กฎหมายทำแท้งใหม่ควรเอื้อให้แพทย์ช่วยเหลือหญิงที่ถูกข่มขืนได้ แต่ความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น

0
“มีเรื่องอยากเล่าค่ะ..”“มีเคสโดนข่มขืน เป็นผู้พิการเดินไม่ได้ไปที่โรงพยาบาล….. แต่แพทย์ส่งต่อให้ไปที่คลินิก….”“เศร้าจัง….”ในวันที่กฎหมายทำแท้งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เราได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดภาคเหนือ ว่ามีหญิงอายุ 35 ปี ถูกข่มขืนและตั้งครรภ์ได้ 7 สัปดาห์โดยผู้เป็นแม่ได้อุ้มพามา ที่น่าเห็นใจคือ หญิงนั้นมีความพิการด้านสติปัญญาและกาย เดินไม่ได้ต้องใช้วีลแชร์ ซึ่งกรณีนี้เข้าข่ายกฎหมายทำแท้งมาตรา 305 (3) อย่างชัดเจน คือตั้งครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ ซึ่งภายใต้กฎหมายใหม่นี้ ไม่ต้องมีการแจ้งความ และแม่ผู้พามารับการรักษาที่โรงพยาบาลยืนยันเหตุแห่งการตั้งครรภ์ปัจจุบันการยุติการตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลรัฐ สามารถเบิกจาก สปสช. หรือ...

จริยธรรมวิชาชีพกับการแท้งที่ปลอดภัย

0
๒๐ ม.ค. ๖๔ เนื่องจากขณะนี้กำลังมีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อหญิงที่ท้องไม่พร้อม ผมขอเผยแพร่บทความที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์ในการเป็นสูติแพทย์เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจและเห็นใจหญิงที่มีความทุกข์จากการตั้งครรภ์ไม่พร้อมทุกคน 60. Humanized health care (การดูแลคนไข้ด้วยหัวใจบนพื้นฐานความรู้)โดย นพ.พิษณุ ขันติพงษ์วันก่อนผมมีโอกาสเป็นวิทยากรในการอบรมปฏิบัติการ แพทย์และพยาบาลเรื่อง "การดูแลวัยรุ่นและสตรีท้องไม่พร้อมเพื่อป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัย" จัดโดย มูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของสตรี(แห่งประเทศไทย)ร่วมกับ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ในหัวข้อ"จริยธรรมวิชาชีพ กับการแท้งที่ปลอดภัย"ผมต้องขอชื่นชม ศ.เกียรติคุณ นพ.กำแหง จาตุรจินดา ผู้ก่อตั้งและประธานมูลนิธิฯ ที่พยายามสร้างความเข้าใจให้คนในสังคมไทยทราบข้อเท็จจริง และยอมรับความเป็นจริงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในบ้านเราเป็นเวลานานกว่าสิบปีแล้ว...

เรื่องเล่าจากหมอให้บริการยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ตอน เสียจิ้นทั้งที ต้องมีความสุข

0
เนื่องจากหมอเป็นสูตินรีแพทย์ คือ หมอที่ดูแลสุขภาพผู้หญิงและคนท้อง ก็จะมีคนมาปรึกษาเกี่ยวกับประจำเดือนขาด กังวลว่าจะตั้งครรภ์เป็นประจำ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีวัยรุ่นมาปรึกษาประเด็นที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ คนไข้ผู้หญิง อายุ 17 ปี : "หมอคะ นู๋เพิ่งมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกใช้ถุงยางถูกวิธี คือ สอดไปได้แค่ตรงหัวของอวัยวะเพศชายของแฟน นู๋มีเลือดออกแค่นิดเดียว ประมาณหยดเดียวได้ คือ สอดได้ไม่หมด แล้วแฟนออกมาหลั่งนอก มันจะมีโอกาสท้องมากน้อยแค่ไหน ควรกินยาคุมฉุกเฉินมั้ย มีตกขาวหลังเสร็จ" ถ้ามองในฐานะหมอ มองด้านวิชาการ มองด้านสุขภาพ...

RSA เล่าความจริงเรื่องทำแท้ง

0
RSA เราคือแพทย์ 157 คนและสหวิชาชีพ 614 คน จาก 70 จังหวัดที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ตามหลักวิชาการ ได้รับการแต่งตั้งและสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข เรามีองค์ความรู้และมีประสบการณ์ให้บริการยุติการตั้งครรภ์มากที่สุดในประเทศไทย เราไม่ได้อยู่บนหอคอยงาช้างแต่ได้สัมผัสชีวิตผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม เราจึงอยากเห็นประเทศไทยพัฒนากฎหมายที่สอดคล้องกับวิชาการและความเป็นจริงที่ไม่ใช่จากความเชื่อส่วนบุคคล ความจริงเรื่องแท้ง#1ผู้หญิงบาดเจ็บและตายจากทำแท้งไม่ปลอดภัยในแต่ละปีสูงกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด 3 เท่า ประเทศไทยมีปัญหาการบาดเจ็บและตายของผู้หญิงไทยที่มีถึงปีละกว่า 3 หมื่นราย ค่อยๆ ลดลงเหลือ 20,000 หมื่นรายในปี 2562 จากความร่วมมือของเครือข่ายการส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย แม้จำนวนผู้หญิงที่บาดเจ็บและตายจะลดลงไป...

การยุติการตั้งครรภ์ที่มากกว่า 12 สัปดาห์ ทำได้อย่างปลอดภัย

2
ไก่ (นามสมมุติ) แม่เลี้ยงเดี่ยวอายุ 38 ปี เธอมีลูกสามคน อายุ 6 12 และ 14 ปี อยู่ที่อีสาน ไก่มาทำงานที่กรุงเทพฯ เพื่อส่งเงินให้ลูกโดยฝากลูกไว้ที่ยาย เกิดโควิด19 ระบาดเมื่อต้นปี 2563 จึงต้องกลับบ้านเกิด ทำอาชีพรับจ้างทำไร่รายวันเพื่อหาเงินเลี้ยงลูก  ไก่ได้คบหากับคนที่รับจ้างทำไร่ด้วยกันเป็นแฟน  คิดหวังจะพึ่งพาช่วยค่าใช้จ่ายครอบครัวเธอได้บ้าง ไก่ท้องกับแฟนคนนี้ทั้งๆ ที่กินยาคุมกำเนิดจึงได้บอกแฟนไป แต่พูดคุยกันหลายครั้งผู้ชายก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบใดๆ...

“น้ำตาแม่” เรื่องเล่าจากชีวิตจริง

0
หญิงตั้งครรภ์อายุ 38 ปี เธอทำงานเป็นผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งหนึ่งในอำเภอของผมเอง เธอตั้งครรภ์พร้อมด้วยภาวะเบาหวาน จึงใส่ใจในการฝากครรภ์เป็นอย่างดี ฝากท้องในโรงพยาบาลและฝากพิเศษในคลินิกเอกชน เมื่อตั้งครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ แพทย์ในโรงพยาบาลอัลตร้าซาวด์และพบว่าลูกน้ำหนักน้อย จึงให้ยาบำรุง และนัดครั้งต่อไปให้เธอไปพบแพทย์ที่คลินิกเลย เพื่อการดูแลรักษาต่อเนื่องที่ดี  จนกระทั่งในวันที่ 3 ธันวาคม 63 แพทย์ได้อัลตร้าซาวด์ พบว่า ลูกของเธอพิการ มือไม่ครบนิ้ว ไม่พบขา ไม่มีก้น จึงแนะนำให้รีบไปโรงพยาบาลศูนย์ฯ...

การยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม ดีกว่า ปลอดภัยกว่า

0
กระบวนการดูแลการยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม Comprehensive Safe Abortion Care: CACประกอบด้วย 9 ขั้นตอนตามลำดับ คือ ช่วงก่อนการยุติการตั้งครรภ์: ประเมินและการปรึกษาให้ข้อมูล1. ให้การปรึกษาทางเลือก ผู้หญิงมีอิสระที่จะตัดสินใจเลือกตั้งครรภ์ต่อหรือไม่ ได้ด้วยตนเอง2. การประเมินข้อบ่งชี้ การยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย3. การปรึกษาก่อนการยุติการตั้งครรภ์4. การซักประวัติและตรวจร่างกาย  ช่วงรักษาหรือยุติการตั้งครรภ์5. การยุติการตั้งครรภ์ด้วยวิธีหัตถการกระบอกดูดสุญญากาศ (MVA) หรือด้วยยายุติการตั้งครรภ์ ช่วงหลังยุติการตั้งครรภ์6. การปรึกษาหลังการยุติการตั้งครรภ์7. การติดตามหลังให้บริการ8. การดูแลภาวะแทรกซ้อน9....

การยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม ดีกว่า ปลอดภัยกว่า (ต่อ)

0
ตอนที่ 3 แด่ RSA: ขอบคุณที่ช่วยครอบครัวผม..เพราะลูกเป็นดวงใจของผม, ขอบคุณที่ทำให้หนูมีที่ยืนค่ะ หนูรู้สึกว่าโตขึ้นมาก..ชีวิตหนูเปลี่ยนไป, หนูจะตั้งใจเรียนและหางาน..ทำงานหาเงินเลี้ยงครอบครัว หนูจะเลี้ยงแม่เอง, หนูขอบคุณที่ช่วยให้หนูไม่ต้องไปทำแท้งเถื่อน, ขอบคุณ คุณหมอหลายๆ จ้าว..ที่ช่วยหนู, ขอบคุณที่ให้ทางเลือกและโอกาสสำหรับพวกเรา ช่องว่างในการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ยังมีอีกมาก หน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์ยังน้อย ในจังหวัดต่างๆ เพียง 33 จังหวัด ผู้หญิงท้องไม่พร้อมต้องเดินทางไกลหลายร้อยกิโลเมตร จึงเข้าถึงหน่วยบริการเหล่านี้ เป็นอุปสรรคสำหรับคนที่มีปัญหาเศรษฐกิจ ยากจนอยู่แล้ว ยิ่งทำให้มาปรึกษาล่าช้า...

การยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม ดีกว่า ปลอดภัยกว่า (ต่อ)

0
ตอนที่ 2 ในประเทศไทย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย ได้จัดอบรมแพทย์ พยาบาล เรื่องการใช้ยายุติการตั้งครรภ์ทั่วประเทศ ขณะเดียวกันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ได้จัดตั้งเครือข่ายอาสา RSA ที่ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และสหวิชาชีพ เพื่อจัดระบบการส่งต่อและรับส่งต่อเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่เป็นมิตรและปลอดภัย และสนับสนุนยายุติการตั้งครรภ์ (ยาชื่อ Medabon) ให้โรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนกับกรมอนามัย เพื่อใช้ยุติการตั้งครรภ์ มีผู้หญิงที่ได้รับการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา...

การยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม ดีกว่า ปลอดภัยกว่า

0
ตอนที่ 1 สถานการณ์ปัจจุบันคาดคะเนว่าประเทศไทยน่าจะมีอัตราการทำแท้งระหว่าง 14.2 - 440 ต่อพันการเกิดมีชีพ หรือประมาณ 9,000 - 270,000 ครั้งต่อปี แต่เพราะประเทศไทยแม้จะมีกฎหมายมาตรา 305 และข้อบังคับแพทยสภาที่อนุญาตให้ผู้หญิงท้องไม่พร้อมทำแท้งได้เฉพาะที่มีเงื่อนไขกำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยต่างๆ ทำให้ผู้หญิงเหล่านี้ยากที่จะได้รับการทำแท้งจากแพทย์ได้โดยยังไม่มีช่องทางการให้บริการยุติการตั้งครรภ์อย่างเป็นระบบในโรงพยาบาลต่างๆ แพทย์ พยาบาล ไม่ยอมรับ ไม่ให้เกิดบริการนี้ บังคับไม่ได้ จุดยืนทัศนคติต่อต้าน...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
ฉันต้องการทำแท้ง
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย