ดูแลตั้งครรภ์ต่อ

เตรียมตัวเตรียมใจเผชิญการตั้งครรภ์
เพราะการท้องโดยไม่มีความพร้อม แตกต่างจากการท้องทั่วไป

เมื่อตัดสินใจท้องต่อ การเรียนรู้ การเตรียมตัวเผชิญและรับมือการท้องไม่พร้อม เป็นสิ่งสำคัญ ตั้งสติ หาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือขอรับการปรึกษาจากหน่วยงานช่วยเหลือต่างๆที่จะช่วยบรรเทาและคลี่คลายทีละเรื่อง เพื่อให้เห็นทางออก
ถ้าไม่สามารถบอกใครๆได้ และไม่รู้จะจัดการชีวิตยังไง ควรหาที่ปรึกษาเพื่อเป็นตัวช่วย หรือเจ้าหน้าที่ให้บริการปรึกษาจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ศูนย์พึ่งได้ คลินิกวัยรุ่นของโรงพยาบาล หรือบ้านพักเด็กและครอบครัวในทุกจังหวัด หรือขอรับการปรึกษาจากสายด่วนต่างๆ ซึ่งหลายแห่งก็มีการส่งต่อบริการ โดยการให้บริการดูแลกรณีท้องต่อ
มี 2 ช่วง ได้แก่ การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ และการดูแลหลังคลอด

4 ข้อเสนอเชิงนโยบายฉบับที่ 2 เพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนา “แนวทางการบริการและคุ้มครองสิทธิ์ของวัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ตั้งครรภ์ต่อ”

0
ผู้หญิงท้องไม่พร้อมและต้องท้องต่อนั้นส่วนมากต้องเผชิญปัญหาที่ซับซ้อนและยากลำบากตามบริบทชีวิตของผู้หญิง ว่าเป็น “ท้องต่อในโรงเรียน” “ท้องต่อในชุมชน” และ “ท้องระหว่างอยู่ในเรือนจำ/สถานพินิจ”อย่างไรก็ตาม ทุกคนต้องเผชิญต่อแรงกดดันและแรงเสียดทานที่ถาโถมเข้ามาหา ดังนั้นเมื่อผู้หญิงตัดสินใจท้องต่อไม่ว่าจะอยู่ในบริบทชีวิตแบบไหนช่วงเวลาตั้งครรภ์ต่อจนถึงคลอดจึงเป็นช่วงวิกฤตของชีวิตที่สังคมละเลยและมองไม่เห็น จากประสบการณ์ในการทำงานให้ความช่วยเหลือและจัดบริการสำหรับผู้หญิงท้องไม่พร้อมและท้องต่อ สรุปได้ว่า (1) ผู้ให้บริการจะต้องรับมือกับภาวะอารมณ์ที่ไม่นิ่งของผู้ประสบปัญหาในตลอดช่วงของการทำงานให้ความช่วยเหลือ ดังนั้นผู้ให้บริการจะต้องเข้าใจเงื่อนไขและสถานการณ์เช่นนี้(2) ทักษะสำคัญของผู้ให้บริการคือ ความรอบรู้และสามารถเชื่อมต่อบริการที่มีอยู่กระจัดกระจายในหน่วยงานต่างๆ เนื่องจากการช่วยคลี่คลายสถานการณ์ชีวิตของผู้หญิงนั้นจำเป็นต้องได้รับบริการที่หลากหลายขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของชีวิตระบบบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ พบว่าหน่วยงานต่างๆ มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการให้บริการกับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม แต่ยังขาดรูปธรรมในระดับปฏิบัติการที่ชัดเจน หน่วยให้บริการเน้นการทำงานตามกรอบบริการของหน่วยงานของตน ขาดการบูรณการทำให้บริการไม่สามารถรองรับปัญหาของผู้หญิงที่มีความซับซ้อน ยังคงเป็นการทำงานตั้งรับในกรอบการให้บริการของหน่วยงานตนเองเป็นหลัก ดังนั้นเพื่อให้เกิดการบริการและคุ้มครองสิทธิผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมที่ตั้งครรภ์ต่อ...
Disability and healthcare

บริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาท้องไม่พร้อม

0
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด มีบริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาท้องไม่พร้อม ดังต่อไปนี้  การช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน  กลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่ประสบปัญหาเดือดร้อนที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ จะต้องได้รับการแก้ไขโดยฉับพลันทันท่วงที เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาทางสังคมด้านอื่นตามมา เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนให้การสงเคราะห์ พัฒนา และฟื้นฟูให้การช่วยเหลือตนเองได้ แนวทางการช่วยเหลือ ช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของไม่เกิน 2,000 บาท ต่อครั้งต่อครอบครัว กรณีช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ เกิน 2,000 บาท ต่อครั้งต่อครอบครัว ให้อยู่ในดุลพินิจผู้ว่าราชการจังหวัด เอกสารที่ใช้ในการขอรับบริการ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน  ...

วิธีรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีขั้นตอนอย่างไร

0
การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ดำเนินการโดยศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม สังกัด กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2520 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2520 และตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการและดูแลด้านการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม โดยปฏิบัติงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2533 และตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว...

บริการและสวัสดิการช่วยเหลือผู้หญิงท้องไม่พร้อม กรณีท้องต่อในภาครัฐ

0
“ท้องไม่พร้อม” เป็นภาวะวิกฤตในชีวิตของผู้หญิง และเมื่อต้องท้องต่อ ไม่ว่าจะด้วยเงื่อนไขใดๆ ล้วนแต่เป็นความยากลำบากที่ผู้หญิงต้องเผชิญ ทัศนคติทางสังคมที่มองว่า ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมเป็นผู้ละเมิดกรอบกติกา ค่านิยมในเรื่องเพศ ทำให้การประณาม ตัดสินลงโทษยังคงส่งผ่านสถาบันครอบครัว การศึกษา ที่ทำงาน และสถานบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โอกาสในชีวิตผู้หญิงท้องไม่พร้อมจึงหายไป เช่น ไม่สามารถอยู่ในครอบครัวได้ ขาดโอกาสทางการศึกษา ทางเลือกในการประกอบอาชีพและรายได้ เผชิญกับความรู้สึกไร้คุณค่า ตีตราตนเองและตั้งท้องซ้ำ การจัดบริการและระบบสวัสดิการ สำหรับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมกรณีท้องต่อ ควรเป็นการจัดระบบบริการ สวัสดิการแบบเสริมพลัง...

บ้านพักฉุกเฉิน ดอนเมือง กรุงเทพ สำหรับผู้หญิงท้องไม่พร้อม

4
บ้านพักรอคลอด/หลังคลอด คือ สถานที่พักพิงเพื่อรอคลอดและพักฟื้นหลังคลอด ผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ตัดสินใจท้องต่อ สามารถเข้าสู่ระบบบริการของบ้านพักรอคลอด เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะได้มีโอกาสทบทวนค้นหาสาเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตในอนาคต ได้มีโอกาสประเมินถึงปัจจัยที่จะให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ เช่น ประเมินศักยภาพของตนเองในการเลี้ยงดูลูก ประเมินความพร้อมในการทำหน้าที่แม่เลี้ยงเดี่ยว ประเมินความพร้อมและการยอมรับของครอบครัวและชุมชนที่มีต่อลูก ผ่านการให้คำปรึกษา ทั้งก่อนคลอด และหลังคลอด เพื่อให้หลุดพ้นจากภาวะสับสน และการลงโทษตนเองจากเรื่องที่เกิดขึ้น นอกจากการให้การปรึกษาแล้วกิจกรรมระหว่างที่ได้เข้าร่วมระหว่างที่พักในบ้านพักเป็นสิ่งสำคัญ เพราะกิจกรรมจะช่วยเสริมคุณค่าในตัวเอง ค้นพบศักยภาพในตนเองที่จะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตหลังออกจากบ้านพักได้ดีขึ้น บ้านพักฉุกเฉิน ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2523 เป็นที่พักพิงชั่วคราวทั้งทางกายและใจให้แก่ผู้หญิง และเด็กที่เดือดร้อนซึ่งประสบปัญหาครอบครัว...

การดูแลหญิงที่ท้องต่อในประเทศเกาหลีใต้

0
ประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้มีรูปแบบการปกครองระบบประชาธิปไตยที่เป็นแบบรัฐเดี่ยว (Unitary State) มีรัฐบาลกลางในการบริหารงานระดับประเทศ โดยมีท้องถิ่นระดับบน ดูแลเขตการปกครองต่างๆ ตามที่รัฐบาลกลางมอบหมาย สภาวะทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศเกาหลีใต้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ.2503 เป็นต้นมา แต่การกระจายผลประโยชน์ของการเติบโตก็ยังกระจายอย่างไม่เท่าเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้หญิง ผู้สูงอายุ และเยาวชน ระบบสวัสดิการที่ดำเนินอยู่ยังมีช่องว่างอยู่หลายประการ เช่น การกีดกันหรือตกหล่นในกลุ่มผู้มีความอ่อนไหวทางสังคม การเคร่งครัดในกฎเกณฑ์/ คุณสมบัติที่จะได้รับการสงเคราะห์ หลายเขตการปกครองมีการดำเนินงานเพื่อแก้ไขภาวะดังกล่าว โดยให้องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) เข้ามาดำเนินงานโดยมีภาครัฐให้การสนับสนุนทางวิชาการและงบประมาณบางส่วน...

จากจุดเริ่มต้นของความไม่พร้อม สู่เรื่องราวของน้องบอย

0
ปัญหาต่อเนื่องเป็นดั่งโซ่คล้องเกี่ยวต่อๆ กันมาจากปัญหาท้องไม่พร้อมในสังคมไทยเรา นอกจากปัญหาการทำแท้งแล้วนั้น ยังมีปัญหาการทอดทิ้งเด็กหรือเลี้ยงดูเด็กไม่เหมาะสม ไม่ได้มาตรฐาน ดังเช่น ชีวิตของบอย เด็กชายผิวเข้ม ตาโต วัย 4 ขวบ ที่เติบโตมาด้วยการเลี้ยงดูอย่างขาดๆ เกินๆ ของแม่ผู้มีปัญหาครอบครัวแตกแยก แม่ของบอย ชื่อว่า บี เธอเป็นแม่ที่มีอายุจริงสวนทางกับวุฒิภาวะ เพราะแม้ว่าเธอจะอายุล่วงเลยมาจนใกล้จะ 30 ปีแล้ว แต่เธอยังคงประพฤติตัวเช่นเดียวกับเด็กวัยรุ่นที่หลักลอยคนหนึ่ง ทั้งไม่ประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเองและลูก และก็ยังไปฝังตัวอยู่ร้านเกมส์ปล่อยทิ้งลูกชายไว้ในบ้านเพียงลำพังคนเดียว ภูมิหลังของบีนั้นเธอเติบโตมาจากครอบครัวที่แตกแยก...

การดูแลหญิงที่ท้องต่อในประเทศญี่ปุ่น

0
สวัสดิการสังคมของแม่เลี้ยงเดี่ยวในประเทศญี่ปุ่น มีความสำคัญมากขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากมีแม่เลี้ยงเดี่ยวจำนวนมากที่สามีตายจากสงคราม ประกอบกับวิถีและวัฒนธรรมของสังคมญี่ปุ่นที่ให้บทบาทหลักกับผู้หญิงในการเลี้ยงดูสมาชิกใหม่ในครอบครัว จะเห็นได้จากการที่ผู้หญิงญี่ปุ่นส่วนใหญ่หลังจากที่แต่งงานมีบุตรแล้ว มักออกจากงานประจำมาทำหน้าที่แม่บ้านเต็มเวลา ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมของประเทศ ทำให้จำนวนแม่เลี้ยงเดี่ยวในญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น แต่สิ่งที่ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงคือ การกำหนดหน้าที่การดูแลลูกยังเป็นของผู้หญิงเป็นหลัก ทั้งนี้พบว่า สัดส่วนของแม่เลี้ยงเดี่ยวในญี่ปุ่น ประมาณร้อยละ 80 มาจากการหย่าร้าง ร้อยละ 12 เป็นหม้าย และ ร้อยละ 6 มีลูกจากการตั้งครรภ์นอกสมรส นโยบายสวัสดิการสังคมสำหรับแม่เลี้ยงเดี่ยวที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นส่วนที่ปรับใหม่ในปี 2546...

โลกสองใบ เขาทิ้งหนู เขาหลอกหนู เขามีเมียอยู่แล้ว

0
ช่วงนี้มีข่าวเรื่องรักซ้อนหลายข่าว ซึ่งแต่ละข่าวก็มีเนื้อหาน่าสนใจต่างๆ กัน ทำให้แอดมินสหทัยมูลนิธิ นึกถึงความรักของเคสที่มูลนิธิดูแลอยู่ ส่วนใหญ่เคสที่มาถึงสหทัยจะไม่ค่อยสมหวังในความรัก เพราะคนที่มามักจะบอกว่า "เขาทิ้งหนู เขาหลอกหนู เขามีเมียอยู่แล้ว ฯลฯ" บางคนก็บอกว่า "ญาติพี่น้องเขาไม่ยอมรับหนู" สุดท้ายนักสังคมฯ ของมูลนิธิ ก็ทำหน้าที่ รับฟัง ให้กำลังใจ จัดบริการที่เหมาะสมให้ เช่น นมผง รับฝากเด็ก ให้ทุนการศึกษาและเสริมพลัง เพื่อให้แม่กลุ่มนี้...

การดูแลหญิงที่ท้องต่อในประเทศเวียดนาม

0
ประเทศเวียดนามมีนโยบายประชากรที่ชัดเจนในการมีบุตร 2 คน หากมีบุตรเกิน หรือ มีบุตรเมื่อยังไม่พร้อม สามารถยุติตั้งครรภ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยสามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลได้ หากเป็นข้าราชการที่ประสงค์จะยุติตั้งครรภ์ ก็มีสิทธิขอลาหยุดเพื่อไปรับบริการได้ จึงไม่พบบริการเป็นการเฉพาะของแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมและต้องเลี้ยงดูเอง    ที่มา : หนังสือเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม คู่มือคนทำงาน: ร่วมด้วยช่วยกันดูแล ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2561

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย