ดูแลตั้งครรภ์ต่อ

เตรียมตัวเตรียมใจเผชิญการตั้งครรภ์
เพราะการท้องโดยไม่มีความพร้อม แตกต่างจากการท้องทั่วไป

เมื่อตัดสินใจท้องต่อ การเรียนรู้ การเตรียมตัวเผชิญและรับมือการท้องไม่พร้อม เป็นสิ่งสำคัญ ตั้งสติ หาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือขอรับการปรึกษาจากหน่วยงานช่วยเหลือต่างๆที่จะช่วยบรรเทาและคลี่คลายทีละเรื่อง เพื่อให้เห็นทางออก
ถ้าไม่สามารถบอกใครๆได้ และไม่รู้จะจัดการชีวิตยังไง ควรหาที่ปรึกษาเพื่อเป็นตัวช่วย หรือเจ้าหน้าที่ให้บริการปรึกษาจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ศูนย์พึ่งได้ คลินิกวัยรุ่นของโรงพยาบาล หรือบ้านพักเด็กและครอบครัวในทุกจังหวัด หรือขอรับการปรึกษาจากสายด่วนต่างๆ ซึ่งหลายแห่งก็มีการส่งต่อบริการ โดยการให้บริการดูแลกรณีท้องต่อ
มี 2 ช่วง ได้แก่ การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ และการดูแลหลังคลอด

doctor and patient

บ้านพักรอคลอด/หลังคลอด ที่ดำเนินการโดยภาครัฐ

0
บ้านพักรอคลอด/หลังคลอด ที่ดำเนินการโดยภาครัฐ คลินิกดาวชมพู หน่วยฝากครรภ์ที่ตั้ง : โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ 10700 หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราชการติดต่อ : 02 419 7866 ถึง 80 ต่อ...

บริการและสวัสดิการช่วยเหลือผู้หญิงท้องไม่พร้อม กรณีท้องต่อในภาครัฐ

0
“ท้องไม่พร้อม” เป็นภาวะวิกฤตในชีวิตของผู้หญิง และเมื่อต้องท้องต่อ ไม่ว่าจะด้วยเงื่อนไขใดๆ ล้วนแต่เป็นความยากลำบากที่ผู้หญิงต้องเผชิญ ทัศนคติทางสังคมที่มองว่า ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมเป็นผู้ละเมิดกรอบกติกา ค่านิยมในเรื่องเพศ ทำให้การประณาม ตัดสินลงโทษยังคงส่งผ่านสถาบันครอบครัว การศึกษา ที่ทำงาน และสถานบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โอกาสในชีวิตผู้หญิงท้องไม่พร้อมจึงหายไป เช่น ไม่สามารถอยู่ในครอบครัวได้ ขาดโอกาสทางการศึกษา ทางเลือกในการประกอบอาชีพและรายได้ เผชิญกับความรู้สึกไร้คุณค่า ตีตราตนเองและตั้งท้องซ้ำ การจัดบริการและระบบสวัสดิการ สำหรับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมกรณีท้องต่อ ควรเป็นการจัดระบบบริการ สวัสดิการแบบเสริมพลัง...

ทำอย่างไรหากต้องการที่พักพิงระหว่างรอคลอด

0
ทำอย่างไรหากต้องการที่พักพิงระหว่างรอคลอด คำตอบ สามารถเข้าพักที่บ้านพักรอคลอด มีทั้งดำเนินการโดยภาครัฐและเอกชน ภาครัฐ คือ บ้านพักเด็กและครอบครัว ปัจจุบันมีบริการทุกจังหวัด ภาคเอกชน ได้แก่ บ้านพักฉุกเฉิน บ้านสุขฤทัย เป็นต้นข้อจำกัด  บ้านพักเด็กและครอบครัวในแต่ละจังหวัด มีความพร้อมในการดูแลผู้หญิงท้องแตกต่างกันบ้านพักของรัฐและเอกชนแต่ละแห่งมีเงื่อนไขในการรับเข้าพักและกฎเกณฑ์ในการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ควรศึกษาเงื่อนไขฯ เหล่านั้นก่อนตัดสินใจเข้าพัก

