิด ฟรี สำหรับวัยรุ่น
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการ “การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่น” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้วัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่อยู่ ในภาวะหลังคลอด หรือแท้ง หรือต้องการคุมกำเนิด ได้เว้นช่วงการมีบุตรด้วยการใช้วิธีคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวรที่ออกฤทธิ์ได้นาน 3, 5 ปี
หลักเกณฑ์การให้บริการคุมกำเนิดแก่วัยรุ่น
เป็นการให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป
บริการคุมกำเนิดกึ่งถาวร หมายถึง...
สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2560
ที่มา : กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข
รายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561
กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ออกรายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561 โดยเน้น "พลังของทางเลือก" และมีชื่อรายงานเต็มว่า "พลังของทางเลือก: สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และการเปลี่ยนผ่านทางโครงสร้างประชากร" รายงานฉบับนี้นำเสนอมุมมองเชิงลึกเพื่อให้เห็นถึงพลังที่มาจากการได้เลือกจำนวนบุตร ช่วงเวลาในการมีบุตร และ ระยะเว้นห่างการมีบุตรว่าสามารถช่วยสนับสนุนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกได้อย่างไร
อ่านรายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561
https://www.youtube.com/watch?v=u0qH40svEF8
ที่มา : https://thailand.unfpa.org/