แนวคิดและแนวทางสวัสดิการแม่วัยรุ่น

0
แม่วัยรุ่นส่วนใหญ่มักปกปิดการตั้งครรภ์ เนื่องจากครอบครัวมักจะยอมรับการตั้งครรภ์ไม่ได้ ส่วนใหญ่ยังมีสถานภาพเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือมีอาชีพที่ไม่มั่นคง และมีแนวโน้มไม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้หลังคลอดแม่วัยรุ่นบางรายมีภาวะทางจิตเวช พิการ หรือ ติดสารเสพติดร่วมด้วย แนวทางสวัสดิการแม่วัยรุ่น จำเป็นต้องทำงานกับแม่วัยรุ่น และครอบครัวด้วย ดังรายละเอียดต่อไปนี้ เป้าหมายในการทำงานกับแม่วัยรุ่น ตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยมีคุณภาพ ภายใต้การยอมรับเคารพการตัดสินใจ และคำนึงถึงสิทธิของแม่วัยรุ่น คุมกำเนิดกึ่งถาวร เพื่อป้องกันการท้องซ้ำก่อนวัยอันควร ฟื้นฟู และเสริมสร้างคุณค่าตัวตนของแม่วัยรุ่น เสริมศักยภาพให้รับผิดชอบตัวเองได้ ไม่เป็นภาระของสังคม สนับสนุนให้สามารถทำหน้าที่...

การดูแลหญิงที่ท้องต่อในประเทศญี่ปุ่น

0
สวัสดิการสังคมของแม่เลี้ยงเดี่ยวในประเทศญี่ปุ่น มีความสำคัญมากขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากมีแม่เลี้ยงเดี่ยวจำนวนมากที่สามีตายจากสงคราม ประกอบกับวิถีและวัฒนธรรมของสังคมญี่ปุ่นที่ให้บทบาทหลักกับผู้หญิงในการเลี้ยงดูสมาชิกใหม่ในครอบครัว จะเห็นได้จากการที่ผู้หญิงญี่ปุ่นส่วนใหญ่หลังจากที่แต่งงานมีบุตรแล้ว มักออกจากงานประจำมาทำหน้าที่แม่บ้านเต็มเวลา ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมของประเทศ ทำให้จำนวนแม่เลี้ยงเดี่ยวในญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น แต่สิ่งที่ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงคือ การกำหนดหน้าที่การดูแลลูกยังเป็นของผู้หญิงเป็นหลัก ทั้งนี้พบว่า สัดส่วนของแม่เลี้ยงเดี่ยวในญี่ปุ่น ประมาณร้อยละ 80 มาจากการหย่าร้าง ร้อยละ 12 เป็นหม้าย และ ร้อยละ 6 มีลูกจากการตั้งครรภ์นอกสมรส นโยบายสวัสดิการสังคมสำหรับแม่เลี้ยงเดี่ยวที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นส่วนที่ปรับใหม่ในปี 2546...

การดูแลหญิงที่ท้องต่อในประเทศเกาหลีใต้

0
ประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้มีรูปแบบการปกครองระบบประชาธิปไตยที่เป็นแบบรัฐเดี่ยว (Unitary State) มีรัฐบาลกลางในการบริหารงานระดับประเทศ โดยมีท้องถิ่นระดับบน ดูแลเขตการปกครองต่างๆ ตามที่รัฐบาลกลางมอบหมาย สภาวะทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศเกาหลีใต้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ.2503 เป็นต้นมา แต่การกระจายผลประโยชน์ของการเติบโตก็ยังกระจายอย่างไม่เท่าเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้หญิง ผู้สูงอายุ และเยาวชน ระบบสวัสดิการที่ดำเนินอยู่ยังมีช่องว่างอยู่หลายประการ เช่น การกีดกันหรือตกหล่นในกลุ่มผู้มีความอ่อนไหวทางสังคม การเคร่งครัดในกฎเกณฑ์/ คุณสมบัติที่จะได้รับการสงเคราะห์ หลายเขตการปกครองมีการดำเนินงานเพื่อแก้ไขภาวะดังกล่าว โดยให้องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) เข้ามาดำเนินงานโดยมีภาครัฐให้การสนับสนุนทางวิชาการและงบประมาณบางส่วน...

4 ข้อเสนอเชิงนโยบายฉบับที่ 2 เพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนา “แนวทางการบริการและคุ้มครองสิทธิ์ของวัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ตั้งครรภ์ต่อ”

0
ผู้หญิงท้องไม่พร้อมและต้องท้องต่อนั้นส่วนมากต้องเผชิญปัญหาที่ซับซ้อนและยากลำบากตามบริบทชีวิตของผู้หญิง ว่าเป็น “ท้องต่อในโรงเรียน” “ท้องต่อในชุมชน” และ “ท้องระหว่างอยู่ในเรือนจำ/สถานพินิจ”อย่างไรก็ตาม ทุกคนต้องเผชิญต่อแรงกดดันและแรงเสียดทานที่ถาโถมเข้ามาหา ดังนั้นเมื่อผู้หญิงตัดสินใจท้องต่อไม่ว่าจะอยู่ในบริบทชีวิตแบบไหนช่วงเวลาตั้งครรภ์ต่อจนถึงคลอดจึงเป็นช่วงวิกฤตของชีวิตที่สังคมละเลยและมองไม่เห็น จากประสบการณ์ในการทำงานให้ความช่วยเหลือและจัดบริการสำหรับผู้หญิงท้องไม่พร้อมและท้องต่อ สรุปได้ว่า (1) ผู้ให้บริการจะต้องรับมือกับภาวะอารมณ์ที่ไม่นิ่งของผู้ประสบปัญหาในตลอดช่วงของการทำงานให้ความช่วยเหลือ ดังนั้นผู้ให้บริการจะต้องเข้าใจเงื่อนไขและสถานการณ์เช่นนี้(2) ทักษะสำคัญของผู้ให้บริการคือ ความรอบรู้และสามารถเชื่อมต่อบริการที่มีอยู่กระจัดกระจายในหน่วยงานต่างๆ เนื่องจากการช่วยคลี่คลายสถานการณ์ชีวิตของผู้หญิงนั้นจำเป็นต้องได้รับบริการที่หลากหลายขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของชีวิตระบบบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ พบว่าหน่วยงานต่างๆ มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการให้บริการกับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม แต่ยังขาดรูปธรรมในระดับปฏิบัติการที่ชัดเจน หน่วยให้บริการเน้นการทำงานตามกรอบบริการของหน่วยงานของตน ขาดการบูรณการทำให้บริการไม่สามารถรองรับปัญหาของผู้หญิงที่มีความซับซ้อน ยังคงเป็นการทำงานตั้งรับในกรอบการให้บริการของหน่วยงานตนเองเป็นหลัก ดังนั้นเพื่อให้เกิดการบริการและคุ้มครองสิทธิผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมที่ตั้งครรภ์ต่อ...

สงเคราะห์เด็กอ่อน และอุปการะเด็กโดยภาคเอกชน

0
สงเคราะห์เด็กอ่อน และอุปการะเด็ก ที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน มูลนิธิสงเคราะห์เด็กพัทยา ที่ตั้ง : 384 หมู่6 ถนนสุขุมวิท กม.144 ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี การติดต่อ : 038 423 468 , 038 416 426 เว็บไซต์ : www.thepattayaorphanage.org อีเมล์ : info@thepattayaorphanage.org บริการที่ให้และเงื่อนไขการรับบริการ...

ปรึกษาสุขภาพจิต

0
สถานบริการด้านสุขภาพจิต ในสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(Department of Mental Health Ministry of Public Health.) เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรง ในการพัฒนางานสุขภาพจิตของประเทศ โดยมีภารกิจหลักเกี่ยวกับ การพัฒนาวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีการส่งเสริม ป้องกันปัญหายาเสพติด บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งจัดให้มีบริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วย ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและประชาชน โดยมีสถานบริการทั่วประเทศทั้งสิ้น 19 แห่ง...

ทำอย่างไร เมื่อไม่พร้อมที่จะเลี้ยงดูเด็กหลังคลอด

4
สามารถขอคำปรึกษาหรือติดต่อหน่วยงานรองรับ โดยขอปรึกษาศูนย์พึ่งได้ หรือฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ของโรงพยาบาลที่เราฝากท้องคลอด บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ ปรึกษาหน่วยงานเอกชนที่ทำงานในด้านนี้ ส่งเด็กเข้าสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน ด้วยการฝากเลี้ยงชั่วคราวในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยในระหว่างนี้ สามารถไปเยี่ยมเด็กได้จนกระทั่งมีความพร้อมแล้วจึงรับเด็กมาเลี้ยงดูเองข้อจำกัด สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนมีบริการในบางจังหวัด มีสัดส่วนพี่เลี้ยงต่อจำนวนเด็กมาก การดูแลไม่ทั่วถึงการส่งเด็กไปอยู่ในครอบครัวอุปถัมภ์ชั่วคราว ด้วยการฝากเลี้ยงในวันธรรมดา เพื่อให้มารดาได้ทำงานหรือเรียนหนังสือ และรับเด็กมาเลี้ยงเองในวันหยุด โดยสามารถรับเด็กมาเลี้ยงดูเองได้เมื่อมีความพร้อมข้อจำกัด มีบริการที่หน่วยบริการของเอกชน เช่น สหทัยมูลนิธิ ครอบครัวอุปถัมภ์มีจำกัดอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย